สหมงคลฟิล์ม ภูมิใจเสนอภาพยนตร์เรื่อง Waiting for the Clouds

ข่าวทั่วไป Wednesday June 15, 2005 13:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--สหมงคลฟิล์ม
เรื่องย่อ
ปี ค.ศ. 1970 ประเทศตุรกีเป็นดินแดนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองอย่างมาก ประเทศเพื่อนบ้านที่ทรงอำนาจของตุรกีอย่างสหภาพโซเวียต เป็นบ่อเกิดของความหวาดกลัวและวิตกกังวลทั้งมวล พวกคอมมิวนิสต์ในตุรกีหรือใครๆ ที่ถูกหมายหัวว่าเป็น “คนนอก” จะถูกจับตามองจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เมื่อคนทรยศคดโกงพากันครองเมือง ความตึงเครียดจึงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี รวมไปถึงเมือง Trabzon ริมทะเลดำที่ห่างจากชายแดนโซเวียตไม่กี่ร้อยเมตร
ณ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของตุรกีเป็นดินแดนสงบสุขที่สองวัฒนธรรม กรีกและตุรกี ผสมผสานลงตัวมานานก่อนการล่มสลายของอาณาจักรออตโตมานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่ไกลจาก Trabzon คือ Trebolu เมืองประมงชาว Pontic Greek สถานที่ที่ Ayshe อาศัยอยู่ เราจะได้เรียนรู้ถึงช่วงเวลาหนึ่งในสงครามที่เกือบจะถูกลบเลือน สัมผัสผลของการกวาดล้างหมู่บ้านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยกองทัพออตโตมานในช่วงฤดูหนาวของปี 1916 และการบุกยึด Trabzon ที่ซึ่งประชาชนกรีกลำบากแสนสาหัสจากการกวาดล้างครั้งนั้น
ที่ไหนคือบ้านเกิด? ใครคือคนแปลกหน้า? คำถามถึงรูปลักษณ์ และเชื้อชาติ ดำเนินคู่ไปกับชีวิตที่ยาวนาน และหมองเศร้าของ Ayhse ซึ่งเป็นธีมหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ สถานที่อันสวยงามของภูมิภาคจากไอหมอกของทะเลดำและมวลเมฆที่ลอยเอื่อยเรี่ยยอดเขาสร้างบรรยากาศหมองหม่นให้กับความลับที่ถูกเก็บไว้ยาวนาน ที่ท้ายสุดแล้วจะนำเราให้เข้าถึงมุมลับอีกมุมหนึ่งของประวัติศาสตร์
พื้นหลังทางประวัติศาสตร์
Pontic (ภาษากรีก มีที่มาจากคำว่า euxinos pontos หมายถึง ทะเลดำ) คือ ชุมชนชาวกรีกที่ริเริ่มตั้งถิ่นฐานบนชายฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลดำ เมื่อ 3000 ปีก่อน และขยายไปยังชายฝั่งตอนเหนือ, ตะวันออก และตะวันตก ซึ่งกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามายังคาบสมุทรเอเชียตะวันตกนี้ มาจาก Militav ในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ได้สร้างเมือง Sinopi ซึ่งต่อมาได้รองรับผู้อพยพจาก Megare และ Athens ด้วย บรรดาเมืองใหม่รอบชายฝั่งทะเลที่เรียกว่า Pontic Greeks นี้ กลายเป็นจุดควบคุมเส้นทางการค้าที่สำคัญๆ แต่ต่อมาภายหลังดินแดนนี้ถูกชาวเปอร์เซียนครอบครอง อย่างไรก็ตาม ชาวกรีกก็กลับมาปกครองตนเองได้อีกครั้ง และใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจทางเศรษฐกิจของดินแดนนี้รุ่งเรืองถึงขีดสุด ในยุคสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และหลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ Mithridates (ราว 320 ปีก่อนคริสตกาล) ก็ได้ก่อตั้งรัฐ Pontic ยุคนี้โดยขยายอารยธรรมแบบกรีกไปยังดินแดนรอบข้าง ในช่วง 63 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรนี้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ส่งผลให้ชาว Pontic มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย และสงบสุข
ปี 1461 เมือง Trapezount ปราการสุดท้ายของจักรวรรดิถูกชาวเติร์กทำลายลง ชาวกรีกหลายพันคนจึงได้อพยพไปยัง Russia, Georgia, Armenia และ Kazakhstan บางส่วนหลบไปยังภูเขาในดินแดนลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเล พวกเขาก่อสร้างชุมชนขึ้นใหม่ เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ที่ซึ่งชาวกรีกจะได้รับการต้อนรับอย่างเต็มใจสืบมา จากเหตุการณ์นี้ ชุมชนที่สองของ Ponto-Greek เติบโตขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในรัสเซีย ที่ขยายตัวจนยิ่งใหญ่ แข็งแกร่ง ด้วยจำนวนของผู้อพยพมากมาย ในยุคการปกครองของออตโตมัน เฉพาะใน Russia มีชาว Pontic อาศัยอยู่ราวครึ่งล้านคน และหลังจากการอพยพในปี 1918 ตัวเลขก็เพิ่มขึ้นเป็น 650,000 คน ชาว Pontic Greek หลายคนถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา
ความรุ่งเรืองช่วงสุดท้ายของชาว Pontic Greek เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกชายฝั่งทะเลดำ กลุ่มคนผู้เป็นพ่อค้าเหล่านี้ได้สร้างโรงเรียน โรงละคร จัดการให้แต่งกายแบบประเพณีนิยม และตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เอง การยึดอำนาจโดยกลุ่ม Young Turks ในปี 1908 คือจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของชาวกรีก และชาวคริสต์ทั้งหมดในจักรวรรดิออตโตมัน กลุ่ม Young Turks ตั้งเป้าหมายสูงสุดของตนไว้ที่การแปลงจักรวรรดิออตโตมันด้วยอารยธรรมเติร์ก ชุมชนคริสต์ถูกทำลาย และบังคับให้เปลี่ยนศาสนา Kemal Attaturk ดำเนินการตามนโยบายจนสำเร็จตามแผนที่รู้จักกันดีว่า
คือ การปฏิวัติเพื่ออิสรภาพ โดยที่สนธิสัญญา Lausanne ในปี 1923 คือจุดจบของอารยธรรมกรีกที่สืบทอดในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่คงอยู่ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา ชาวกรีก 1,250,000 คนถูกเนรเทศกลับกรีซ ทุกคนที่พยายามเอาตัวรอดจากห่ากระสุนจนมาพบความสงบในดินแดนกรีซ, รัสเซีย, อาร์เมเนีย และอียิปต์ มีเพียงชาว Pontic ที่กลายเป็นมุสลิมยังคงอาศัยอยู่ที่เดิม ปัจจุบันนี้ พวกเขายังคงพูดภาษา Pontic มีรากฐานมาจากภาษากรีก และในวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันแห่งการรำลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก Pontic
เกี่ยวกับผู้กำกับหญิง เยซิม อุสตาโอกลู
หลังจากเธอกำกับหนังสั้นจนได้รางวัลมากมาย จึงสร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกคือ THE TRACE ในปี 1994 ซึ่งมีฉากอยู่ในหลายประเทศทั้งมอสโค และโกเต็นเบิร์ก และมาถึงภาพยนตร์เรื่องที่สองที่เธอได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก JOURNEY TO THE SUN ได้รับรางวัล Blue Angel Award for Best European Film and the Peace Film Prize at the 1999 Berlin Film Festival และยังไปกวาดรางวัลในเวที อิสตันบูล เฟสติวัล จากรางวัล winning Best Film and Best Director ในฐานะผู้กำกับหน้าใหม่และภาพยนตร์ใหม่ โดยผลงานเรื่อง Waiting for the Clouds เป็นผลงานลำดับที่สาม ซึ่งได้รับทุนบางส่วนและการสนับสนุนจาก Sundance/NHK International Filmmakers Award ในปี 2003 สาขายุโรป
เกี่ยวกับ รางวัล Sundance/NHK International Filmmakers Award
“ผมเชื่อว่า Sundance/NHK International Filmmakers Award
คือโปรแกรมที่สำคัญสำหรับภาพยนตร์นานาชาติในการสนับสนุนศิลปินหน้าใหม่
หรือใครก็ตาม ที่มันสำคัญก็เพราะ มุมมองใหม่ที่ถูกสร้างโดยคนรุ่นใหม่
ทำให้พวกเรายังคงมองชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ ต่อชีวิตและโลกนี้ได้
นั่นล่ะคืออะไรที่ยิ่งใหญ่สำหรับศิลปะ”
~โรเบิร์ต เรดฟอร์ด~
จุดมุ่งหมายและประวัติศาสตร์
Sundance/NHK International Filmmakers Award ถูกตั้งขึ้นในปี 1995 โดย สถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่น ร่วมกับ สถาบันซันแดนซ์ เพื่อเป็นเกียรติและสนับสนุนนักทำหนังที่โดดเด่นด้วยบทภาพยนตร์เรื่องใหม่ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลต้องมีแบบฉบับของตน ความสามารถ และวิสัยทัศน์ที่ดี ที่ทำให้เราค้นพบอนาคตของภาพยนตร์นานาชาติ โดยเลือกจาก สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ละตินอเมริกา และยุโรป สถาบันซันแดนซ์ ตั้งโดย โรเบิร์ต เรดฟอร์ด เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร
รางวัล
นักทำหนังแต่ละคนจะถูกเลือกจากบทเรื่องต่อไปและงานชิ้นก่อนๆ(ภาพยนตร์ขนาดยาวภาพยนตร์ขนาดสั้น มิวสิควิดีโอ ภาพยนตร์โฆษณา และ อื่นๆ) รางวัลทั้งหมด 10,000 ดอลล่าร์ส สหรัฐ เช่นเดียวกับการรับรองจาก NHK ที่จะซื้อสิทธิการฉายทางทีวีของภาพยนตร์เมื่อเสร็จสิ้น ผลงานที่ชนะจะถูกเชิญให้ร่วมเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ ที่ Park City ในเมืองยูท่าห์
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ