กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "สงครามไซเบอร์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,501 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความ น่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.3
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.62 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ต ขณะที่ ร้อยละ 35.38 ระบุว่า ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วม อีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.39 ระบุว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย รองลงมา ร้อยละ 19.90 ระบุว่า เป็นการพิสูจน์ศักยภาพหน่วยงานภาครัฐว่าจะสามารถรับมือ สงครามไซเบอร์ ได้แค่ไหน ร้อยละ 17.11 เป็นวิธีการที่เหมาะสม เพราะรัฐไม่ยอมฟังเสียงต้านของประชาชนบางส่วน ร้อยละ 11.44 ระบุว่า มีการเมืองอยู่เบื้องหลังกลุ่มต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 7.53 ระบุว่า เป็นแค่เรื่องของเด็กเกรียนต้องการแสดงศักยภาพของตัวเอง ร้อยละ 1.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่มีผลกระทบที่ชัดเจน และข้อกฎหมายยังคลุมเครือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี, ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลไม่ควรปิดกั้นข้อมูลข่าวสารและละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, บางส่วนระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มต่อต้าน เพราะ พรบ. ฉบับใหม่จะช่วยคัดกรองข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน และร้อยละ 22.27 ไม่ระบุ/เฉย ๆ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการของภาครัฐต่อสงครามไซเบอร์ ในครั้งนี้ พบว่า ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.53 ระบุว่า รัฐเร่งชี้แจงพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจนจะได้ช่วยลดข้อขัดแย้งลง รองลงมา ร้อยละ 30.62 ระบุว่า หาวิธีการป้องกันการแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 25.46 ระบุว่า ควรสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมาย ร้อยละ 15.98 ระบุว่า ยอมอ่อนข้อประนีประนอม โดยยอมทบทวนกฎหมาย ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ต้องสนใจอะไร และเดินหน้าประกาศใช้กฎหมาย ร้อยละ 0.82 ระบุอื่น ๆได้แก่ รัฐบาลควรเจรจา และควรรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และควรใช้กฎหมายไปในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักของธรรมาภิบาล และร้อยละ 12.89 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/เฉย ๆ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.73 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.58 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 49.30 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.70 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.46 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 18.19 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.58 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 28.78 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.45 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.53 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.40 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.86 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.13 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 25.38 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 66.36 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.93 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.33 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.98 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.91 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.73 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.38 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.60 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.40 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.19 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.86 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.19 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 18.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.73 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.60 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.92 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.86 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.59 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.46 ไม่ระบุรายได้