กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--เค พลัส เวิร์ค
ฮอนด้าประกาศจัดทำโครงการวิจัย "เพื่อเมืองไทยไร้อุบัติเหตุ โดยฮอนด้า" เพื่อศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเ หตุยานยนต์ในเอเชียและโอเชียเนี ย ระหว่างปี 2559-2063 นำร่องประเทศไทยเป็นแห่งแรก โดยผนึกกำลังศูนย์วิจัยอุบัติเห ตุแห่งประเทศไทย หรือ TARC ในการศึกษา 1,000 กรณีจากเหตุการณ์จริง คาดสามารถยกระดับและพัฒนาเทคโนโ ลยีความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้
โดยในงานแถลงข่าว ได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัยกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย มร.โนริอากิ อาเบะ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารปฏิ บัติการ ประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนี ย, บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด,ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด นายอารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด รศ.ดร. กัณวีร์ กริษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแ ห่งประเทศไทย และ นพ.แท้จริง ศิริพาณิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ ร่วมงานแถลงข่าวโครงการวิจัย "เพื่อเมืองไทยไร้อุบัติเหตุ โดยฮอนด้า"
จากการที่ฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายยานยนต์ มีสินค้าหลากหลายตอบสนองการใช้ชี วิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ฮอนด้าได้เล็งเห็นความปลอดภัยเป็ นมาตรฐานสูงสุด จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างควา มมั่นใจเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้ ใช้รถใช้ถนนทุกภาคส่วน อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน ตลอดจนผู้ใช้ถนนทั่วไป ดังสโลแกนฮอนด้าทั่วโลก "Safety for Everyone" ภายใต้คำมั่นนี้ ฮอนด้าจึงมุ่งที่จะลดปัญหาความสู ญเสียอันเกิดจากอุบัติเหตุ จากการจราจรเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ ถนนขับรถได้อย่างเสรีและมีความป ลอดภัย
ทั้งนี้พบว่าบางภูมิภาคในโลกยัง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่สูง มาก โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย อันเป็นที่มาของโครงการวิจัยเชิ งลึกหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุยานยนต์ในเอเชียและโอเชียเนียครั้ งนี้ ซึ่งจะเริ่มนำร่องที่ประเทศไทยเ ป็นแห่งแรก ด้วยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสี ยชีวิตจากอุบัติเหตุสูงที่สุดใน เอเชีย (อ้างอิงจาก Global Status Report on Road Safety 2015 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) )
มร.อาเบะ กล่าวว่า "ฮอนด้ามีความมุ่งมั่นที่จะสร้า งสรรค์สังคมปลอดอุบัติเหตุ" เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความสุ ขจากการใช้ยานยนต์ ทั้งนี้อัตราการเกิดอุบัติเหตุใ นภูมิภาคเอเชียถือเป็นเรื่องเร่ งด่วนที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว โดยในส่วนของผู้ผลิตและจำหน่ายยานยนต์ ฮอนด้าจะทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัจจัยต้นเหตุของการเกิดอุ บัติเหตุเพื่อนำไปสู่การการแก้ ปัญหาอย่างตรงจุดและเหมาะสมต่ อไป เราเชื่อมั่นว่าโครงการวิจัยอุบั ติเหตุในประเทศไทยครั้งนี้ จะเป็นโครงการนำร่องที่สามารถเพิ่ มพูนองค์ความรู้ต่างๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและความรู้ด้านความปลอดภัยบนท้องถนนรวมทั้งช่ วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยและภูมิภาคได้อย่างแน่ นอน"
สำหรับโครงการวิจัยฯ ดังกล่าวจะทำการศึกษาเป็นระยะเว ลา 4 ปี โดยจะศึกษาจังหวัดที่มีอัตราการ เกิดอุบัติเหตุสูง เช่น กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา โดยจะทำการศึกษาจากเหตุการณ์จริ งจำนวน 1,000 กรณี ในระหว่าง พ.ศ. 2559-2563
สำหรับกระบวนการศึกษานั้น ฮอนด้าจะร่วมกับศูนย์วิจัยอุบัติ เหตุแห่งประเทศไทย หรือ TARC ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการเก็บข้อ มูลอุบัติเหตุ โดยจะส่งทีม TARC ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามกรอ บการศึกษาและระเบียบวิธีวิจัย จากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลและส่ง รายงานให้ฮอนด้าเพื่อวิเคราะห์แ ละนำไปปรับใช้ในงานวิจัยและพัฒนาของตนในขั้นต่อไป โดยคาดว่าผลการศึกษาชิ้นแรกจะเส ร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2560
ขั้นตอนการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้ อมูลเริ่มจากทีม TARC จะแบ่งทีมลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อ มูลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจะเก็บข้อมูลครอบคลุมหลายด้า น อาทิ ระดับอาการบาดเจ็บของผู้ประสบอุ บัติเหตุ ระดับความเสียหายของยานยนต์ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่เกิ ดอุบัติเหตุ สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ และตรวจสอบเหตุการณ์จากกล้องวงจ รปิด ซึ่งทีม TARC จะทำการบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ มา และสรุปปัจจัยสาเหตุของการเกิดอุ บัติเหตุ เพื่อส่งรายงานให้กับฮอนด้าเพื่ อการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
ทั้งนี้ ฮอนด้าและทีม TARC ได้ดำเนินโครงการนำร่องโดยศึกษา อุบัติเหตุจริง 30 กรณีมาเมื่อต้นปี 2559 และโครงการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการขยายจำนวนและพื้นที่การวิ จัยให้กว้างมากขึ้นต่อยอดจากโคร งการนำร่องดังกล่าว
ฮอนด้าคาดว่าข้อค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้ จะนำไปสู่การปฎิบัติเพื่อลดอุบั ติเหตุจากการจราจร ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีด้านค วามปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสำหรั บยานยนต์ฮอนด้าในท้องตลาด อีกทั้งช่วยปรับปรุงเนื้อหาการฝึ กอบรมการขับขี่ยานยนต์ให้ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้ น ฮอนด้าหวังว่าโครงการวิจัยอุบัติ เหตุนี้จะนำประโยชนมาสู่สังคมและสร้างจิตสำนึกการขับขี่อย่างปลอดภัยลดอุบัติเหตุได้จริงต่ อไปในอนาคต