IRC ผนึกกำลังอาชีวศึกษา สร้างงาน สร้างอนาคต สนับสนุนโครงการทวิภาคี ปั้นเด็กอาชีวะจนสำเร็จ ก้าวสู่Thailand 4.0

ข่าวทั่วไป Monday March 6, 2017 18:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--Triple J Communication นางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล ประธานกรรมการ บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ IRCและประธานกลุ่มบริษัท IRCT ผนึกกำลังอาชีวศึกษา ร่วมกับ ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการอาชีวศึกษา และนายสุรัตน์ จั่นแย้ม ที่ปรึกษาศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี สร้างงาน สร้างอนาคต สนับสนุนโครงการทวิภาคี ปั้นเด็กอาชีวะจนสำเร็จ ก้าวสู่ Thailand 4.0 นางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล กล่าวภายหลังเปิดงาน "IRCT GROUP : STEP TO THAILAND 4.0 WITH THE DVE"ว่า จากความมุ่งมั่นสู่ Thailand 4.0 ภาครัฐได้มีนโยบายด้านการสร้างสรรค์และพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงสุด อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อ Thailand 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษากลุ่มอาชีวะที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนี้ จึงก่อเกิดเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกลุ่มบริษัท IRCT ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท อิโนแอค โตไก (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งโครงการทวิภาคี ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพ นำเสนอผลงานการเรียนรู้ภายหลังจบหลักสูตร IRC จึงได้จัดงานนี้ขึ้น โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักศึกษาเข้ามาในระบบทวิภาคี จำนวน 26 ราย จาก 3 สถาบันการศึกษา ซึ่งแบ่งตามสาขา ได้แก่ สาขาช่างไฟฟ้า จำนวน 9 ราย จากวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ / สาขาเทคนิคการผลิต จำนวน 4 ราย จากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี และสาขาแมคคาทรอนิกส์ จำนวน 13 ราย จากวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ โดยมีการจัดสรรนักศึกษาจากสาขาต่างๆ เข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการเรียนอย่างสูงสุด สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ในอาชีพหรือการศึกษาต่อไปในอนาคต นางพิมพ์ใจ กล่าว ภายในงาน ได้รับเกียรติจาก ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการอาชีวศึกษา กล่าวเปิดงานและให้เกียรติเข้าร่วมชมนิทรรศการ การนำเสนอผลงานของนักเรียนอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนมอบเงินรางวัลแก่ 4โครงการที่มีผลงานโดดเด่น ได้แก่ "การประดิษฐ์เครื่องม้วนยางอัตโนมัติ" แทนการใช้แรงงานคน โดยกลุ่มนักศึกษาสาขางานแมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน ได้แก่"เครื่องคัดแยกขนาดเม็ดยางสีสังเคราะห์" โดยกลุ่มนักศึกษาสาขาเทคนิคการผลิต วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี "การประดิษฐ์ไฟฉาย LED" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นท่อ โดยกลุ่มนักศึกษาสาขางานแมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ และ "การประดิษฐ์เสื้อเตือนภัยสำหรับตรวจจับกระแสไฟฟ้า" ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย โดยกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาไฟฟ้ากำลังและสาขางานไฟฟ้าควบคุม วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ เป็นต้น การจัดงานนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการตอกย้ำเป้าหมายในการสนับสนุนการสร้างคน สร้างงาน พัฒนาชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยสู่โมเดล Thailand 4.0 ร่วมกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ