กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
มาสเตอร์การ์ด เผยรายงานล่าสุด "อนาคตของการเดินทางท่องเที่ยวข้ามแดนในเขตเอเชียแปซิฟิกระหว่างช่วง พ.ศ. 2559 ถึง 2564 หรือ Future of Outbound Travel in Asia Pacific 2016 to 2021" พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกนอกประเทศจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน อันได้แก่ จีน อินเดีย มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า และศรีลังกา มีจำนวนสูงกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิกด้วยกัน อันได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นจำนวนถึงหนึ่งเท่าครึ่ง โดยคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างรวดเร็วในอีกห้าปีข้างหน้า (อัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีเป็นร้อยละ 7.6 เทียบกับร้อยละ 3.3)
โดยรวมแล้ว ตลาดในเอเชียแปซิฟิคถูกคาดการณ์ว่าน่าจะเติบโตราวร้อยละ 6 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2021
และประเทศจีน ก็ถูกมองว่าจะมีจำนวนการท่องเที่ยวออกนอกประเทศมากที่สุดในปี 2021 ด้วยจำนวนการท่องเที่ยวที่คาดว่าน่าจะสูงถึง 103.4 ล้านครั้ง ถือเป็นอัตราส่วนถึงร้อยละ 40 ของการเดินทางออกนอกประเทศทั้งหมดในทวีปเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเกือบถึงสี่เท่าเมื่อเทียบกับอันดับสองและสาม ซึ่งได้แก่ประเทศเกาหลีใต้ (25.6 ล้าน) และประเทศอินเดีย (21.5 ล้าน) ตามลำดับ
ตัวเลขคาดการณ์ของการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ 10 อันดับต้นในเอเชียแปซิฟิกจนถึงปี 2021 ได้แก่
จีน – 103.4 ล้านครั้ง
มาเลเซีย – 14.2 ล้านครั้ง
เกาหลีใต้ – 25.6 ล้านครั้ง
ออสเตรเลีย – 11.8 ล้านครั้ง
อินเดีย – 21.5 ล้านครั้ง
สิงคโปร์ – 11.7 ล้านครั้ง
ญี่ปุ่น – 19.4 ล้านครั้ง
อินโดนีเซีย – 10.6 ล้านครั้ง
ไต้หวัน – 16.3 ล้านครั้ง
ไทย – 9.1 ล้านครั้ง
มร. เอริค ชไนเดอร์ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของมาสเตอร์การ์ด แอดไวเซอร์ กล่าวว่า "กลุ่มชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นแรงผลักดันให้การท่องเที่ยวออกนอกประเทศในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนสูงขึ้น ประกอบกับแนวโน้มเสริมเรื่องอื่นๆ ด้วย อาทิ กลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชียรุ่นมิลเลนเนียลที่ผุดขึ้นมา พร้อมๆกับนักท่องเที่ยวสูงวัย อีกทั้งยังมีปัจจัยเสริมในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย นักท่องเที่ยวชาวเอเชียแปซิฟิกจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนให้การท่องเที่ยวสากลเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงหลายปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสอันมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ ให้สามารถตักตวงผลประโยชน์ผ่านทางการพัฒนาและปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ให้สอดคล้อง เพื่อเสริมให้ประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรวมเป็นเรื่องที่ดีมากยิ่งขึ้น"
พม่าถูกคาดการณ์ให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางออกนอกประเทศในอัตราที่เติบโตเร็วที่สุด โดยมีการเติบโตถึงร้อยละ 10.6 ต่อปีตลอดช่วงห้าปีข้างหน้า ตามมาด้วยเวียดนาม (ร้อยละ 9.5) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 8.6) จีน (ร้อยละ 8.5) และอินเดีย (ร้อยละ 8.2) แต่หากมองในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิก เกาหลีใต้ถือว่าเติบโตเร็วที่สุด (ร้อยละ 3.8) ตามมาด้วย สิงคโปร์ (ร้อยละ 3.5) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 3.5) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 3.4)
ตัวเลขคาดการณ์ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด 10 อันดับต้น โดยดูจากจำนวนการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (อัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี 2016-2021) ได้แก่
พม่า – ร้อยละ 10.6
ศรีลังกา – ร้อยละ 6.1
เวียดนาม – ร้อยละ 9.5
ไทย – ร้อยละ 4.8
อินโดนีเซีย – ร้อยละ 8.6
ฟิลิปปินส์ – ร้อยละ 4.4
จีน – ร้อยละ 8.5
เกาหลีใต้ – ร้อยละ 3.8
อินเดีย – ร้อยละ 8.2
ออสเตรเลีย/สิงคโปร์/มาเลเซีย – ร้อยละ 3.5
การเติบโตของการเดินทางออกนอกประเทศเทียบกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริง
หากอ้างตามผลการศึกษานี้ จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวออกนอกประเทศน่าจะเติบโตเร็วกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริง ทั้งนี้ การท่องเที่ยวออกนอกประเทศในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะมีอัตราเติบโตสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงของประเทศเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่การท่องเที่ยวออกนอกประเทศมีอัตราเติบโตใกล้เคียงกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมคาดการณ์ที่แท้จริงของประเทศ (ยกเว้นในญี่ปุ่น) โดยประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างพม่า (ร้อยละ 10.6 เทียบกับร้อยละ 7.7) เวียดนาม (ร้อยละ 9.5 เทียบกับร้อยละ 6.2) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 8.6 เทียบกับร้อยละ 5.7) ไทย (ร้อยละ 4.8 เทียบกับร้อยละ 3.1) และจีน (ร้อยละ 8.5 เทียบกับร้อยละ 6) คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงของประเทศ
การเติบโตของการท่องเที่ยวข้ามแดนเทียบกับจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น
ภายในปี 2021 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) จะมีอัตราการท่องเที่ยวออกนอกประเทศต่อจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้นเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าร้อยละหนึ่งร้อย ทั้งนี้ ครัวเรือนในสิงคโปร์ (ร้อยละ 693.6) ฮ่องกง (ร้อยละ 248.9) และไต้หวัน (ร้อยละ 232) มีแนวโน้มสูงสุดที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศ
เมื่อเทียบในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วยกัน คาดว่ามาเลเซียน่าจะมีอัตราส่วนที่สูงที่สุดถึงร้อยละ 198.7 ภายในปี 2021 ในขณะที่ อินเดีย (ร้อยละ 7.3) บังคลาเทศ (ร้อยละ 7.4) พม่า (ร้อยละ 14.6) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 15.4) อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราส่วนต่ำที่สุด ชี้ให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในด้านการเติบโตของการท่องเที่ยวออกนอกประเทศในตลาดกลุ่มนี้ได้อีกในช่วงสิบถึงยี่สิบปีข้างหน้า บนข้อสันนิษฐานที่ว่าแนวโน้มการท่องเที่ยวน่าจะสูงขึ้นตามจำนวนครัวเรือนที่จะเพิ่มสูงขึ้น
สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://news.mstr.cd/2hI8SMc