กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--กกพ.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ลดค่าเอฟทีงวดเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2560 ลงมาที่ -37.29 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงจากงวดที่แล้วเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2559 เท่ากับ -4.00 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อลดภาระแก่ผู้บริโภคในช่วงปีใหม่
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม กกพ. ว่า กกพ. ได้พิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 ซึ่งอยู่ที่ -41.09 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงจากที่เรียกเก็บในงวดที่แล้ว 7.80 สตางค์ต่อหน่วย สวนทางกับที่คาดการณ์ในการพิจารณาค่าเอฟทีครั้งก่อนที่คาดว่าจะปรับขึ้นมาอย่างมาก เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าหลายแห่งจากทั้งเอกชนและต่างประเทศหยุดซ่อมบำรุงนอกแผน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าความพร้อมจ่าย (Available Payment: AP) ให้กับโรงไฟฟ้าลดลง แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าและราคาก๊าซธรรมชาติในปีหน้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน รวมกับการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาในประเทศพม่าที่ต้องหาเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทน จึงคาดว่าค่าเอฟทีในงวด พ.ค. – ส.ค. 60 จะปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น กกพ. จึงมีมติให้ปรับค่าเอฟทีในงวด ม.ค.- เม.ย. 60 ลดลง 4.00 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าเอฟทีอยู่ที่ -37.29 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อลดภาระแก่ผู้บริโภคในช่วงปีใหม่ ในขณะเดียวกันก็สะสมเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางปีหน้า
สถานการณ์ค่าเอฟทีในส่วนของเชื้อเพลิงในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนโดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการปรับลดค่าเอฟทีในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 นี้ คือ ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 6 บาทต่อล้านบีทียู รวมทั้งราคาน้ำมันเตาก็มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder และ FiT ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากจะมีการเข้ามาของโรงไฟฟ้าพลังงานลมของ SPP ที่เลื่อนการจ่ายไฟฟ้ามาจากงวดก่อน
นอกจากนี้ โฆษก กกพ. ยังได้กล่าวสรุปถึงปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาเชื้อเพลิงและการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 ดังนี้
1. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่าช่วง ก.ย.-ธ.ค. 59 อยู่ที่ 0.08 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกิดขึ้นจริงเฉลี่ยเดือน ต.ค. 59 ที่ 35.22 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 เท่ากับ 63,196 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือน ก.ย. - ธ.ค. 59 เท่ากับ 908 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.46
3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักร้อยละ 65.65 รองลงมาเป็นถ่านหินลิกไนต์ กฟผ. ร้อยละ 8.88 การซื้อไฟฟ้าจากลาวและมาเลเซียร้อยละ 8.43 และถ่านหินนำเข้าร้อยละ 7.99
4. แนวโน้มราคาเชื้อเพลิง คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 233.10 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดที่ผ่านมา 6.26 บาทต่อล้านบีทียู ราคาน้ำมันเตาอยู่ที่ 14.80 บาทต่อลิตร ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.54 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 19.15 บาทต่อลิตร ปรับตัวลดลง 0.49 บาทต่อลิตร ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าเอกชนอยู่ที่ 2,486.53 บาทต่อตัน ปรับลดลง 13 บาทต่อตัน ตามราคาถ่านหินในตลาดโลกที่ทยอยลดลง และราคาลิกไนต์ กฟผ. อยู่ที่ 693 บาทต่อตัน ไม่เปลี่ยนแปลง
<tr></tr><td bgcolor="#ffffff" height="16" valign="middle" rowspan="2" width="43%" colspan="2"></td>ราคาเชื้อเพลิง
<td bgcolor="#ffffff" height="16" width="23%">ก.ย. - ธ.ค. 59
(ปรับปรุง ณ พ.ย. 59)</td><td bgcolor="#ffffff" height="16" width="16%">ม.ค. - เม.ย. 60
(แผน)</td><td bgcolor="#ffffff" height="16" valign="middle" width="19%" colspan="2">เปลี่ยนแปลง</td><tr><td bgcolor="#ffffff" width="23%">(1)</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">(2)</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">(2) – (1)</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">%</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="27%">ก๊าซธรรมชาติ</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">บาท/ล้านบีทียู</td><td bgcolor="#ffffff" width="23%">226.84</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">233.10</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">6.26</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">2.76</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="27%">น้ำมันเตา</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">บาท/ลิตร</td><td bgcolor="#ffffff" width="23%">11.26</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">14.80</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">3.54</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">31.44</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="27%">น้ำมันดีเซล</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">บาท/ลิตร</td><td bgcolor="#ffffff" width="23%">19.63</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">19.15</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">-0.49</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">-2.50</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="27%">ถ่านหินนำเข้า IPPs</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">บาท/ตัน</td><td bgcolor="#ffffff" width="23%">2,499.53</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">2,486.53</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">-13.00</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">-0.52</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="27%">ลิกไนต์ กฟผ.</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">บาท/ตัน</td><td bgcolor="#ffffff" width="23%">693</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">693</td><td bgcolor="#ffffff" width="10%">-</td><td bgcolor="#ffffff" width="9%">-</td></tr>
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายของภาครัฐ ในส่วน Adder และ FiT ในเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 ได้ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนทั้ง SPP และ VSPP ได้ทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ จึงส่งผลต่อค่าเอฟที ในอัตรา 22.49 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 59 ซึ่งเท่ากับ 21.60 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 0.89 สตางค์ต่อหน่วย
จากการปรับลดค่าเอฟทีเรียกเก็บงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 60 ในอัตรา -37.29 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงจากงวดที่แล้ว 4.00 สตางค์ต่อหน่วย จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.3827 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งจากมติ กกพ. ดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน กกพ. จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่านทาง www.erc.or.th เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2560 ก่อนที่จะนำผลการรับฟังความคิดเห็น มาพิจารณาและให้การไฟฟ้าประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป