กรมทะเบียนการค้าระบุ ”คาร์ฟูร์” วิ่งล็อบบี้ ขอแปลงสภาพ เป็นบริษัทต่างด้าว

ข่าวทั่วไป Thursday November 23, 2000 10:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--กรมทะเบียนการค้า
คาร์ฟูร์” วิ่งล็อบบี้กรมทะเบียนการค้า ขอแปลงสภาพ เป็นบริษัทต่างด้าวเปลี่ยนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 51% คาด 3 ปี ไฮเปอร์มาร ์เก็ต ผุดทั่วกรุงเทพฯ 100 สาขา ทั่วประเทศในกำมือ 4 กลุ่มยักษ์ใหญ่ คาร์ฟูร์-โลตัส-แม็คโคร-บิ๊กซี
ขณะที่มาตรการ คุ้มครองค้าปลีกไทยไม่คืบ นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า นายมาร์ค อัว แซง กรรมการผู้จัดการ และคณะผู้บริหารบริษัท เซ็นคาร์ ผู้บริหารกิจการไฮเปอร์มาร์เก็ต “คาร์ฟูร์” ได้เข้าหารือถึงการขอแปลงสภาพ เป็นบริษัทคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว โดยมีผู้ถือ หุ้นเกิน 51% ซึ่งสามารถกระทำได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการการประกอบธุรกิจคนต่างด้าวก่อน โดยบริษัทต้องเสนอเรื่องขอ เปลี่ยนแปลงสภาพมายังกรมทะเบียนการค้า ปัจจุบัน คาร์ฟูร์ลงทุนในไทยประมาณ 7,600 ล้านบาท โดยเป็นการถือหุ้นโดยคนไทย 4,500 ล้านบาท อีก 3,100 ล้านบาท เป็นการถือหุ้นโดยคนต่างชาติ ทำให้ธุรกิจของคาร์ฟูร์ยังเป็นของคนไทย
กรมทะเบียนการค้าสนับสนุน หากมีการเข้าลงทุนจากต่างชาติ และค้าปลีกมีการแข่งขันกันจริงก็เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แต่ต้องแข่ง ขันในสิ่งที่เท่าเทียมกัน และใครก็ตามที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย ควรอยู่ภายใต้พื้นฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อนักลงทุน” นายอดุลย์กล่าว สำหรับสถานการณ์การค้าปลีกในไทยนั้น ผู้บริหารคาร์ฟูร์ระบุ ว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า ในเขตกรุงเทพฯ จะมีไฮเปอร์มาร์เก็ตประมาณ 100 สาขา โดยจะแข่งขันกันใน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มคาร์ฟูร์ เทสโก้ แม็คโคร และบิ๊กซี
นายอดุลย์กล่าวอีกว่า สมาคมเครื่องเขียนไทยได้เข้าร้องเรียน กรณีบริษัท บิค จากฝรั่งเศส ผู้ผลิตและจำหน่ายปากกายี่ห้อ “บิค” จะตั้งสำนักงานในไทย เพื่อนำเข้าสินค้าฝรั่งเศสมาจำหน่าย ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กในประเทศ ทั้งนี้จะเชิญตัวแทนสมาคมเข้า หารือในวันที่ 24 พ.ย.
วันเดียวกัน กรมทะเบียนการค้าเชิญตัวแทนจากกรมการค้าภาย ใน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร หารือถึงแนวทางการคุ้มครองค้าปลีกราย ย่อยของคนไทย ซึ่งที่ประชุมจะหารือผลการศึกษาของแต่ละหน่วยงานอีก ครั้ง โดยขณะนี้มีการตั้งคณะทำงาน 2 คณะ เกี่ยวกับด้านกฎหมายและ ระบบการค้าปลีก คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน หลังจากนั้นจะหารือร่วมกับกรมการผังเมือง ซึ่งได้แบ่งเขตผังเมืองเป็น 116 พื้นที่ เพื่อดูว่าหาก เปิดให้ธุรกิจค้าปลีกลงทุน จะต้องกำหนดพื้นที่การอนุญาตอย่างไรไม่ให้เกิด ผลกระทบในวงกว้าง--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ