กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--
"ตลอดระยะเวลาที่ ในหลวง ร.๙ ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ดังพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" นับเป็นมหาสัจจะแห่งราชาที่ทรงธรรม เพื่อความผาสุกของประชาชนคนไทย ทรงปกครองเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฏร เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตาเพื่อปวงประชาของพระองค์ ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี" พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานครฯ ได้บรรยายพระราชจริยวัตรที่งดงาม ของในหลวง ร.๙ ในเวทีเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ ที่อาคารซีพี ทาวเวอร์ หัวข้อ "ธรรมของพระราชา" ตามทิศพิธราชธรรม หรือ ธรรมะ 10 ประการ ที่ทรงทุ่มเทพระวรกาย ปกครองแผ่นดินโดยธรรม
"ทศบารมี" ของ ในหลวงร.๙ ก่อเกิดประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ในการบรรยายพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ตามพระราชจริยวัตรอันเป็นมิ่งมหามงคล ดังนี้
1. ทานัง หรือ ทาน คือ การให้ พระองค์ทรงเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงงานเพื่อประชาชน ทรงมีโครงการพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ และพระองค์ไม่ใช่แค่ให้ แต่ยังเสียสละ ช่วยเหลือ เกื้อกูล บำรุงเลี้ยง และทรงไม่ได้ให้เพียงอามิสทาน หรือแค่ให้สิ่งของ แต่สิ่งที่พระองค์ให้มากกว่าคือ ธรรมทาน อาทิ ตำราเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ได้ทุกชนชั้น ทุกกลุ่มวัย เช่นเดียวกับการให้ปลา จะมีปลากินได้ 2 วัน ถ้าให้อุปกรณ์ก็จะหาปลากินได้ตลอดชีวิต แต่ทานที่มนุษย์ควรให้บ่อยสุดคือ อภัยทาน และเพื่อเป็นการตอบแทนพระองค์ท่านที่ดีที่สุด คือ การที่คนไทยให้อภัยซึ่งกันและกัน
2. ศีล ความประฟฤติที่ดีงาม ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม ทรงพระวินัย ประพฤติสมบูรณ์ครบตามกิจวัตรอันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาถาใดๆ ก็ไม่มี แต่ทำไมประชาชนคนไทยจึงศรัทธา เพราะพระองค์ไม่มีเวทย์มนต์แต่อย่างใด มีก็แต่จริยวัตรที่งดงามเพียงเท่านั้น
3. ปริจจาคะ หรือ บริจาค การเสียสละความสุขเพื่อทวยราช อุปถัมภ์ดูแลเสียสละเพื่อความสุขของส่วนรวม ทำไมมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของโลกทำสงครามถึงได้รับการยกย่อง? นั้นเพราะพระองค์ไม่เคยทำสงครามแม้แต่ครั้งเดียว แต่เพราะว่าพระองค์เสียสละ คนไทยจึงรักในหลวงไม่ใช่เพราะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่คนไทยเห็นพระองค์ทรงงานทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งประเทศ
4. อาชชวะ หรือ ความซื่อสัตย์สุจริต พระหัตของพระองค์ ถือพระแสงดาบ ตั้งแต่พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์และทรงกล่าวว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม" คอยควบคุมบริหารความสุขโดยพระองค์ท่านไม่ใช้พระเดช แต่ใช้พระธรรม และพระราชศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ เงินพันล้านซื้อไม่ได้กับความจงรักภัคดี พระองค์
5. มัททวะ หรือ ความสุภาพ อ่อนโยน จากภาพที่ในหลวงรับมาลัยดอกไม้จากคุณยายแม่เฒ่าตุ้ม จันนิท หญิงชราวัย 102 ปี จังหวัดมุกดาหาร ถวายดอกบัวสามดอกที่เหี่ยวโรย แต่กลับเป็นภาพที่คนไทยคุ้นตา และประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะยายตุ้มมีศรัทธา พระองค์ก็มีศรัทธาต่อพสกนิกร ความสุขของยายตุ้ม ทำทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เดือดร้อน เพราะคนโบราณสอนว่าการอ่อนน้อมถ่อมกาย จิตใจสุภาพ ซึมซาบใจชน ผู้คนสรรเสริญ กระด้างถือดี มิมีจำเริญ น่ารักเหลือเกิน อ่อนน้อมถ่อมตน.
6. ตบะ หรือ ความเพียร ความอุตสาหะ ภาพที่คนไทยเห็นมาตั้งแต่เกิดคือพระเสโทที่พระพักต์ของพระองค์ การที่พระองค์ทรงงานหนักด้วยความอุตสาหะวิริยะ ปฎิบัติต่อพระราชกรณียกิจด้วยความอดทน ทรงพระราชทานพระมหาชนกเหมือน ความโกรธเป็นอารมณ์
7. อักโกธะ หรือ ความไม่โกรธ ทรงมีพระกริยาที่ไม่โกรธโดยวิสัย ด้วยทรงมีพระเมตตาอยู่เสมอ
8. อวิหิงสา หรือ การไม่เบียดเบียน ด้วยพระเมตตา ที่มีต่อในราชวงศ์ ข้าพระบาท รวมถึงประชาชน อันเป็นเหตุให้ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ ทั้งที่สมควรและไม่สมควร
9. ขันติ หรือ ความอดทน อดกลั้น และอดออม ของพระองค์เวลาพระองค์ท่านประทับนั่งนิ่ง พระราชทานปริญญาบัตร กว่า 4 ชั่วโมง หรือแม้แต่การทรงงานในพื้นที่ยากลำบาก ถิ่นทุรกันดาร แต่ท่านก็อดทน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือประชาชนของท่าน
10. อวิโรทนะ หรือ ความหนักแน่น เที่ยงธรรม และยุติธรรมในพระราชกิจยวัตร หรือพระราชวินิจฉัย แม้แต่เหตุการณ์เมืองหลายครั้งที่ทำให้ประเทศเกิดความไม่สงบสุข แต่พระองค์ทรงเชื่อว่าทุกคนกลับตัวกลับใจเป็นคนดีได้นั่นเอง
การนำธรรมะมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน จะนำพาชีวิตสู่ความสงบร่มเย็นภายในจิตใจ เกิดพลังศรัทธาที่ดีงามต่อการดำรงชีวิต หน้าที่การงาน อันส่งผลไปถึงครอบครัว ให้เกิดความสุขความเจริญโดยสามารถเข้าร่วมฟังธรรมมะในโครงการ "เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ" เพื่อส่งเสริมการศึกษา พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรม ให้พนักงานและประชาชนผู้ที่สนใจได้ร่วมฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม ตลอดระยะมากว่า 20 ปี สำหรับผู้ที่สนใจข้อคิดดีๆ แบบนี้ สามารถร่วมฟังธรรมบรรยายได้ที่อาคารซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม ทุกเที่ยงวันศุกร์ หรือติดตามรายละเอียดได้ที่www.cpall.co.th