กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
ผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าองค์กรของตนพร้อมเดินหน้าแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลครั้งใหญ่ในอีกสองปีข้างหน้า
รายงานวิจัยชิ้นล่าสุดของ Forbes Insights ซึ่งจัดทำร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เรื่อง "How to Win at Digital Transformation: Insights from a Global Survey of Top Executives" (วิธีเอาชนะการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล: มุมมองเชิงลึกจากการสำรวจผู้บริหารระดับสูงสุดทั่วโลก) พบว่าองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังแซงหน้าภูมิภาคอื่นๆ ในการนำโครงการด้านดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ภายในองค์กร โดยข้อมูลจากการสำรวจระบุว่า 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าองค์กรของตนพร้อมเดินหน้าแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลครั้งใหญ่ในอีกสองปีข้างหน้า ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (49%) ถึง 6%
การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการสำรวจกับผู้บริหารระดับอาวุโสจำนวน 573 รายทั่วโลก ซึ่ง 34% อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งยังมีการพูดคุยแบบตัวต่อตัวกับผู้บริหารระดับสูงด้วย และจากผลการสำรวจพบว่าองค์กร (ไม่ว่าจะอยู่ภูมิภาคใดหรือในธุรกิจใดก็ตาม) กำลังได้รับแรงกดดันเกี่ยวกับการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที
มร.บรูซ โรเจอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารข้อมูลเชิงลึกของ Forbes Media กล่าวว่า ปัจจุบันการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดสำหรับองค์กรต่างๆ ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้คนและวัฒนธรรมยิ่งกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีด้วย
มร.มาร์ก แอบเล็ตต์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธานอาวุโส บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการแปรรูปคือข้อมูล ซึ่งเป็นทั้งผู้สร้างและผู้กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวขององค์กรด้านไอที โดยพบว่าการที่ไม่สามารถปลดปล่อยศักยภาพของข้อมูลออกมาได้นั้น ส่งผลให้องค์กรไม่สามารถก้าวสู่การแปรรูปได้อย่างเต็มที่ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงพร้อมให้การสนับสนุนการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลของลูกค้าอย่างเต็มที่ และเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ข้อมูลที่จะสร้างโอกาสให้กับองค์กรในการจัดการ ควบคุม ใช้ประโยชน์ เรียนรู้ และแปรรูปข้อมูลเชิงลึกให้เป็นการดำเนินการสำหรับธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผู้ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังก้าวสู่เส้นทางการเติบโตทางดิจิทัลมากกว่าภูมิภาคส่วนอื่นๆ ทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับ 5 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:
1. การกำหนดให้การแปรรูปองค์กรมีความสำคัญสูงสุดในเชิงกลยุทธ์: การสำรวจที่ดำเนินการร่วมกันระหว่าง Forbes Insights และฮิตาชิ ฯ ยืนยันให้เห็นว่าการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลถูกกำหนดให้เป็นความสำคัญอันดับแรกในเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคแห่งนี้ (60% ต่อ 50% ทั่วโลก) การให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลได้รับการสนับสนุนจากการบรรดาผู้บริหารที่เน้นด้านการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อเปิดทางให้กับการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลนั้นถือเป็นความสำคัญสูงสุดด้านการลงทุนในช่วง 2 ปีจากนี้ สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (65%) รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย (65%)
2. ผลลัพธ์ขององค์กรธุรกิจมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล (DX): โมเดลธุรกิจใหม่ๆ และคู่แข่งในธุรกิจถือเป็นตัวผลักดันที่สำคัญสำหรับ DX (โดยทั้งสองปัจจุบันนี้คิดเป็นสัดส่วน 42%) ตามด้วยเทคโนโลยีใหม่ (38%) และความคาดหวังของลูกค้า (33%) ซึ่งความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมก็เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของ DX ที่สำคัญยิ่งด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเลือกคำตอบนี้มากถึง 57% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ระดับ 46% ตามด้วยการเติบโตของรายได้หรืออัตรากำไร (54% ในเอเชียแปซิฟิกเทียบกับทั่วโลกที่ระดับ 46%) และการลดต้นทุน (49% ในเอเชียแปซิฟิกเทียบกับทั่วโลกที่ระดับ 43%)
อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหามากมายที่องค์กรต่างๆ ต้องรับมือและดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กันด้วย นั่นคือ:
3. ศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์: แม้ว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่ถึงครึ่งหนึ่ง (45%) จะมองว่าตัวเองเป็นผู้นำหรือผู้ก้าวหน้าด้านการใช้และการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ส่วนใหญ่ (95%) เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์โดยตรง และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังแซงหน้าทุกภูมิภาคด้วยสัดส่วน 39% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่ามีรายได้เพิ่มมากกว่า5% เมื่อใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 31% โดยมีเพียง 5% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากภูมิภาคนี้เท่านั้นที่เห็นว่าไม่มีผลกระทบหรือไม่แน่ใจว่าจะเกิดผลกระทบใดๆ การศึกษาครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ชัดเจนของการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับองค์กรธุรกิจในปี 2017ด้วยเช่นกัน
4. แนวคิดการมีส่วนร่วมทั้งองค์กรเพื่อมุ่งสู่ DX ต้องได้รับการปรับใช้: ปัจจุบันการเข้ามาส่วนร่วมของทีมงานข้ามสายงานยังมีไม่มากนักในการพัฒนา (40%) หรือเริ่มใช้กลยุทธ์ดังกล่าว (40%) โดยงานในส่วนนี้มักจะดำเนินการโดยฝ่ายไอทีเป็นหลัก (57% และ 59% ตามลำดับ) สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าไอทีมีความพร้อมอย่างเต็มที่สำหรับการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล ขณะที่มีเพียง 42% เท่านั้นที่มองว่าฝ่ายอื่นๆ ขององค์กรมีความพร้อมอย่างเต็มที่
5. องค์กรต้องเรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับทรัพยากรมนุษย์: เทคโนโลยีถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลยุทธ์ด้าน DXมาอย่างยาวนาน แต่สิ่งสำคัญที่งานวิจัยครั้งนี้ค้นพบก็คือ คนยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีถูกมองว่าเป็น1 ใน 3 ความท้าทายที่สำคัญสูงสุด (26%) และเป็นตัวสนับสนุนหลักต่อความสำเร็จในการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล (54%) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง (42%) ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้สนับสนุนสูงสุดลำดับที่2 ต่อความสำเร็จของ DX (เทียบกับคำตอบจากทั่วโลกที่มีเพียง 29%) นอกจากนั้น 'การขาดทักษะความสามารถ' ยังถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญยิ่งต่อการนำ DX มาปรับใช้ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (29%) ด้วย ดังนั้นองค์กรต่างๆ ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการแปรรูองค์กรสู่ระบบดิจิทัลจะต้องเข้าใจในบทบาทดังกล่าวว่า ความสามารถและทักษะมีบทบาทอย่างมากในเรื่องนี้และต้องแน่ใจให้ได้ด้วยว่าพวกเขามีบุคลากรที่เหมาะสมสำหรับงานดังกล่าวแล้ว
นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าความตระหนักถึงระบบคลาวด์และแนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) ก็กำลังเติบโตเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อถามถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล พบว่า 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเลือกให้ระบบคลาวด์มีความสำคัญสูงสุด (เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก) โดยมี 41% ที่เลือกแนวคิด IoT ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก10% อันส่งผลให้แนวคิด IoT มีความสำคัญสูงสุดเป็นอันดับที่2 สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเมื่อถามถึงลำดับความสำคัญในการลงทุนสูงสุด พบว่า 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเลือกเทคโนโลยี IoT เทียบกับค่าเฉลี่ยจากทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ระดับ 38%