กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--ทีคิวพีอาร์
นักศึกษาจำนวน 5,499 คนจากทั่วโลกลงสมัครเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในโครงการ Fly Your Ideas ของแอร์บัสปีที่ 5 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับนักศึกษาจากทั่วโลกที่ถูกจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation: UNESCO)
ผู้เชี่ยวชาญและนักริเริ่มของแอร์บัสกว่า 60 คนที่ได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินแนวคิดจากทีมผู้เข้าแข่งขัน 365 ทีม จาก 89 ประเทศ กระบวนการประเมินผลอันเข้มงวดเกิดขึ้นที่แอร์บัสทั้ง 4 แห่ง ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และอังกฤษ โดยแอร์บัสได้ทำการคัดเลือกทีมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 50 ทีม เข้าสู่รอบที่ 2 ของโครงการ Fly Your Ideas ที่จะเริ่มในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2560 และในบรรดาผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ผ่านไปยังรอบที่ 2 นั้นมีนักศึกษาคนไทยจำนวน 2 คน ผ่านเข้ารอบด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย และเป็นส่วนหนึ่งของทีมรอยัลเมลเบิร์น สถาบันเทคโนโลยี (Royal Melbourne Institute of Technology)
การแข่งขันจะนำโดยทีมที่ลงทะเบียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 50 ทีมประกอบด้วยนักศึกษาจำนวน 202 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทน 38 เชื้อชาติ โดยร้อยละ 52 ของทีมผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมที่เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาทั้งชายและหญิง ซึ่งเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันเศษสองส่วนสามมีเชื้อชาติที่แตกต่างกัน เช่นการที่สมาชิกในทีมมาจากประเทศที่แตกต่างกันหรือศึกษาสาขาวิชาที่แตกต่างกัน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นเดินหน้าสนับสนุนในเรื่องของความหลากหลายของแอร์บัส ซึ่งแอร์บัสเล็งเห็นว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการริเริ่มนวัตกรรมใหม่
แนวคิดด้านนวัตกรรมจากทีมที่ได้คัดเลือกทั้ง 50 ทีมนั้นประกอบด้วย หุ่นยนต์เข็นกระเป๋า เก้าอี้สำหรับผู้โดยสารที่สามารถขึ้นได้จากข้างนอกเครื่องบิน โซลูชั่นใหม่สำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานและการใช้งานเสมือนจริง
"โครงการ Fly Your Ideas เป็นการแข่งขันที่แตกต่างไม่เหมือนใครและเราก็ภาคภูมิใจที่การสร้างสัมพันธ์ของแอร์บัสมีความกว้างไกล พนักงานของแอร์บัสสามารถให้การสนับสนุนการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประเมินผล ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ" มร.ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวิศวกรรมแอร์บัส กล่าว "เราได้ยื่นโอกาสที่หาได้ยากให้แก่นักศึกษาเพื่อทำการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในแวดวงธุรกิจโดยตรง ในทางกลับกัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็จะได้ประโยชน์จากการติดต่อพูดคุยโดยตรงกับกลุ่มคนที่ความสามารถจากทั่วโลก ทุกคนจะแลกเปลี่ยนความชื่นชอบเดียวกันเพื่ออุตสาหกรรมที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดในโลก"
ทีมผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมมีเวลา 100 วันในการปรับแต่งและพัฒนาความคิดของพวกเขา โดยทีมที่มีคะแนนสูงสุดเพียง 5 ทีมที่จะผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันรอบที่สามและจะได้ใช้เวลาทั้งหนึ่งสัปดาห์ที่ "ProtoSpace" ณ แอร์บัสสำหนักงานใหญ่ที่เมืองตูลูส เพื่อทำต้นแบบ ทดสอบ และทำให้ความคิดของพวกเขาเห็นเป็นภาพขึ้นมาโดยการอุปกรณ์อันทันสมัยพร้อมกับคำแนะนำแบบส่วนบุคคลจากแอร์บัส โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 ยูโร ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 15,000 ยูโร ในการถ่ายทอดสดการแจกรางวัลในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2560
ทีมที่ได้คัดเลือกทั้ง 50 ทีมจะเริ่มทำการพัฒนาแนวคิดและบอกถึงความคืบหน้าในการทำงานด้วยภาพ แบบร่างและกรอบแสดงผลงานที่สมบูรณ์ที่www.airbus-fyi.com.