กรุงเทพฯ--9 ก.พ.--การยางแห่งประเทศไทย
การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยสถานการณ์ราคายางในปัจจุบัน ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา และราคาที่กาลังลดลงในขณะนี้ถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด พร้อม นัดประชุมทั้ง 3 ภาคส่วนแก้ปัญหาราคาน้ายางสด แนะเกษตรกรสามารถกระจายความเสี่ยง ปลูกพืชอื่นเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคายางได้ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากอุปทานยางในประเทศผู้ผลิตยางลดลง ในขณะที่ความต้องการของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ โดยมีหลายสาเหตุที่ทาให้ผลผลิตลดลง ทั้งจากนโยบายชะลอการส่งออกด้วยการควบคุมปริมาณยางของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ ในปี 2559 ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณยางหายไปจากตลาดซื้อขายโลก ประมาณ 7 แสนตัน ประกอบกับภาวะฝนตกหนักและน้าท่วมขังในภาคใต้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 จนถึงเดือนมกราคม 2560 เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยาง ต้นยางได้รับความเสียหาย ปริมาณผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลงประมาณ 3 - 4 แสนตัน นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมายังมีปัจจัยบวกสนับสนุนให้ราคายางพุ่งสูงขึ้นอีกหลายปัจจัย ได้แก่ ประเทศจีนซึ่งเร่งซื้อยางเพื่อนาไปผลิตเป็นล้อยางส่งไปสหรัฐฯ ก่อนที่สหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีนาเข้าตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ทาให้ราคาสูงขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาดในช่วงขณะนั้น ซึ่งสภาวะที่ราคายางพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วนี้ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ ดังนั้น เมื่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ผลผลิตยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ราคายางมีการปรับตัวลดลงซึ่งถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด
ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีราคาน้ายางสดที่มีความผันผวนมากนั้น เนื่องจากราคายางกาลังกลับเข้าสู่กรอบราคาตามภาวะปกติ เพราะสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เริ่มคลี่คลาย เกษตรกรสามารถกรีดยางได้ ประกอบกับช่วงนี้ของทุกปีเป็นฤดูกาลที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ายางมากอยู่แล้ว ดังนั้น ผลผลิตในตลาดจึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา รวมถึงในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี ราคายางอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยราคาจะลดลง เพราะประเทศผู้ซื้อจะหยุดการทางานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่รับซื้อยางพารา แรงงาน ตลอดจนระบบขนส่งต่างๆ อาจเป็นสาเหตุให้ราคาน้ายางสดมีการปรับราคาลงบ้าง
"อย่างไรก็ตาม กยท. ได้เร่งแก้ไขปัญหา เพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่างระหว่างผู้แทนเกษตรกรผู้ประกอบการ ซึ่งผลการหารือเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจสาหรับทุกฝ่าย โดย กยท.จะจัดตั้งตลาดกลางน้ายางสด เพื่อเพิ่มจุดรับซื้อ ขาย และ สะท้อนราคาในท้องถิ่นที่แท้จริง ซึ่งนายกสมาคมผู้ประกอบการน้ายางในท้องถิ่น ยืนยันพร้อมเข้าร่วมสนับสนุน ในขณะเดียวกัน กยท. จะเร่งส่งเสริมด้านแปรรูปยางพาราในพื้นที่ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งาน โดยริเริ่มโครงการ พี่ช่วยน้อง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งเป็นพี่เลี้ยง และรับซื้อน้ายางสดจากกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เพื่อไปแปรรูปเป็นสินค้าขั้นกลาง และขั้นปลาย และ กยท. จะสนับสนุนด้านทุน และองค์ความรู้ พร้อมทั้งช่วยหาตลาด นอกจากนี้ เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทางานจากการพืชเชิงเดี่ยว (ปลูกยางอย่างเดียว) ไปเป็นการปลูกพืชผสมผสาน หารายได้จากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ทดแทนการเรื่องยางเพียงอย่างเดียว และที่สาคัญ ภาคเกษตรกร จะต้องมีการส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เช่น การปลูกพืชผสมผสาน เสริมรายได้ในสวนยาง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นแนวทางแก้ปัญหาแบบไตรภาคี เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน คาดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น" ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย