กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟย้ำฟาร์มเลี้ยงไก่ทุกแห่งทั้งของบริษัทฯ และ ปฏิบัติต่อแรงงานตามหลัก GLP ล่าสุด ฟาร์มเลี้ยงไก่ในโครงการส่งเสริมอาชีพ CPF เข้ารับประกาศนีบัตร ฟาร์มเลี้ยงไก่ดูแลแรงงานตามหลักปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี (GLP: Good Labour Practice) จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ที่เพิ่มเรื่องการดูแลสวัสดิภาพแรงงาน
นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างเสริมศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ โดยผลักดันให้ฟาร์มของบริษัทฯ และของเกษตรกร (Contract Farming) มีการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปีนี้ เกษตรกรเจ้าของฟาร์มไก่เนื้อ 1,296 แห่งได้รับประกาศนียบัตรจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่า เป็นฟาร์มที่มีการนำหลัก GLP ไปใช้ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างถูกต้อง
เกษตรกรที่อยู่ในโครงการส่งเสริมอาชีพของซีพีเอฟทั้ง 1,296 แห่งจะเข้ารับประกาศนียบัตรฟาร์มไก่เนื้อที่ปฏิบัติต่อแรงงานตามหลัก GLP จากอธิบดีกรมส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในวันพุธ ที่ 15 มีนาคมนี้ ที่กระทรวงแรงงาน
ตลอดปี 2559 ที่ผ่านมา ซีพีเอฟร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดอบรมการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับฟาร์มและสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก แก่เกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพ ปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานตามหลัก GLP จนครบทุกแห่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานในฟาร์มกว่า 5,000 คนซึ่งประกอบด้วยแรงงานต่างชาติประมาณ 350 คน และบริษัทฯ ยังจัดทีมเข้าไปให้คำแนะนำกับเจ้าของฟาร์มอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจนำแนวปฏิบัติตามหลัก GLP ปีก ใช้ในการบริหารจัดการด้านแรงงาน ปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และมาตรฐานสากล
"การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานในฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังรองรับการปฎิบัติตามมาตรฐานฟาร์ม GAP (Good Agriculture Practices) ของกรมปศุสัตว์ที่ได้เพิ่มเรื่องการดูแลสวัสดิภาพแรงงาน การไม่ใช้แรงงานทาส แรงงานผิดกฏหมาย และแรงงานเด็กอีกด้วย" นายปริโสทัต กล่าว
ในปี 2560 นี้ ซีพีเอฟยังได้จัดคณะทำงานเพื่อเข้าไปทวนสอบการปฏิบัติต่อแรงงานในฟาร์มของเกษตรกรทุกแห่งให้ครบทุกแห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมฟาร์มไก่เนื้อมีการดำเนินงานตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ ซึ่งได้บรรจุการดูแลสวัสดิภาพแรงงานตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าทั่วโลกต่อตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อของไทยมีการดูแลแรงงานตามมาตรฐานสากล บริษัทฯ อยู่ระหว่างนำ มาตรฐานแรงงานไทย หรือ มรท. (Thai Labour Standard: TLS 8001-2010) มาประยุกต์ใช้ในฟาร์มไก่เนื้อของบริษัทฯ สอดคล้องกับที่โรงงานแปรรูปไก่ที่ได้รับรองมาตรฐานแรงงานระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด โดยเตรียมความพร้อมฟาร์มเข้าสู่กระบวนการขอการรับรองมาตรฐานแรงงานจากกระทรวงแรงงานภายในปี 2560 นี้อีกด้วย./