การประชุมซัมมิตครั้งแรกแห่งเอเซียและแปซิฟิกของนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีหญิงเริ่มขึ้นแล้วที่จังหวัดพิษณุโลกประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday June 19, 2001 16:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--สหประชาชาติ กรุงเทพฯ
เอสแคปกล่าวว่า เมืองที่มีสตรีปกครอง เป็นเมืองที่สะอาดถูกสุขลักษณะและน่าอยู่ ESCAP SAYS CITIES GOVERNED BY WOMEN ARE CLEANIER, HEALTHIER FRIENDILER PLACES TO LIVE
สำนักงานแถลงข่าวสหประชาชาติ (กรุงเทพฯ) " หากสตรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมในการปกครองท้องถิ่นแล้ว เมื่องในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะสะอาดถูกสุขลักษณะและเป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยยิ่งขึ้น" ทั้งนี้เป็นคำกล่าวของนาย คิม ฮัก-ซู เลขาธิการบริหารสหประชาชาติในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก ต่อที่ประชุมประชุมซัมมิทเอเชียแปซิฟิกครั้งแรกของนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีหญิง ที่จังหวัดพิษณุโลกโดยมีนางเปรมฤดี ชามภูนุช นายกเทศมนตรีหญิง ผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่นานที่สุดในประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการประชุม ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2001
นอกจากนั้น นายคิม ยังได้มอบรางวัลแก่นายกเทศมนตรี และเทศมนตรีหญิง 7 คน จากประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเชีย นิวซิแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ที่มีผลงานดีเด่นด้านชุมชน และขจัดสุปสรรคต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของสตรีในการปกครองท้องถิ่นผู้ได้รับรางวัลได้แก่ นางฮู จูปิง ( Hu Juping) รองนายกเทศมนตรี เขตการปกครองเทศบาลฮวงฉี( uangshi)จังหวัด Hubei ประเทศจีน นางริต้า บาวกูนา โจชิ ( Ms. Rita Bhauguna Joshi) อดีตนายกเทศมนตรีเขตเทศบาลอัลลาฮาบัด(Allahabad Municipal corporation) อุตรประเทศ อินเดีย, นางดรา รุสตรีนิงซิ (Dra Rustriningsih)นายกเทศมนตรีเขตเกอบูเมน( Kebumen Regent) ชวาตอนกลาง อินโดนีเซีย, นางฟรานา คาร์ดโน (Ms. Frana Cardno)นายกเทศมนตรีเขตเซ้าธ์แลนด์( Southland District) นิวซีแลนด์, นาง กุล นูร์ บุกตี (Ms. Gul Noor Bugtti)เทศมนตรี คิวเอ็ตต้า ปากีสถาน,นางแคธลีน กอร์ดอน นายกเทศมนตรีโอลองกาโป้( Olongapo City Council)ฟิลิปปินส์ และนางเปรมฤดี ฯ นายกเทศมนตรีแห่งเมืองพิษณุโลก
รายงานจากเอสแคป แจ้งว่า สตรีที่อยู่ในฐานะผู้ตัดสินใจ "เป็นผู้นำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง"ด้วยการให้นิยามใหม่ในลำดับความสำคัญของการเมือง รู้จักการนำเรื่องใหม่เข้าสู่ระเบียบการประชุม และช่วยให้เกิดวิสัยทัศน์ในเรื่องสำคัญนายคิม กล่าวว่า "ไม่มีที่ไดในภูมิภาค ที่สตรีได้รับความเท่าเทียมในการเข้าร่วมในการปกครอง" การประชุมครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของความริเริ่มที่จะให้มีสตรีในการปกครองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ภายหลังการประชุมสุดยอด จะมีการประชุมกลุ่มย่อยของประเทศในภูมิภาค โดยเอสแคปจะเป็นแกนนำในการประชุมดังกล่าว ประเทศในเอเชีย มักไม่ได้กำหนดตัวแทนสตรีตามสัดส่วน จึงมีสตรีอยู่ในการปกครองท้องถิ่นระหว่าง ร้อยละ 10 -15 เท่านั้นนายกเทศมนตรีเปรมฤดีฯ กล่าวว่า ตนเองต้องประสบกับปัญหาการต่อต้านในระยะเริ่มอาชีพทางการเมือง อย่างไรก็ตามประชาชนในเวลาต่อมา ก็ได้มองตนเหมือนกับบุคคลทั่วไป ที่ทำงานด้านบริการประชาชน และเพื่อความอยู่ดีของทุกคน
ดร.กระแส ชนะวงค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สตรีที่อยู่ในการปกครองท้องถิ่น เป็นนักต่อสู้ที่แท้จริง พวกเขาต้องประสบกับอุปสรรคและความกดดันมากยิ่งกว่าบุรุษที่อยู่ในตำแหน่งแหน่งเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมจาก 24 ประเทศกว่า 250 คน ต่างกล่าวปราศรัยในปัญหาที่สตรีในการปกครองท้องถิ่นได้ประสบ บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งสตรีที่เคยและดำรงแหน่งเป็นรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ปลัดกระทรวง นายกเทศมนตรี เทศมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิมีชื่อจากภูมิภาค การประชุมซัมมิตจัดขึ้นโดย โดยความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆในเครืองสหประชาชาติ รวมทั้งองค์การเอกชน สถาบันวิจัยและฝึกอบรม
ข้อมูลเพิ่มติดต่อได้ที่ จังหวัดพิษณุโลก โดยติดต่อ หรือขอนัดการจัดสัมภาษณ์ที่ Ms. Margaret Hanley, Information OfficerMr. Yap Kioe Sheng, Chief, Human Settlements Section/ESCAPSummit Secretariat Office, Amarin Lagoon Hotel, PhitsanulokTelephone and Fax: (66-55) 253- 021--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ