กรุงเทพฯ--23 ก.พ.--กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงาน ร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทย เผยความสำเร็จหลังจุดประกายโครงการสร้างเมืองอัจฉริยะต้นแบบเป็นครั้งแรก ได้รับการตอบรับจากภาครัฐและเอกชนที่ตระหนักในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เข้าร่วมประกวดถึง 36 โครงการฯ ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1 ทั้งสิ้น16โครงการ
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ กระทรวงพลังงานและมูลนิธิอาคารเขียวไทย ได้เชิญชวนไปยังทุกภาคส่วนเพื่อสมัครเช้าร่วมประกวดแผนงานในโครงการสร้างเมืองอัจฉริยะต้นแบบ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่มจัดโครงการในลักษณะนี้ ผลปรากฏว่าได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนเกินความคาดหมาย ที่ตระหนักในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า สมัครเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ถึง 36 โครงการ โดยมีผู้ผ่านขั้นตอนที่1 จำนวนทั้งสิ้นถึง 16 โครงการ
จากการที่ กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทย เดินหน้าพัฒนาโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อพัฒนาชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะต้นแบบ เชื่อมโยงการใช้พลังงานในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การเป็น Smart Cities-Clean Energy เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน ร่วมโครงการออกแบบและพัฒนาเมือง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบและโครงสร้างของเมืองการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ประเมินเกณฑ์และจะประกาศให้ย่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการออกแบบเมืองอัจฉริยะ
ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบหลัก คือ การจัดรูปเมืองและโครงสร้างพื้นฐานหลักของเมือง เช่น โครงสร้างระบบขนส่ง ระบบราง การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยังเป็นการร่วมส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์อีกด้วย โดยผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ จะได้แนวทางในการพัฒนาเมืองของชุมชน ที่มีผลต่อการลดความต้องการพลังงาน และการใช้พลังงานสูงสุด ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเกิดการเรียนรู้ด้านพลังงานสู่ชุมชนผ่านกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผู้ที่สนใจส่งผลงานเพื่อประกวดในขั้นตอนที่ 1 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 36 โครงการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาในเรื่องConceptual & Urban Planning มีผู้ผ่านขั้นตอนการพิจารณา จำนวนทั้งสิ้น 16 โครงการ ดังนี้
1. ชุมชนรองรับการขยายตัวเขตชานเมือง ต.เสาธงหิน จ.นนทบุรี (เมืองใหญ่)
2. NIDA Smart Compact City
3. ราชบุรี สมาร์ท อินดัสเตรียล ซิตี้
4. โครงการขอนแก่น SMART City
5. H.I.P Smart City
6. MSU SMART CAMPUS
7. เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง
8. CMU Smart City-Clean Energy
9. วิสซ์ดอม101
10. ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : เมืองต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
11. เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ
12. SIAM SMART CITY
13. สุวรรณภูมิ สมาร์ท ซิตี้
14. EGAT ECO PLUS
15. โครงการพญาไท โครงการร่วมพัฒนาผังเมืองพญาไทวิถีไท เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
16. มหาวิทยาลัยสุรนารี : สุรภิวัฒน์มัชฌมาธานี
ทั้งนี้ ลำดับขั้นตอนต่อไปผู้เข้ารอบทั้ง 16 โครงการนี้ จะต้องจัดทำผังแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Development Master Plan) จัดทำแบบรายละเอียดเบื้องต้น (Schematic design) ประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้น รายงานการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยข้อเสนอที่เป็นแนวคิดที่ดีที่สุดและได้รับการคัดเลือกเหลือ 7 โครงการ โดยจะได้รับเงินสนับสนุนสำหรับใช้ในการดำเนินการขั้นต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันอาคารเขียวไทย E-mail : Smartcities.th@gmail.com หรือ