กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--Pam++
เอ็กซ์พีเดีย Expedia.co.th® เว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวครบวงจรชั้นนำของโลก เผยผลสำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจรวมถึงทัศนคติของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการบนเครื่องบินในปี พ.ศ. 2560 (Airplane Etiquette Study 2017) จากการทำสำรวจผ่านระบบออนไลน์โดย GfK Custom Research ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2560 โดยสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 1,125 ผลปรากฏว่าคนไทยส่วนใหญ่คาดหวังเรื่อง "ความสุภาพและการมีมารยาทที่ดี" จากทั้งผู้โดยสารด้วยกัน พนักงานสายการบิน หรือแม้กระทั่งมารยาทที่ดีของตนเองขณะเดินทางบนเครื่องบิน ผลการวิจัยพบว่า 8 ใน 10 หรือ 86% ของผู้โดยสารไทยยอมรับว่าเพื่อนร่วมเดินทางโดยส่วนใหญ่มักจะมีน้ำใจ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่เป็นพวกน่ารำคาญ พฤติกรรมที่น่ารำคาญอันดับต้นๆ คิดเป็น 2 ใน 3 หรือ 64% คือ พฤติกรรมชอบเตะเก้าอี้ข้างหน้า ตามมาคือผู้โดยสารที่มีกลิ่นตัวแรงหรือพวกที่ชอบใส่น้ำหอมหรือโคโลญกลิ่นฉุนและมากเกินไป คิดเป็น 63% จำนวน 6 ใน 10 คือพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ดูแลบุตรของตนเอง เช่นปล่อยให้ส่งเสียงดังหรือร้องไห้สร้างความรำคาญผู้อื่น คิดเป็น 62% และพวกที่ชอบส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น ทั้งพูดคุยและเปิดเพลงเสียงดัง คิดเป็น 61%
ผู้โดยสารไทยส่วนใหญ่ยังมีมารยาทที่ดีต่อพนักงานบริการบนเครื่องบินด้วย โดย 9 ใน 10 (90%) ระบุว่าพวกเขาทำความสะอาดที่นั่งของพวกเขาก่อนออกจากเครื่องบิน และจำนวน 5 ใน 10 (54%) จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแอร์โฮสเตสในการเปิดโทรศัพท์ของพวกเขาในโหมดเครื่องบิน นอกจากนี้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังเคารพกฎระเบียบของสายการบิน มีเพียงประมาณ 1 ใน 10 (14%) เท่านั้นที่เป็นพวกชอบลัดคิวคนอื่น และ 5% เป็นพวกชอบนำกระเป๋าและสัมภาระเกินน้ำหนัก ในทางตรงกันข้าม ผู้โดยสารไทยจำนวนมากถึง 9 ใน 10 (90%) คาดหวังที่จะได้รับการบริการและให้เกียรติผู้โดยสารไทยในมาตรฐานเดียวกันจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และย้ำว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของไทยสมควรที่จะมีความสุภาพและมีมารยาทตลอดเวลา
ประมาณ 50% ของผู้โดยสารชาวไทยยินดีแลกที่นั่งของพวกเขาให้ผู้โดยสารอื่นที่ขอแลกที่นั่งด้วย และจำนวน 49% ยินดีช่วยยกกระเป๋าผู้โดยสารคนอื่นๆ ขณะที่ จำนวน 1 ใน 3 หรือ 37% ยอมรับว่าเป็นพวกที่ติดกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ขณะอยู่ที่สนามบินเพื่อติดต่อสื่อสารและบอกเล่าประสบการณ์การเดินทางและก็หวังว่าจะมีคนชื่นชอบสิ่งที่พวกเขาทำ ส่วนพวกที่มีพฤติกรรมไม่เกรงใจใครหรือไร้ยางอาย เช่น ชอบลัดคิวขึ้นเครื่องบิน มีประมาณ 1 ใน 10 (14%) และพวกที่ชอบฝืนกฎนำกระเป๋าและสัมภาระเกินน้ำหนักมี 5% พวกชอบแกล้งเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ที่นั่งที่ตัวเองต้องการมี 4%
ผู้โดยสารไทยคาดหวังการให้บริการและความเคารพในมาตรฐานเดียวกันจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าคนไทยนั้นเป็นคนที่สุภาพอ่อนน้อมกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนแปลกหน้า ผู้โดยสารชาวไทยก็มีมารยาทที่ดีต่อพนักงานสายการบินเช่นกัน โดย 9 ใน 10 (90%) ระบุว่าพวกเขาทำความสะอาดที่นั่งของพวกเขาก่อนออกจากเครื่องบิน และจำนวน 5 ใน 10 (54%) จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแอร์โฮสเตสในการเปิดโทรศัพท์ของพวกเขาในโหมดเครื่องบิน นอกจากนี้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังเคารพกฎระเบียบของสายการบิน มีเพียงประมาณ 1 ใน 10 (14%) เท่านั้นที่ชอบลัดคิวผู้อื่นขึ้นเครื่อง อีก 5% คือพวกที่ชอบฝืนกฎนำกระเป๋าและสัมภาระเกินน้ำหนัก ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้โดยสารไทยส่วนใหญ่ที่คาดหวังว่าจะได้รับการบริการในมาตรฐานเดียวกันจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยมีจำนวนมากถึง 9 ใน 10 (90%) ที่ระบุว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของไทยสมควรที่จะมีความสุภาพและมีมารยาทตลอดเวลาต่อผู้โดยสารชาวไทย
พฤติกรรมชอบเตะเก้าอี้ข้างหน้าละคนที่มีกลิ่นตัวแรงๆ เป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจและน่ารำคาญที่สุดบนเครื่องบิน
ในขณะที่คนไทยส่วนใหญ่คาดหวังเรื่อง การได้รับบริการด้วยความสุภาพและมารยาทที่ดีจากผู้โดยสารด้วยกันเมื่ออยู่บนเครื่องบิน แต่ก็มีคนบางพวกที่มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจและสร้างความรำคาญ อย่างพฤติกรรมชอบเตะเก้าอี้ข้างหน้า มีสูงถึง 2 ใน 3 หรือ 64% ตามมาคือผู้โดยสารที่มีกลิ่นตัวแรงหรือพวกที่ชอบใส่น้ำหอมหรือโคโลญกลิ่นฉุนและมากเกินไป คิดเป็น 63% นอกจากนี้ จำนวน 6 ใน 10 คือพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ดูแลบุตรของตนเอง เช่นปล่อยให้ส่งเสียงดังหรือร้องไห้สร้างความรำคาญผู้อื่น คิดเป็น 62% และพวกที่ชอบพูดคุยส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นและชอบฟังเพลงดังๆ คิดเป็น 61%
ยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อโซนแห่งความเงียบสงบ
ผู้โดยสารไทยมักจะเลือกที่นั่งในบริเวณที่เงียบสงบแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับพฤติกรรมที่น่ารังเกียจและสร้างความรำคาญ เช่น พวกที่มีพฤติกรรมชอบใช้เท้าเตะเก้าอี้คนข้างหน้า ที่มีจำนวนสูงถึง 2 ใน 3 หรือ 64% พวกพ่อแม่ไม่ดูแลบุตรของตนเอง เช่นปล่อยให้ส่งเสียงดังหรือร้องไห้สร้างความรำคาญผู้อื่น ที่มีถึง 62% และพวกที่ชอบพูดคุยส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นและชอบฟังเพลงดังๆ คิดเป็น 61% และหากสายการบินใดมีโซนพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการความเงียบสงบระหว่างการเดินทาง ผู้โดยสารไทยยินดีที่จะจ่ายในอัตราพิเศษที่จะได้นั่งอยู่ในโซนดังกล่าวสูงถึง 62%
การสนทนากับเพื่อนร่วมทางก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ส่วนใหญ่ก็กลัวว่าจะนั่งติดกับพวกที่ชอบพูดมากเกินไป
แม้ความเป็นมิตรและมีมนุษย์สัมพันธ์ดีจะเป็นหนึ่งในเสน่ห์ของคนไทยที่ชาวต่างชาติรู้จัก แต่คนไทยรู้สึกว่าการพูดคุยแบบเป็นกันเองตามมารยาทหรือการมีชื่อเสียงด้าน "สยามเมืองยิ้ม" จะทำให้ใครต่อใครเข้าใจว่าคนไทยชอบพูดคุยนานๆ กับผูกมิตรกับผู้โดยสารคนอื่นๆ ผลสำรวจปรากฏว่า มีจำนวนเกือบ 2 ใน 3 หรือคิดเป็น 65% ของผู้โดยสารคนไทยที่จะเปิดโอกาสพูดคุยและทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ และจำนวน 63% พวกเขาจะมีส่วนร่วมในการสนทนาและพูดคุยระหว่างเดินทางเมื่อนั่งติดกับคนที่ไม่รู้จัก อย่างไรก็ตาม มีจำนวน 7 ใน 10 หรือ 72% กลัวที่จะนั่งติดกับคนที่พูดมากเกินไป และประมาณครึ่งหนึ่ง คิดเป็น 55% รู้สึกรำคาญกับเสียงพูดคุยจากพวกช่างพูดที่คุยกันไม่หยุด
ส่วนใหญ่ต้องการให้มีกฎห้ามปรับเอนที่นั่งหรือจำกัดสิทธิ์ในเที่ยวบินใกล้ๆ
แม้ผู้โดยสารคนไทยส่วนใหญ่จะชอบปรับเอนที่นั่งของพวกเขาระหว่างเดินทางก็จริง แต่พวกเขาก็ยังอยากให้มีกฎหรือข้อจำกัดห้ามปรับเองที่นั่ง โดยจำนวน 7 ใน 10 คิดเป็น 71% ของผู้โดยสารไทยกล่าวว่าพวกเขาต้องการที่จะให้มีข้อห้ามปรับเบาะเอนนอนหรืออย่างน้อยก็จำกัดในช่วงเที่ยวบินระยะใกล้ๆ ผลสำรวจยังบอกอีกว่า ผู้ที่ชอบปรับเบาะเอนขณะนอนหลับ มีจำนวน 6 ใน 10 คิดเป็น 60% และผู้ที่ปรับเบาะเอนนอนระหว่างเดินทางไกลๆ หรือเที่ยวบินนานกว่า 3 ชั่วโมง มี 28% โดยอีก 18% เป็นพวกปรับเบาะถ้าคนข้างหน้าทำ 14% ปรับเบาะนอนหลังรับประทานอาหาร 8% ปรับเบาะนอนทันทีที่เครื่องบินขึ้น นอกจากนี้ อีก 10% ไม่ปรับเบาะที่นั่งของตนเองเพราะเป็นมารยาทที่ไม่เหมาะสม และ 8% ที่ปรับเบาะที่นั่งเพราะเขารู้สึกไม่สะดวกสบาย
ในบรรดาผู้โดยสารที่ปรับเบาะที่นั่ง ส่วนใหญ่จะปรับเบาะโดยไม่สนใจว่าจะว่ามีใครนั่งอยู่ข้างหลัง คนที่ชอบปรับเบาะยังคงปรับเบาะที่นั่งของพวกเขาแม้คนที่นั่งข้างหลังเป็นสตรีมีครรภ์ สูงถึง 50% พวกผู้สูงอายุและคนที่ไม่แข็งแรง คิดเป็น 36% เป็นพวกพฤติกรรมก้าวร้าวหยาบคาย มีจำนวน 34% พวกที่ใช้แล็ปท็อป 29%และ เป็นพวกคนตัวสูงๆ 28%
คนส่วนมากยังคงมีน้ำใจในการช่วยเหลือผู้โดยสารท่านอื่น ในขณะที่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่มีพฤติกรรมที่ไม่เกรงใจหรือไร้ยางอาย
การยื่นมือช่วยเหลือผู้อื่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยและปฏิบัติกันเป็นปกติซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป ประมาณ 50% ของผู้โดยสารขาวไทยยินดีแลกที่นั่งของพวกเขาให้ผู้โดยสารอื่นที่ขอแลกที่นั่งด้วย 49% ให้ความช่วยยกกระเป๋าผู้โดยสารคนอื่นๆ ขณะที่ จำนวน 1 ใน 3 หรือ 37% ยอมรับเป็นพวกที่ติดกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ขณะอยู่ที่สนามบินเพื่อติดต่อสื่อสารและบอกเล่าประสบการณ์การเดินทางและก็หวังว่าจะมีคนชื่นชอบสิ่งที่พวกเขาทำ ส่วนพวกที่มี พฤติกรรมไม่เกรงใจใครหรือไร้ยางอาย เช่น ชอบลัดคิวขึ้นเครื่องบิน มีประมาณ 1 ใน 10 (14%) และพวกที่ชอบฝืนกฎนำกระเป๋าและสัมภาระเกินน้ำหนักมี 5% พวกชอบแกล้งเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ที่นั่งที่ตัวเองต้องการมี 4%
คนส่วนใหญ่เลือกที่จะแจ้งแอร์โฮสเตสให้ทราบมากกว่าเก็บเงียบไว้เมื่อมีผู้โดยสารก่อความวุ่นวาย
แม้สังคมวัฒนธรรมไทยจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า แต่ผู้โดยสารชาวไทยยังคงยึดถือสิทธิ์และอำนาจอันชอบธรรมของตัวเอง จำนวน 8 ใน 10 (80%) ของผู้โดยสารไทยจะแจ้งให้แอร์โฮสเตสทราบและขอให้จัดการกับพวกผู้โดยสารที่มีพฤติกรรมไม่สุภาพ ขณะที่ 1 ใน 6 (6%) จะเผชิญหน้ากับผู้โดยสารที่สร้างปัญหาเองโดยตรง แม้คนส่วนใหญ่จะเลือกไม่เผชิญหน้าก็ตาม พวกที่เลือกที่จะไม่สนใจหรือเก็บเงียบไว้เฉยๆ มี 24% ส่วน 19% เลือกที่จะบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่น้อยกว่า 1 ใน 10 เลือกที่จะใช้เวลากับสื่อทางสังคมออนไลน์โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น
ข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ Expedia.co.th หรือที่เว็บไซต์ https://travelblog.expedia.co.th/