กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สกว. จับมือ สกอ. มอบรางวัลเชิดชู 14 นักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น พร้อมเปิดเวทีเสนอผลงานของนักวิจัย รุ่นใหม่และรุ่นกลาง ขณะที่รองนายกฯ แนะศึกษาบทเรียนจากสถานการณ์โลกและประเทศ ใช้การวิจัย สร้างปัญญาและนวัตกรรมในเชิงสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 ชี้สอง ทางเดินสายอาชีพจะเป็น "เป็ด" ที่รอบรู้ทุกด้าน หรือ "กูรู" ที่เก่งเฉพาะทาง
พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เปิดการประชุมและปาฐกถานำเรื่อง "ความคาดหวังของการสร้างชาติโดยการวิจัย" ในงาน "นักวิจัยรุ่นใหม่… พบ…เมธีวิจัยอาวุโส สกว." ครั้งที่ 16 พร้อมมอบรางวัล 2017 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award และ 2017 TRF-OHEC-Scopus Researcher Award โดยมีนักวิจัยร่วมงาน 1,100 คน ณ โรงแรม เดอะรีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักกงานคณะ กรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดขึ้นเพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่และรุ่นกลางได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้า พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานวิจัย และรับฟังข้อเสนอแนะจากนักวิจัยอาวุโส อีกทั้งเผยแพร่ผลงาน ของนักวิจัยที่ได้รับรางวัลสู่สาธารณะ
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันมีหลายบทเรียนที่ต้องเรียนรู้จากสถานการณ์ของโลกและประเทศ รวมถึงองค์กรใกล้ตัว ทั้งการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองระหว่างประเทศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจ การ คมนาคมขนส่ง ตลอดจนปัญหาการก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกันทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และในประเทศ ล้วนเป็น สิ่งที่ควรศึกษาและหาบทเรียนที่จะนำมาพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งนี้ภัยคุกคามที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ภัยธรรมชาติ รวมถึงภัยจากโลกไซเบอร์ ล้วนกระทบต่อการดำรงชีวิต ความคิดความเชื่อ ซึ่งมีที่มา และประเด็นที่ควรศึกษาค้นคว้า
รัฐบาลมุ่งหวังให้เกิดความมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน เป็นที่ยอมรับในสังคมโลก และมีกิจกรรมทุกภาคส่วน กับนานาประเทศ ทำอย่างไรประเทศไทยจึงจะเปลี่ยนผ่านจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ครม.คาดหวังว่า เราจะกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปีให้เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งทุกภาคส่วนจะไป ถึงเป้าหมาย มีการกระจายความเจริญ เกิดการอยู่ดีกินดีตามฐานะของแต่ละมุ่งคน ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งต้องอาศัย หลายปัจจัยที่เป็นตัวนำพา ทั้งบุคลากรที่มีคุณภาพและปริมาณที่ต้องมีการเรียนรู้และการวิจัย ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการบริการของภาครัฐ วัฒนธรรม องค์กร ล้วนมีบทบาทสำคัญทั้งสิ้น และเป็นส่วนที่ รัฐบาล พยายามดำเนินการ เพื่อใช้คนและเครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพ ให้ประชาชนใช้ข้อมูลภาครัฐ และเข้าถึง การบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกรอบสำคัญในการทำวิจัยและมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ดังนั้นจึง ต้องเชื่อมโยงการสร้างคนให้พร้อมต่อการรองรับเทคโนโลยี และนำใช้ในแต่ละกิจการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างถูกต้อง แม่นยำ สามารถผลิตได้อย่างมีคุณภาพ เกิดความพึงพอใจและประสิทธิภาพ ตลอดจนราคาที่สูงขึ้น มีรายได้มากขึ้น เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน นำไปสู่การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นของรัฐ เหล่านี้ต้องเชื่อมโยง กันและพุ่งไปข้างหน้าเช่นธนู ซึ่งทุกคนจะมีส่วนได้รับอานิสงส์ในการขับเคลื่อนประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 โดยทั่วหน้า
สิ่งที่เหนือกว่าการศึกษา คือการวิจัย งานวิจัยก่อให้เกิดปัญญาซึ่งเป็นขั้นหนึ่งของความรู้ ทำให้เกิด ความคิดที่เป็นระบบ มีความสร้างสรรค์และต่อยอด ทำให้เกิดความกระหายที่จะคิดค้น และสร้างความคิดเชิงบวก อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นการศึกษาและการเรียนรู้จึงมีความจำเป็น ขณะที่การวิจัยจะเป็นการต่อยอดให้เกิด ความรู้ ปัญญา และเทคโนโลยี ทั้งนี้คาดหวังว่าคนไทยจะมีความพร้อมในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม สกว. และ หน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระบบจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนและอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยให้เกิดความพร้อมที่จะก้าวสู่การวิจัยในระดับที่สูงขึ้นและมุ่งเป้าสู่ความคาดหวังของประเทศ จึงขอให้นักวิจัย มองถึงบทเรียนที่เกิดขึ้น จากสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมีความรู้และปัญญา ต่อยอดเป็นเทคโนโลยีพัฒนา เพื่อนำไปผลิต เป็นนวัตกรรมซึ่งจะเป็นสุดยอดที่นักวิจัยต้องการ เป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่า เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราไม่ต้องการเพียงความรู้ ปัญญา แต่ต้องการนำมาหลอมรวมด้วยกัน ดังนั้นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัย จึงจะ ชี้เป้าว่าจากนี้ไปตั้งแต่ 2560-79 ประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำการวิจัย และนวัตกรรมในระดับโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่ ท้าทาย แผนของสำนักงานคณะกรรมการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าเราต้องมีความสามารถของ นักวิจัยไม่เกินอันดับที่ 20 ของโลก แต่เชื่อว่าหากพวกเราร่วมมือกันทำการวิจัยและนวัตกรรม เราจะเป็นผู้นำ ระดับโลกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ ดังนั้นงานนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ และมีแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณ กลไก แรงจูงใจ การทำให้เกิดการลงทะเบียน และรับรองมาตรฐานอย่าง รวดเร็ว และเป็นที่ยอมรับ ต้องมีปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบ แผนการปรับปรุงงบประมาณ ให้เกิดความต่อ เนื่องกับโครงการทุกปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2561 นอกจากนี้ยังต้องจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร เดิมขาดแคลน นักวิจัยทั้งปริมาณและคุณภาพในสาขาที่ต้องการ เราต้องมีนักวิจัย 25 คนต่อประชากร 10,000 คน และต้องหา ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัย รัฐ เอกชน และประชาคม ซึ่งต้องกำหนดการชี้เป้าว่า เราต้องการอะไรบ้าง เพื่อจะได้สร้าง supply ได้ถูก รวมถึงการแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นคอขวด
"จากนี้ไปทุกคนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในระบบวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน สิ่งที่ทุกหน่วย ของ คอบช. เกี่ยวข้องภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อทำวิจัยไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 20 ปี และประเทศไทย 4.0 อยากแนะนำว่านักวิจัยรุ่นใหม่ควรถือโอกาสเปิดรับความรู้และประสบการณ์ ละลายทัศนคติ มองเห็นความสว่างให้ชัดเจนมากขึ้นจากเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้การชี้แนะในงานประชุมครั้งนี้ รับฟังอย่างเปิดใจและกลั่นกรองคัดเลือก จากนั้นต้องสร้างสมรรถนะของตัวเอง จากข้อมูลที่ได้เรียนรู้ และสร้าง ความสามารถหลักว่าจะไปในทิศทางใด จะเป็น "เป็ด" ที่รอบรู้ทุกเรื่องหรือเป็น "กูรู" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ ประเทศชาติต้องการ นอกจากนี้ยังต้องร่วมมือกันสร้างเครือข่าย เพราะเราไม่สามารถเป็นศิลปินเดี่ยวที่ทำงาน คนเดียวได้ เพราะในภาพใหญ่เราต้องทำงานเป็นเครือข่ายและทีมเวิร์ค เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และฝ่าฝันอุปสรรค ในการทำวิจัยได้" รองนายกรัฐมนตรีระบุ
ด้าน ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า สกว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดมอบรางวัลดังกล่าวแก่ 14 นักวิจัยที่มีผลงาน โดดเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติแก่วุฒิเมธีวิจัย สกว. ตลอดจนนักวิจัยรุ่นกลางและนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่มีผลงานวิจัยจาก โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ดีเยี่ยม ทั้งคุณภาพของงานวิจัย ตลอดจนผลกระทบต่อวงวิชาการ และ สังคม เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพสูงต่อไป โดยรางวัล 2017 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award เป็นรางวัลที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท คลาลิเวท อนาลิทิคส์ (Clarivate Analytics) เป็นปีที่สอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกย่อง นักวิจัยที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย เชิดชูผลงานการวิจัยที่โดดเด่น และมีคุณูปการในสาขาที่นักวิจัยเชี่ยวชาญพิเศษ รวมถึงผลกระทบเชิงบวก ที่ผลงานวิจัยดังกล่าวมีต่อสาธารณชนในประเทศไทย ส่วนรางวัล 2017 TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards ได้รับการสนับสนุนจากสำนัก พิมพ์เอลเซอร์เวียร์ (Elsevier)
นักวิจัยที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย 2017 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Awards 1. ศ. ดร.สุจิตรา ยังมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น "การออกแบบวัสดุโครงข่ายสามมิติ แห่งอนาคต" 2. ศ. ดร. ทพญ.สิริพร ฉัตรทิพากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "ภัยเงียบใน สมองของชายวัยทองแล้วอ้วนลงพุง" 3. รศ. ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ "ผึ้งไทยในเวทีโลก"
TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards ได้แก่ 1. ผศ. ดร.ธนรรถ ชูขจร ศูนย์การวิจัยมาลาเรีย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล "การพัฒนาสารเพื่อลดความสามารถในการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย" 2. รศ. ดร. นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล "พยาธิสรีรวิทยาและสารออกฤทธิ์ ทางชีวภาพเพื่อการรักษาโรคอุจจาระร่วง" 3. ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. "ตัวเร่งปฏิกิริยานาโนเพื่อการผลิตสารเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพชั้นสูง" 4. รศ. ดร.ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี "การออกแบบโครงสร้างโมเลกุลอย่างง่ายชนิด D-π-A เพื่อประยุกต์ ใช้ในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงที่มีประสิทธิภาพสูง" 5. รศ. ดร.ปฏิพัทธ์ ทวนทอง คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ "โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ที่จ่ายไฟโดย เซลล์แสงอาทิตย์และเซลล์เชื้อเพลิงที่มีซุปเปอร์คาปาซิเตอร์เป็นแหล่งจ่ายไฟสำรอง"
TRF-OHEC-Scopus Young Researcher Awards ได้แก่ 1. ดร.ปริปก พิศสุวรรณ คณะทรัพยากร ชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี "การปรับสภาพพืชชีวมวล ด้วยวิธีการใช้ด่าง อย่างง่าย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือก และประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery Industry)" 2. ผศ. ดร. นพ.เกริกวิชช์ ศิลปะวิทยาทร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "การศึกษาถึงพยาธิสรีรวิทยาของโรคใหลตายในระดับเซลล์เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยก่อนการฝังเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ" 3. ผศ. ดร.พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล "เคมีคำนวณเพื่ออธิบาย กลไกของปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมี" 4. ดร.ปริญญา การดำริห์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "ไขความลับของอนุภาค หลุมดำและเอกภพด้วยโฮโลแกรม" 5. ผศ. ดร.วิทูร อุทัยแสงสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี "เหล็กกล้าความแข็งแรงสูงพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์" 6. ผศ. ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น "Hybrid-to-Hybrid: สิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ ทดลองวิทยาศาสตร์แบบไฮบริดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบคู่ควบ"