กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--มทร.ธัญบุรี
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสุขภาพความงามและสปา วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี บริการวิชาการให้กับชุมชนชนเทศบาลลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี นำเปลืองแก้วมังกร และเมล็ดฟักทอง สิ่งของที่เหลือใช้จากธรรมชาติ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
ดร.จุฑาภรณ์ ขวัญสังข์ อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ เล่าว่า ในการบริการวิชาในครั้งนี้ เป็นหนึ่ง ในรายวิชาการดูแลรักษาใบหน้าและร่างกาย ของนักศึกษาสาขาวิชาสุขภาพความงามและสปา ชั้นปีที่ ๓ ต้องลงฝึกสอนนอกสถานที่ สำหรับเทศบาลลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ จึงได้นำนักศึกษามาการลงฝึกสอนให้กับเทศบาลลำสามแก้ว ซึ่งในครั้งนี้นักศึกษาได้มาสอนในเรื่องการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ คือ เปลือกแก้วมังกร ที่มีสารเบต้า-ไซยานิน วิตามินซี วิตามินบี และ เมล็ดฟักทองจะมีสาร เบต้า-แคโรทีน วิตามินอี มาเป็นส่วนผสมที่ใช้ในการดูแลผิวพรรณ ได้แก่ สบู่เหลว แชมพูสระผม และครีมนวดผม พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพความงาม โดยทางอาจารย์และนักศึกษาได้ขอขอบพระคุณทางท่านนายกเทศมนตรีนครลำสามแก้ว โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 50 คน นักศึกษาจะได้เห็นปัญหาจริง บางครั้งหารนั่งเรียนในห้องเรียน นักศึกษาจะไม่ได้ประสบการณ์จากเหตุการณ์จริง ว่าด้วยบัณฑิต Hand On ได้ปฏิบัติจริง ของ มทร.ธัญบุรี
"เจ" นางสาวชนิศา รุจิพุฒ เล่าว่า รับหน้าที่พิธีกรและสอนทำผลิตภัณฑ์ ตื่นเต้นมาก กลัวสอนชาวบ้านไม่เข้าใจ แต่ชาวบ้านทุกคนให้ความร่วมมือเป็นกันเอง ซึ่งในการลงชุมชนในครั้งนี้ทำให้ตนเองและเพื่อนๆ ได้รับประสบการณ์ได้ความรู้เพิ่มเติมมีความกล้าแสดงออก ในการลงพื้นที่สอนชุมชนเปรียญเสมือนโรงเรียนหลังที่ 2 ได้นำความรู้ที่เรียนมา มาสอนมาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน เช่นเดียวกันที่ตนเองเลือกเรียนสาขาวิชานี้ อยากรู้ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาต่อยอดในอนาคต เนื่องจากทุกวันนี้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องของความสวยความงาม
"พิม" นางสาวพิมพ์กานต์ บัวทอง เล่าว่า จากการพูดคุยกับชาวบ้าน ทุกคนให้ความสนใจและอยากนำ ความรู้ในครั้งนี้ไปต่อยอด โดยกลุ่มของตนเองรับผิดชอบในการสอน สบู่เหลว แชมพูสระผม และครีมนวดผม จากเปลืองแก้วมังกร สอนขั้นตอนในการสกัดสารจากเปลือกแก้วมังกร เอาเปลือกแก้วมังกร ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นสกัดสารโดยใช้ โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) อัตราส่วน 1:4 ทิ้งไว้ประมาณ 30นาที ก็สามารถนำมาใช้ได้ ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือ ได้ลงชุมชนฝึกประสบการณ์ได้นำความรู้ ในสิ่งที่เรียนมาไปสอนไปแลกเปลี่ยนแบบวิถีชาวบ้าน
"ฟาง" นางสาวญาตา โภชนา เล่าว่า กลุ่มของตนเองรับผิดชอบในการสอนผลิตภัณฑ์จากเมล็กฟักทอง ในการสอนชาวบ้านจะแบ่งชาวบ้านออกเป็น 3 กลุ่ม ที่เลือกเมล็ดฟักทอง เนื่องจากในเมล็ดฟักทองมีวิตามินที่เหมาะกับการบำรุงผิด โดยเฉพาะวิตามัน E จึงได้ช่วยการคิดค้นและพัฒนาสูตร เพื่อนำมาสอนชาวบ้าน ซึ่งในการลงสอนครั้งนี้ต้องมีการเตรียมตัว หาข้อมูล เมื่อชาวบ้านถามจะได้ตอบได้ ซึ่งเป็นการฝึกการเตรียมพร้อมตนเอง ก่อนสำเร็จการศึกษา นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน ชาวบ้านสามารถนำความรู้ไปผลิตภัณฑ์จำหน่าย หรือทำไว้ใช้ในครัวเรือนอีกด้วย
จิตอาสาที่ลงพื้นที่สอนชุมชน นำความรู้ที่ได้เรียนมาไปถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกประสบการณ์จริง ได้ลงมือทำจริง ว่าด้วยบัณฑิต Hand On ได้ปฏิบัติจริง ของ มทร.ธัญบุรี