กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
SPU : ม.ศรีปทุม เปิดประสบการณ์จริง น้องๆ ม.6 หลากหลายสถาบัน เข้าร่วมกิจกรรม "MINI OPEN HOUSE วิทยาลัยการบินและคมนาคม" สถานที่จริง ท่าอากาศยานดอนเมือง และ รร.การบินและคมนาคม
SPU เปิดประสบการณ์ เด็ก ม.6 "MINI OPEN HOUSE วิทยาลัยการบินและคมนาคม" เข้าเรียนรู้สถานที่จริง
ท่าอากาศยานดอนเมือง และโรงเรียนการบินกรุงเทพ คลอง 15
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง จัดกิจกรรม MINI OPEN HOUSE เปิดประสบการณ์เส้นทางการเป็นนักบินมืออาชีพ เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่6 กว่า 15 โรงเรียน โดยเริ่มตั้งแต่การดูงานและเยี่ยมชมสถานที่ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม พบปะคณาจารย์ของวิทยาลัยการบินและคมนาคม ต่อด้วยการเข้าศึกษาและเยี่ยมชมท่าอากาศยานดอนเมือง และโรงเรียนการบินกรุงเทพ คลอง 15 ได้สัมผัสความรู้สึกของการขับเครื่องบินจำลอง การเข้าชมเครื่องบินขนาดเล็ก และความรู้ด้านการบินอีกมากมาย พบประสบการณ์ดีๆอีกมากมายที่ SPU
นอกจากนี้ พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสาขาวิชาใหม่ที่แรกในประเทศ ที่ทำการเปิดสอน ให้น้องๆได้รับฟัง
โดยสาขาใหม่ที่แรกในประเทศ สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน
มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดสาขา วิชาใหม่ด้านการบินและคมนาคม เพื่อผลิตบุคลากรที่กำลังขาดแคลนให้เพียงพอต่อความต้องการ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านการบิน พร้อมปูทางสู่อาชีพนักบินโดยจัดตั้งวิทยาลัยการบินและคมนาคม (College of Aviation & Transportation) ขึ้น ภายใต้ผู้นำทัพที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้อย่างสูง อดีตนักบินเอฟ 5 สู่นักวิชาการระดับมือโปร "พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง" คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน มีเป้าหมายหลักในการผลิตบุคลากรด้าน Aviation Safety Management ซึ่งเป็นสาขาที่มีความต้องการในตลาดสูงมาก และในอนาคตจะขยายไปสู่ด้านอื่นๆ เช่น การขนส่งทางรางด้วย ไม่เพียงเฉพาะการบินเท่านั้น เพราะปัจจุบันการขนส่งทางราง เช่น รถไฟฟ้า หรือรถไฟความเร็วสูง ได้ขยายตัวมากขึ้น เช่นกัน
การเรียนในสาขานี้น่าสนใจอย่างไร
สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน เรียนรู้เรื่องการจัดการความปลอดภัยการบิน การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แผนงานความปลอดภัยการบินกฏระเบียบและข้อบังคับด้านการบิน มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ อุตุนิยมวิทยาการบิน ระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศ หลักการบินเบื้องต้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการทางการบิน
เมื่อจบชั้นปี 3 สามารถที่จะเลือกเรียนต่อด้านการจัดการความปลอดภัยการบิน การจัดการสนามบิน การขนส่งสินค้าทางอากาศและเลือกเรียนเป็นนักบินทั้งนักบินส่วนบุคคล (Private Pilot Licence : PPL) หรือ นักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Licence : CPL) ได้ โดยมีข้อกำหนดต้องผ่านการตรวจสุขภาพร่างกายและจิตวิทยาการบิน ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเกี่ยวกับการบิน และเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนเป็นนักบินเพิ่ม
โอกาสทางอาชีพสูงไม่มีตกงาน
โอกาสทางอาชีพในสาขาวิชานี้มีสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นงานด้านนิรภัยการบินของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบินและบริษัทวิทยุการบิน งานด้านความปลอดภัยในอาคารหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวแทนรับ-ส่งสินค้าทางอากาศ งานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ งานด้านการบริหารระดับต้นของสายการบิน งานด้านการบริหารระดับต้นของท่าอากาศยาน งานด้านการบิน (นักบินพาณิชย์) ฯลฯ