กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--IR network
สุดภูมิใจฝีมือคนไทยรัอยเปอร์เซ็นต์-พร้อมกัาวสู่ไทยแลนด์ 4.0 อินฟอร์เมติกซ์พลัส บริษัทลูก UPA จับมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่เทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ "Biometric" ทั้งใบหน้า-ม่านตา-ลายนิ้วมือ มีความเร็วสูงสุดถึง 3.5 ล้านภาพใบหน้าต่อวินาทีสุดภูมิใจเพราะเป็นนวัตกรรมสายพันธุ์ไทย 100% พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้านผู้บริหาร "สุวัฒน์ อินมุตโต" ระบุช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ เพื่อสร้างความรู้ ให้คำแนะนำแนวทางการพัฒนาด้านบุคลากร การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย ด้วยเทคโนโลยีเทียบชั้นต่างประเทศ
นายสุวัฒน์ อินมุตโต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟอร์เมติกซ์ พลัส จำกัด บริษัทลูกของ บมจ.ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย (UPA) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ คณะวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สนับสนุนการนำเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ (Biometric) Biovii ประกอบด้วย 1.ภาพใบหน้า (Face Recognition System), 2.ภาพม่านตา (Iris Recognition System) และ 3.ลายนิ้วมือ (Fingerprint Recognition System) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตเป็นคนไทยทั้งหมด ตั้งแต่ระดับ อัลกอริธึม ที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดของ ซอฟต์แวร์ รวมถึงกระบวนการผลิตระบบที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยที่มีคุณภาพและความเร็วดีกว่าต่างประเทศในหลายผลิตภัณฑ์ทำให้ประเทศไทยประหยัดงบประมาณในการซื้อองค์ความรู้ต่างประเทศนับหลายร้อยล้านบาท
นอกจากนี้ Biovii ยังมีความโดดเด่นด้วยความสามารถในการ ตรวจจับ บันทึก ภาพใบหน้า ของบุคคลที่ผ่านเข้าออก อาคาร สถานที่ มีความเร็วสูงสุดถึง 3.5 ล้านภาพใบหน้าต่อวินาที สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบยืนยันตัวบุคคล งานรักษาความปลอดภัย เก็บข้อมูลบุคคลต่างด้าว แรงงานด่างด้าวและยืนยันตัวตนด้วยภาพใบหน้าได้ ตลอดเป็นระบบ Cloud Based ที่สมบูรณ์ที่พร้อมเปิดให้บริการแล้ว สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.biovii.com หรือ https://www.youtube.com/watch?v=5z2E6teCbPc&feature=youtu.be
"บริษัทฯ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยฯ ผลิต Solution เป็น Products ที่ตอบโจทย์ทางด้านความมั่นคง ด้านแรงงานต่างด้าวและภาคธุรกิจ เช่น ธุรกิจโรงแรม อาคารสำนักงาน ธุรกิจบริการ ธนาคารและศูนย์บริการต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ และเปิดโอกาสให้แก่ นักศึกษา ได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบรวมทั้งได้ร่วมกันศึกษาและวิจัย นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายนำไปสู่การพัฒนาประเทศด้าน Biometric อย่างยั่งยืน และเตรียมเปิดให้บริการกับ ต่างประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศไทย ต่อไป" นายสุวัฒน์ กล่าวในที่สุด
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพล ลีลาเกียรติสกุล คณะวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศทิศทางของประเทศไทยในอนาคต จะต้องเป็น ประเทศไทย 4.0 ด้วยแนวคิด Value–Based Economy หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านเทคโนโลยี ของคนไทย ที่คุณภาพดีกว่าและไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยีด้าน Biometric ซึ่งเป็นนวัตกรรมของคนไทย 100% มาร่วมมือสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์ ในการระบุตัวตนมุ่งเน้นชาวต่างประเทศ ที่อยู่ในประเทศ จำนวนมากถึง 3 ล้านคน และแอบแฝงอยู่จำนวนมาก โดยที่เป็นการสนับสนุนนโยบายหลักของรัฐบาลและเป็นนวัตกรรมไทยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย