กรุงเทพฯ--8 ก.พ.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
• ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของงาน COP22
• ต่อยอดคำมั่น มุ่งสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน จาก COP21 สู่การเข้าร่วมโครงการ "เป้าหมายพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์"
• ผู้บริหารระดับสูงของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยขับเคลื่อนการอภิปรายใน COP22 อย่างจริงจัง เพื่อแสดง นวัตกรรมในทุกระดับ
หลังจากที่ COP21 ได้ปักธงไปเรียบร้อยในกรุงปารีส ช่วงธันวาคมปี 2015 ที่ผ่านมา กับการลงนามความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นเอกฉันท์ในระดับสากล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในการตอกย้ำให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน ที่งานประชุมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงมาราเกซ (COP22) จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ช่วงวันที่ 7 – 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในฐานะพันธมิตรในการจัดกิจกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
บนเส้นทางสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน : อัพเดตคำมั่นสัญญาใน COP21
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รักษาคำมั่นสัญญาอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยในเดือนพฤศจิกายน 2015 ก่อนงาน COP21 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ต่อยอดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางด้านคาร์บอนสำหรับตัวบริษัทฯ เองและระบบนิเวศภายใน 15 ปีข้างหน้า ผ่านผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น การวิจัย และพัฒนา รวมถึงการดำเนินงานในส่วนอุตสาหกรรม และในปีถัดมา กลุ่มธุรกิจของชไนเดอร์ได้มีการอัพเดตความคืบหน้าของคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ทั้ง 10 ประการ
- มั่นใจว่าสามารถหาจำนวนผลกระทบ CO2 ได้ 100 เปอร์เซ็นต์จากโครงการใหม่ขนาดใหญ่ของลูกค้าเผยแพร่ในไตรมาสที่ 4 ปี 2016
- ออกแบบการนำเสนอใหม่ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วย ecoDesign Way™ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยที่ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ผลิตภัณฑ์มาจากฉลากสิ่งแวดล้อม Green Premium™ (2015 – 2017) ecoDesign Way: 46% Green Premium: 66.3%
- หลีกเลี่ยง CO2 จำนวน 120,000 ตัน จากบริการวงจรเศรษฐกิจตลอดอายุการใช้งาน "end-of-life" (2015-2017) ลด CO2 ได้ 83,485
- อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแสงสว่าง และการสื่อสาร ด้วยโซลูชั่นคาร์บอนต่ำ สำหรับประชากร 50 ล้าน ที่ฐานของพีระมิดในระยะเวลา 10 ปี (2015 - 2025) เผยแพร่ในไตรมาส 4 ปี 2016
- นำความริเริ่มด้านสตอเรจมาดำเนินการ เพื่อพัฒนาที่จัดเก็บสำหรับพลังงานทดแทนและโครงข่ายไฟฟ้าย่อย (มินิกริด) (ตั้งแต่ปี 2015) นำเสนอ อีโคเบลด ในเดือน ธันวาคม 2015
- แก้ปัญหาประเด็น SF6 (2015-2025) ด้วยทางเลือกใหม่ใน 5ปี และกำจัด SF6 (2015-2020) จากผลิตภัณฑ์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ภายใน 10 ปี (2015-2025) กำลังคืบหน้า และน่าจะเสร็จก่อนกำหนด
- ลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานในส่วนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ลง 3.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ลดได้ 5.9% (ตั้งแต่ช่วงปลายปี2014)
- ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก CO2 3.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี (จากปี 2015) ลดได้ 8.5% (ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2014)
- ลงทุน 1 หมื่นล้านยูโร ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม บนความยั่งยืน ในอีก 10 ปี 2015 - 2025เผยแพร่ในไตรมาส 4 2016
- ออกพันธบัตรสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาในการลด CO2 ทั่วหน่วยธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริคออกมาในเดือนพฤศจิกายน 2015
ในปี 2016 ที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เข้าร่วมโครงการเป้าหมายพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Targets) เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก ตามคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ในการจำกัดภาวะโลกร้อน ให้อยู่สูงสุดแค่ 2 องศา นี่เป็นความคิดริเริ่ม ที่ได้รับการสนับสนุนร่วมจากโครงการ CDP (Carbon Disclosure Project) ซึ่งเป็นข้อตกลงโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ สถาบันทรัพยากรโลก และ WWF (World Wide Fund for Nature) หรือองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ที่เรียกร้องให้หน่วยงานธุรกิจพัฒนาวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับเรื่องจำกัดภาวะโลกร้อนที่ "2 องศา" ในแนวทางเดียวกับข้อตกลง ณ กรุงปารีส
เพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมายพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ชไนเดอร์ อเล็คทริค ได้นำประเด็นต่อไปนี้มาเพื่อดำเนินการ
- การลด CO2 ทั้งหมดลง 35 เปอร์เซ็นต์ ในขอบเขตที่ 1 และ 2 ให้ได้ภายในปี 2035 (ใช้ปี 2015 เป็นฐาน)
- การลด CO2 ทั้งหมดลง 53 เปอร์เซ็นต์ ในขอบเขตที่ 1 และ 2 ภายในปี 2050 (ใช้ปี 2015 เป็นฐาน)
เหล่านี้นับเป็นเป้าหมายขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับกลุ่มธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อให้สอดคล้องกับการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน 2.01 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี จากปี 2015 โดยจะต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน สำหรับทั้งชไนเดอร์ อิเล็คทริค และระบบนิเวศ ภายในปี 2030 โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านคาร์บอนขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคำมั่นสัญญาเหล่านี้