กรุงเทพฯ--17 ม.ค.--กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานทางวิชาการครั้งสำคัญของกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และกรีนพีซสากล พบว่า หากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน จะหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 50,000 รายต่อปีภายในปี2573
การปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในภูมิภาคเหล่านี้ในปัจจุบันเป็นสาเหตุของภาวะการเสียชีวิตที่สูงกว่าปกติในแต่ละปี ประมาณ 20,000 รายและจะเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 ราย ภายในปี 2573 หากแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่กำลังก่อสร้างอยู่ ยังดำเนินต่อไป ภาวะการเสียชีวิตด้วยเหตุนี้ส่วนใหญ่ (55,000 ราย ภายในปี 2573) จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ขณะที่มลพิษทางอากาศในจีนและอินเดีย อยู่ในความสนใจเชิงวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ผลกระทบจากแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกยังไม่ถูกให้ความสำคัญ" แชนนอน คอบลิทซ์ หัวหน้าทีมวิจัยโครงการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว
"การพึ่งพาถ่านหินของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นที่รู้กันดีว่า จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสาธารณสุขอย่างมากมายและคงอยู่เป็นเวลานาน เราประเมินกันไว้ว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหลายหมื่นคนนั้นหลีกเลี่ยงได้โดยการมุ่งสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ต้นทุนสุขภาพของประชาชนที่มีคุณค่าเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาร่วมด้วยเมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตด้านพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ทีมนักวิจัยจากคณะทำงานเรื่องแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบรรยากาศของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วิทยาลัยสาธารณสุขแห่งฮาร์วาร์ด และ กรีนพีซ? ทำการวิเคราะห์การปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในภูมิภาค และ ใช้แบบจำลองบรรยากาศประเมินระดับมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ต่างๆทั่วเอเชีย
รายงานทางวิชาการฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ศึกษาเกี่ยวกับระดับความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของผู้คนจากสาเหตุของโรงไฟฟ้าถ่านหินในเอเชีย รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นหลังจากที่กรีนพีซได้เผยแพร่รายงานทางวิชาการหัวข้อ "ต้นทุนชีวิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย" ซึ่งประมาณการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไว้ 28,300 ราย และเน้นย้ำให้อินโดนีเซียมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ยังระบุว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินในเวียดนามก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 4,300 ราย ในขณะที่การศึกษาวิจัยในไทยแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 1,550 รายต่อปี
หากโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินยังดำเนินอยู่ต่อไป การปล่อยมลพิษทางอากาศจากถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลี และ ญี่ปุ่น จะเพิ่มขึ้นอีกสามเท่าตัวภายในปี 2573 และมากกว่าการปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกาและยุโรปรวมกัน โดยที่การเพิ่มขึ้นของการปล่อยมลพิษทางอากาศส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซียและเวียดนาม โรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คนในภูมิภาคนี้ 70,000 ราย ทุกปี พอๆกับการเสียชีวิต 100,000 ราย จากหมอกควันในอินโดนีเซียเมื่อปี 2558 อินโดนีเซียจึงจะต้องเผชิญกับอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากที่สุด ตามด้วยเวียดนาม และเมียนมาร์ที่จะเป็นลำดับที่สี่ที่จะมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรภายในปี 2573
"แผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องน่ากังวล เพราะหลายประเทศในภูมิภาคนี้แทบไม่มีหรือด้อยมาตรฐานในการจัดการการปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ปล่อยให้โรงไฟฟ้าถ่านหินที่สร้างขึ้นใหม่ก่อมลพิษมากกว่ามลพิษที่เกิดขึ้นในจีนและอินเดียหลายเท่าตัว"
อารีฟ ฟิยันโต ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
"หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสแล้วตอนนี้ ที่จะก้าวข้ามเทคโนโลยีที่สกปรกและล้าสมัยอย่างถ่านหิน และ เลือกใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เวียดนามเป็นประเทศแรกที่ประกาศยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่แล้ว 17 แห่ง ลดขนาดโครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจากการขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ของประเทศลงไปมากกว่าหนึ่งในสี่ รัฐบาลหลายประเทศมีโอกาสที่จะเปลี่ยนนโยบายอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยรักษาชีวิตพลเมืองของตัวเองอีกหลายหมื่นคน"
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2578 คาดกันไว้ประมาณร้อยละ 83 จากอัตราการใช้เมื่อปี 2554 คือ มากขึ้นกว่าสองเท่าตัวจากค่าเฉลี่ยทั่วโลก หลายประเทศในภูมิภาคนี้จึงยังคงยึดติดกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งยังตามหลังจีนและอินเดียที่กำลังเพิ่มเพดานการใช้พลังงานหมุนเวียน
ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง คงมีแค่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ยังคงยืนหยัดไล่ตามแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ โดยไม่สนใจต่อคำมั่นสัญญาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อกังวลต่อต้นทุนชีวิตของประชาชน
จีนเป็นผู้ปล่อยมลพิษทางอากาศรายใหญ่ที่สุดในโลก กลับใช้ถ่านหินลดลงในภาพรวมและเชื่อมโยงกับการปล่อยมลพิษตั้งแต่ปี 2556 โดยแนวโน้มที่ดีนี้ยังดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตามก็เป็นความกระตือรือร้นที่จะทำบางอย่างกับมลพิษที่เกิดขึ้น ในขณะที่มลพิษของจีนได้ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง ทำให้จีนรู้ถึงการขยายตัวของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน
การลดมลภาวะในอากาศของจีน น่าจะช่วยชดเชยมลพิษที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจีนแผ่นดินใหญ่ยังเป็นที่คาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 9,000 รายภายในปี 2573 เนื่องจากมลพิษที่เกิดจากถ่านหินของประเทศเพื่อนบ้าน
หมายเหตุ
ภาวะโรคที่เพิ่มขึ้นจากการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม :http://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/acs.est.6b03731