NIDA Poll การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล

ข่าวทั่วไป Friday March 10, 2017 13:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 มีนาคม 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปกระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ (ยกเว้นประชาชนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตการปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี) รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหลักของการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.60 ระบุว่า เป็นการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้ระบบพวกพ้อง เน้นประโยชน์ส่วนตนมากกว่า รองลงมา ร้อยละ 37.49 ระบุว่า บุคลากรไม่มีประสิทธิภาพ ขาดผู้นำที่ดี ทำงานที่ล่าช้า ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ ร้อยละ 31.10 ระบุว่า ขาดการตรวจสอบความโปร่งใส ร้อยละ 29.82 ระบุว่า เป็นการของบประมาณโครงการที่เกินความจำเป็นและความต้องการ บางโครงการ ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 27.26 ระบุว่า ขาดงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น ร้อยละ 24.38 ระบุว่า ขาดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 22.30 ระบุว่า ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ร้อยละ 18.39 ระบุว่า เป็นการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 17.43 ระบุว่า ขาดการมีส่วนร่วมกับประชาชน ร้อยละ 12.23 ระบุว่า อบต. ไม่มีปัญหาการบริหารจัดการ และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการควบรวมยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.10 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ อบต. มีจำนวนมากเกินไป สิ้นเปลืองงบประมาณ การทำงานล่าช้า มีการทุจริต ทำงานซ้ำซ้อนกับเทศบาล บางชุมชนไม่มี การพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม การยกระดับหรือการควบรวมเป็นเทศบาล น่าจะบริหารจัดการได้ง่ายและสะดวกขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในเรื่องของบุคลากร การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น ช่วยให้การพัฒนาท้องถิ่นเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ ร้อยละ 19.42 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ การกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นโดยให้ อบต. น่าจะดูแลง่าย ทั่วถึง และประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากกว่า หากมีการควบรวม กังวลว่าระบบการทำงานจะมีความซ้ำซ้อนและการติดต่อรปะสานงานยุ่งยากขึ้นกว่าเดิม หากควบรวมไปแล้ว การทุจริจตคอร์รัปชั่น ประสิทธิภาพ และระบบการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม องค์กรเทศบาลใหญ่ขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณกว่าเดิม และควรมีเงื่อนไขในการพิจารณาการควบรวมที่ชัดเจนมากกว่านี้ และร้อยละ 8.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการควบรวม อบต. ที่เหมาะสมที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.04 ระบุว่า ให้ อบต. ขนาดเล็กพื้นที่ใกล้เคียงกันรวมกันเองแล้วยกฐานะเป็นเทศบาล รองลงมา ร้อยละ 34.77 ระบุว่า ให้ อบต. ขนาดเล็กพื้นที่ใกล้เคียงกันให้ควบรวมกับเทศบาล ร้อยละ 5.12 ระบุว่า ไม่ควรควบรวม อบต.ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้คงไว้เช่นเดิม และร้อยละ 10.07 ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.86 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง (ยกเว้นเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี) ร้อยละ 20.22 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 35.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 15.51 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.76 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.16 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.39 มีอายุ 18 – 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 15.99 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.74 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 37.89 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 16.87 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ ร้อยละ 1.12 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 94.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.60 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.28 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 21.58 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.10 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.72 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 30.22 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.98 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.15 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.06 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.36 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.51 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.07 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.98 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 20.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.67 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.75 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.32 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.31 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.58 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.67 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.83 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.31 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า   อบต.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ