ผลของอินเตอร์เน็ต ในสังคมไทย ทำให้เกิดการ แบ่งแยกทางชนชั้น

ข่าวทั่วไป Friday October 6, 2000 14:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลกระทบของอินเตอร์เน็ตในสังคมไทย มีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ โดยต้องปรับให้เข้า กับวัฒนธรรมไทยด้วย อย่ามัวตามก้นอเมริกา เพราะยิ่งตามมาก อเมริกาก็จะยิ่งรวย จากการขายสินค้าด้าน IT อีกทั้งยังส่ง ผลเสียทำให้ เกิดการ แบ่งด้านชนชั้น คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา ทางวิชาการเรื่อง "วิพากษ์ผลกระทบ ของอินเตอร์เน็ต ในสังคมไทย วาทกรรม ฟองสบู่ และจักวรรดินิยม" ณ ห้อง 103 ชั้น 1 ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว รองคณบดี ฝ่ายอำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มธ. กล่าวว่า วาทกรรม (Discourse) หมายถึง ระบบ กระบวนการสร้าง ผลิต เอกลักษณ์ ความสำคัญ หรือความหมาย ให้สิ่งที่มีอยู่ล้อมรอบตัว สามารถดำรงอยู่ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งถือว่า เป็นวาทกรรมหลัก เพราะมันมีลักษณะพิเศษคือ สามารถครอบงำ และทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้ว หายไป (Michael Foulcauel) เป็นหลักการณ์ที่นำมา วิเคราะห์ปรากฎการณ์กว้างๆ ในสังคม โดยไม่บอกมาว่า มันเป็น คืออะไร แต่จะสืบค้นว่ามันเป็นอย่างนั้น ได้อย่างๆ ไร เป็นการฉุกคิด ทำไมต้องเป็นแบบนั้น
ดร.สมสุข หินวิมาน อาจารย์ประจำ คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ม.ธ. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ผู้ที่จะใช้ อินเตอร์เน็ตได้ ต้องมีปัจจัยประกอบ คือ เพศ วัย ชนชั้น โดยผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ เป็นพวกนิสิตนักศึกษา และพวก yuppy (พวกเริ่มต้นวัยทำงานไม่เกินอายุ 30 ปี) โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะสามารถเรียนรู้ ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าวัยผู้ใหญ่ ซี่งโดยหลักจะใช้ในวงคนชั้นกลาง ส่วนประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นใช้เพื่อ 1. เป็นการรองรับวัฒนธรรมข่าวสาร เพื่อเติมเต็มการเข้าสู่สังคมข่าวสาร 2. ใช้เพื่อดำรงสถานภาพของตน ต้องมีการแสดงอัตลักษณ์ออกมา (เราคือใคร) 3. เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะ 4. เพื่อหลีกหนีจากโลกที่จำเจ
สำหรับผลกระทบ ที่อินเตอร์เน็ตมีต่อ สังคมไทยนั้น สามารถมองได้ 3 พวก คือ
1. พวก Globalization (โลกานุวัตน์) พวกนี้เชื่อว่าเทคโนโลยี จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ของสังคมและย่นย่อ time & space (เวลา และระยะทาง) นอกจากนี้ยังช่วยบ่งชี้ความเจริญ
2. พวก Anti-Internet จะมองว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับบริษัทข้ามชาติ และพยายามครอบงำ ประเทศโลกที่สาม
3. จะเป็นพวกผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมต่างประเทศกับวัฒนธรรมไทย เช่น chan kin kao (ฉันกินข้าว) ถึงอินเตอร์เน็ตจะเป็นสื่อใหม่แต่ใหม่ เฉพาะตัวสื่อ แต่วัตถุดิบที่เข้ามาอยู่ในตัวสื่อ ยังเป็นแบบดั่งเดิม อย่างการเล่น chat บนอินเตอร์เน็ต ก็เปรียบเสมือนสภากาแฟ
รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ขันตี รองผ.อ. โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มธ. กล่าวถึง ธุรกิจ E-Commerce (พาณิชอีเล็กทรอนิกส์) ว่า ผู้ประกอบการประเภทนี้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เนื่องจากไม่ใช้กระดาษ ซึ่งส่งผลต่อสังคมทางอ้อม เมื่อไม่ใช้กระดาษ ก็ลดการตัดต้นไม้ ลดเรื่องมลพิษ ลดเรื่องการเดินทางลง โดยใช้อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือ ในการสื่อสาร สำหรับประโยชน์นั้น มีผลโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะต่อไปอำนาจ จะเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้น โดยจะเกิดการแข่งขัน ระหว่างสินค้า ซึ่งก็จะมีทั้งผู้ชนะ และผู้ที่ล้มเหลว แต่รวมๆ แล้วประโยชน์จะตกอยู่ ที่ผู้บริโภค E-Commerce นั้นมีส่วนทำให้เกิดฟองสบู่ แต่ไม่มากนัก และไม่น่าวิตกกังวลจนเกินไปนัก
สำหรับจักวรรดินิยม เมื่อมีผู้คน ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น จะทำให้ตกเป็นทาส ทางเทคโนโลยีกลายๆ แต่ก็ทำให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีการสำรวจคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการ แบ่งแยกทางชนชั้น ซึ่งเรียกว่า Digital Divice ในเรื่องการศึกษา รายได้ สีผิว ประมาณเกือบ 50 % ของชาวอเมริกัน ใช้อินเตอร์เน็ต ถ้าเฉลี่ยทั่วโลกมีคนใช้เพียง 5.7 % สำหรับประเทศไทย ใช้อินเตอร์เน็ต ประมาณ 1 % เศษๆ ดังนั้นประเทศสหรัฐอเมริกา จึงพยายามส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆ ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อประเทศตนจะได้รับผลประโยชน์ เพราะการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ มาจากการขายสินค้าด้าน IT (Information Technology), Network, E-Commerce, Software สำหรับการจดทะเบียน Domain name เดิมใช้เป็นอักษรโรมัน คือพวก ดอชคอม ถึงแม้จะมีบางประเทศพยายาม เปลี่ยนให้เป็นภาษาของตนก็ตาม แต่ประเทศเหล่านั้น ก็ยังต้องจ่ายค่า ISP ให้อเมริกา ซึ่งถึงแม้ อินเตอร์เน็ตจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา พัฒนาเร็วขึ้น แต่ก็ไม่สามารถพัฒนา ทันประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศไทย ต้องก้าวเข้าสู่ ธุรกิจ E-Commerce เพราะถ้าเราไม่ทำ ก็มีประเทศอื่น ที่จะเข้ามาทำในธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งก็ส่งผลต่อวัฒนธรรมด้วย เพราะทำให้คนใช้ ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ซึ่งอเมริกา ก็คาดการณ์ว่าอีก 6 ปีข้างหน้าจะมีผู้ใช้ภาษาจีนกันมากขึ้น
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า ในปี 1997 เกิดจุดเปลี่ยนของ New Economy ทำให้มีคนสงสัยว่า คอมพิวเตอร์กับการคมนาคมเป็นเรื่องเดียวกันไหม ซึ่งเป็นเรื่องการแต่งงานระหว่างโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ เมื่อเอาวงจร ของโทรคมนาคม มาต่อกับคอมพิวเตอร์ๆ สามารถสื่อสาร ได้เหมือนโทรศัพท์ ก็คือ ไอที แต่ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด คือ B to B (Business To Business) ธุรกิจส่วนใหญ่ จะติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต โดยการซื้อขายผ่านบริษัท ที่ดังที่สุด คือ การจ้างการทำงาน และอุตสาหกรรมที่ใช้มาก คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการจ้าง Contact ชิ้นส่วนของรถยนต์ทางคอมพิวเตอร์ ประกาศไปทั่วโลก ประมูลรายการกันหลายรอบ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ ส่วนใหญ่การใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง แต่เพื่อการค้า ธุรกิจส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นใน E-Commerce จะเป็นเรื่องของการประมูล ในส่วนของประเทศไทย คงไม่สามารถปิดกั้น ธุรกิจประเภทนี้ เพราะอินเตอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กัน และยิ่งในปัจจุบัน ทุนนิยมเป็นกระแสหลัก ของการทำธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับผลกระทบ คือทำให้ช่วงห่าง ของคนห่างมากขึ้น เพราะไม่มีกำลังทรัพย์ ในการซื้ออินเตอร์เน็ตมาใช้ ก็จะทำให้คนได้รับความรู้ ไม่เท่าเทียมกัน เพราะไม่สามารถเข้าถึง ความรู้ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและตลอดเวลา--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ