กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
ในช่วงเวลา 15-20 ปี ที่ผ่านมา วิศวกรรมยนต์พยายามพัฒนา เทคโนโลยีเครื่องยนต์ของรถยนต์ ให้มีสมรรถนะสูง เผาไหม้หมดจด และประหยัดน้ำมัน ภายใต้แนวความคิดดังกล่าวเครื่องยนต์ส่วนใหญ่ ที่ถูกพัฒนาในช่วงเวลานั้น คือ การเพิ่มจำนวนวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย ดังที่เราได้เคยทราบกัน เครื่องยนต์พวกนี้คือ เครื่องยนต์ที่เราเรียนกันว่า เครื่องยนต์มัลติวาล์ว นอกจากนี้ยังมีการ พัฒนากันในหลายๆ จุด อาทิ การออกแบบท่อร่วมไอดี-ไอเสีย เพื่อทำให้การไหลเข้าของไอดี และการไหลออกของไอเสียมีประสิทธิภาพสูง หรือการวางรูปสูบของเครื่องยนต์เป็นรูปตัว "วี" เพื่อทำให้ขนาดของเครื่องยนต์ ที่มีปริมาตรกระบอกสูบมาก (ซี.ซี. สูงๆ) มีขนาดที่เล็กลง สามารถบรรจุภายในห้องเครื่องยนต์ที่มีพื้นที่จำกัด ในขณะที่การมีปริมาตร กระบอกสูบมาก จะทำให้รถยนต์มีสมรรถนะสูงขึ้น รวมทั้งการพัฒนาวัสดุที่นำมาใช้ ทำส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องยนต์ ในช่วง 4-5 ปีมานี้ เทคโนโลยีเหล่านี้ดูจะไม่ใช่ของใหม่ หากแต่ว่ารถยนต์รุ่นใดที่เครื่องยนต์ไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้ ถือว่าเป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์โลว์เทค ในเวลานี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องยนต์ได้พัฒนาไปอีกขั้น คือ เครื่องยนต์ที่มีเครื่องต์ระบบวาล์วอัจฉริยะ หรือชื่อที่เราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง เรียกว่า VVT-i (Variabie Valve Timing - intelligent)เครื่องยนต์ระบบวาล์วอัจฉริยะนี้ โดยพื้นฐานแล้ว เครื่องยนต์ได้พัฒนาให้มีจำนวนวาล์วเพิ่มขึ้นเช่นกัน หรือเป็นเครื่องยนต์ระบบมัลติวาล์วอยู่แล้วหากแต่ว่า เครื่องยนต์ระบบวาล์วอัจฉริยะ หรือ VVT-i จะมีกลไกควบคุมเพลาลูกเบี้ยว เพื่อให้วาล์วไอดีเปิดและปิด แปรผันไปตามความเร็วรอบเครื่องยนต์โดยมี ECU เป็นตัวสั่งการ ซึงขณะนี้ โตโยต้าได้พัฒนาเครื่องยนต์ระบบวาล์วอัจฉริยะ ก้าวหน้าไปอีกขั้น เรียกว่า เครื่องยนต์ระบบ
VVTL-i (Variable Valve Timing and Lift - intelligent) เครื่องยนต์ระบบ VVTL-i มีโครงสร้างพื้นฐานการทำงานของการควบคุมจังหวะเปิด-ปิดวาล์วเช่นเดียวกันกับระบบ VVT-i แต่ได้ติดตั้ง กลไกเปลี่ยนแปลงมุมเปิดของเพลาลูกเบี้ยวไอดีและไอเสีย โดยมีกลไกยกวาล์ว ขณะเครื่องยนต์ ทำงานที่ความเร็วสูง ซึ่งเป็นการเพิ่ม ความเร็วรอบเครื่องยนต์และกำลังของเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น ระบบนี้สามารถ ทำให้จังหวะการทำงานของวาล์วดีที่สุด
ระบบ VVTL-i จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ช่วง เมื่อขับเคลื่อนด้วยความเร็วรอบปกติถึงปานกลาง (ต่ำกว่า 6,000 รอบ ต่อนาที) ระบบ VVTL-i จะควบคุมจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วไอดีแบบอัตโนมัติ ตามความต้องการของเครื่องยนต์ ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์อย่างแม่นยำ สามารถถทำให้ดูดอากาศเข้ามาได้ในปริมาณที่เหมาะสม การเผาไหม้จึงสมบูรณ์แบบ มีผลให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และการตอบสนองที่ดีเยี่ยม
เมื่อถึงช่วงความเร็วรอบที่สูงมากกว่า 6,000 รอบต่อนาที (โดยที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงกว่า 60 องศาเซียลเซียส) ระบบ VVTL-i จะเริ่มทำงานด้วยการควบคุมของกลไกชุดยกวาล์วกลไกนี้จะใช้เซ็นเซอร์ส่งสัญญาณไปยัง ECU ของเครื่องยนต์เพื่อไป ควบคุมวาล์ว ควบคุมน้ำมัน (Oil Control Valve) สำหรับเปลี่ยแปลงจังหวะ และการยกวาล์ว โดยการเปลี่ยนแปลงช่องทางของแรงดันไฮดรอลิค ด้วยเหตุนี้กลไกจะเปลี่ยนการทำงานของลูกเบี้ยวความเร็วสูง โดยการยกวาล์วไอดี และไอเสียเพิ่มขึ้น ดังนี้ จำนวนของส่วนผสมอากาศ น้ำมันเชื้อเพลิงและการคายไอเสียจะเพิ่มขึ้น ทำให้การเผาไหม้ยิงสมบูรณ์แบบที่สุด ประหัยดน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์มีแรงบิดสูงขึ้น ตอบสนองความแรงได้ทุกอัตราเร่ง ทำงานราบเรียบ เงียบ ทนทาน และที่สำคัญ ช่วยลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
โตโยต้าได้นำเครื่องยนต์เทคโนโลยีสูงนี้มาใช้ในโตโยต้า เซลิก้า รุ่นใหม่ โดยใช้กหัสเครื่องยนต์ 2ZZ-GE ขนาด 1800 ซี.ซี. ซึ่งขณะนี้โตโยต้า เซลิก้ารุ่นนี้ได้มีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว หากท่านมีความสนใจก็สามารถแวะไปสัมผัสกันได้ ที่โชว์รูมของตัวแทนจำหน่ายโตโยต้าทุกแห่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมสังคม สำนักงานใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดโทร. 386-1000, โทรสาร 386-1891, 386-1893--จบ--
-สส-