การปรองดองและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ข่าวทั่วไป Friday March 17, 2017 15:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 มี.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การปรองดองและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6 – 7 มีนาคม 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความร่วมมือในการประชุมหรือหารือข้อเสนอแนะแนวทางการปรองดองจากทุกภาคส่วน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการหารือแนวทาง การปรองดอง ในส่วนของพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 44.16 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.04 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 31.76 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.64 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 4.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านนักวิชาการ (อาจารย์ สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 16.00 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือ ดีมาก ร้อยละ 52.16 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.92 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 19.20 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.00 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 6.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับภาคธุรกิจ/ภาคเอกชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 17.36 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 48.72 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 20.48 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 6.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านภาคประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.08 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 45.76 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 20.72 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.16 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และในส่วนของรัฐบาล/คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.6 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 40.24 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.04 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 10.48 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 2.96 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 5.68 ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำเพื่อให้การประชุมหรือหารือข้อเสนอแนะแนวทางการปรองดอง พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.92 ระบุว่า ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน มีความจริงใจที่จะเร่งแก้ไขปัญหา และปฏิรูปประเทศ รองลงมา ร้อยละ 45.20 ระบุว่า ต้องเน้นการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชุมชน ร้อยละ 37.76 ระบุว่า ควรลดการใช้อคติ อารมณ์ และทิฐิของตนเอง ร้อยละ 36.88 ระบุว่า ควรหารืออย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เหตุและผล หรือมีข้อมูลทางวิชาการมารองรับ และควรประชาสัมพันธ์การแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน, เน้นการใช้กฎระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่เข้มงวด, และยึดหลักตามแนวทางโรดแมป ของ คสช. ที่ได้วางไว้ ร้อยละ 0.72 ระบุว่า น่าจะเป็นไปได้ยาก และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายสุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อระยะเวลาอย่างน้อยที่ประเทศไทยจะต้องใช้ เพื่อให้เกิดความปรองดองได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 10.40 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ร้อยละ 17.52 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ร้อยละ 13.12 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ร้อยละ 5.12 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 4 ปี ร้อยละ 21.84 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ร้อยละ 12.96 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.48 ระบุว่า ประเทศไทยไม่น่าจะสามารถปรองดองกันได้ และร้อยละ 14.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ประเทศไทยมีความปรองดองแล้ว เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.68 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.84 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.92 เป็นเพศชาย และร้อยละ 42.08 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.40 มีอายุ 18 – 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 17.92 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.92 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.84 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.28 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 95.44 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.96 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.20 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 71.84 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.92 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 24.72 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.60 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.24 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.96 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.12 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.64 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.36 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.36 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.96 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 9.20 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.80 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ