กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ธัญบุรี กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ มทร.ธัญบุรี คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมงาน The 65th World Exhibition on Inventions, Research and new Technologies, Brussels (BRUSSLES INNOVA2016) ณ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการ พร้อมด้วยการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมโลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี และถือเป็นงานแสดงนวัตกรรมที่เก่าแก่ของโลก โดยนอกจากการเข้าร่วมประชมวิชาการแล้ว คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยยังได้ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย โดยมีนักวิจัย 4,000 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมต่าง ๆ เข้าประกวดกว่า 300 ผลงาน สำหรับผลการประกวดเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถคว้ารางวัลมาได้มากมาย ประกอบด้วย
ผศ.ดร.จักรี ศรีนนท์ฉัตร จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเหรียญเงินและ Special Prize for The Invention จาก Romanian Association for Nonconventional Technologies, Bucharest, ROMANIA ผลงานสวิทช์อัจฉริยะ "Smart Switch (Touch Switch)"ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเหรียญทองเกียรติยศ ผลงานหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับตรวจวัดและปรับสภาพดินอัตโนมัติผศ.ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเหรียญทอง และ Special Prize for Scientific Community of ROMANIA จาก Ministry of National Education and Scientific Research, National Authority for Scientific Research and Innovation ผลงานการพัฒนาเครื่องฉีดพ่นสารเคมีแบบแปรผันอัตราได้พร้อมระบบมองเห็นระยะไกลสำหรับแปลงปลูกมะพร้าวที่เกิดโรคนายณัฐชรัฐ แพกุล จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รับเหรียญทอง ผลงานผลของการใช้ต้นอ่อนข้าวหอมมะลิและสารทดแทนความหวานต่อคุณภาพของไอศกรีมนมผศ.ดร.ประทุมทอง ไตรรัตน์ จากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้รับเหรียญทอง ผลงานการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ลดการเกิดเชื้อราและยืดอายุของมะม่วงและมะละกอจากวัสดุเหลือทิ้งในภาคการเกษตรดร.ไฉน น้อยแสง จากวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ได้รับเหรียญเงิน ผลงานแผ่นฟิล์มมาส์กหน้าบัวหลวงละลายเร็วกับนาโนสเปรย์เพื่อชะลอวัยรศ.ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเหรียญทองเกียรติยศ ผลงานเครื่องเรียนรู้อักษรเบลล์หลายภาษาและบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบเป็นสากลในการเข้าถึงสูงสุดสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า คณะกรรมการที่มอบรางวัลได้ชื่นชมผลงานของมทร.ธัญบุรี เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นงานที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์และใช้ได้จริงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการจัดระดับสุดยอดผลงานนวัตกรรม โดยคัดเลือกจากผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทองทั้งหมดมาหาอันดับหนึ่งอีกครั้ง แต่ผลงานของมทร.ธัญบุรีไม่ได้รับรางวัลนี้ เพราะงานวิจัยของต่างประเทศจะมีการดำเนินการและลงทะเบียนเข้าสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยนำข้อมูลที่มีทั้งหมดไปเผยแพร่เพื่อให้นักวิจัยทั่วโลกมาแสดงความคิดเห็น ซึ่งในประเทศไทยก็มีการทำวิจัยเพื่อจดสิทธิ์บัตร แต่ไม่ได้เข้าไปในเวทีระดับโลก หรือสถาบันระดับโลก ทำให้ข้อมูลที่ไปอ้างอิงว่าจดทะเบียน หรือประกวดในอาเซียนมีน้ำหนักน้อย จึงเป็นประสบการณ์ว่างานวิจัยของมทร.ธัญบุรีจะต่อยอดจะต้องก้าวเข้าสู่เวทีสากล จะต้องมีสิทธิ์บัตรและเผยแพร่ในสมาคมที่เป็นสิทธิบัตรในแต่ละเรื่อง ไม่ใช่แค่หยุดในประเทศ หรือหยุดเมื่อได้รางวัล และเรื่องนี้ไม่ใช่มทร.ธัญบุรีเท่านั้น แต่ทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา หน่วยงานราชการ หรือองค์กรเอกชน เมื่อทำงานวิจัย ก็ควรดำเนินงานในเรื่องนี้เช่นกัน เพื่อเป็นการขยายผล หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ 4.0 เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับเวทีโลก จะต้องมีความตระหนักในมาตรฐานของการประกวด งานวิจัย การเผยแพร่ข้อมูลในระดับเวทีโลกเช่นกัน
ในส่วนของตนได้มีการส่งผลงานวิจัยในช่วงที่ขอรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เข้าประกวดในระดับผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยเกณฑ์การตัดสินจะต้องเป็นงานวิจัยที่คนในโลกจะต้องได้รับประโยชน์ รวมถึงจะต้องเป็นผู้สนับสนุนงานวิจัยขององค์กร ทำให้ได้รับรางวัลประเภทเหรียญอิสริยาภรณ์ (Order of Merit) ชั้นอัศวิน อีกหนึ่งรางวัล