ต้อหิน...กับคอมพิวเตอร์ภัยเงียบที่คุกคามดวงตา

ข่าวทั่วไป Wednesday March 22, 2017 14:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--mascotcommunication ในปัจจุบันโรคต้อหิน นับว่าเป็นสาเหตุหลักอันดับสองที่ทำให้ตาบอด โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือความดันในตาสูง ทำให้ลูกตาแข็งกว่าปกติ สัญญาณเตือนในระยะแรก ไม่รู้ตัว ไม่รู้สึกถึงการมองเห็นที่ผิดปกติ จัดว่าเป็นภัยเงียบที่คุกคามดวงตา หากชะล่าใจปล่อยไว้อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือเสี่ยงตาบอดนั่นเองนอกจากตาบอดแล้วยังมีอาการเจ็บปวด ทุกข์ทรมานได้อีก จนบางคนยอมให้แพทย์เอาตาออกเพื่อระงับความเจ็บปวด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากในการถนอมดวงตาเพียงแค่หมั่นสังเกตตัวเองและปรึกษาแพทย์ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น แพทย์หญิงเกศรินท์ เกียรติเสวี จักษุแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคต้อหิน(Glaucoma) เป็นโรคของขั้วประสาทตา มีการบางตัวของขั้วประสาทตาและมีการสูญเสียลานสายตาอย่างถาวร โดยการสูญเสียตานั้น จะเริ่มที่ขอบด้านนอกก่อน หากไม่ทำการรักษาจะทำให้ลานสายตาค่อยๆ แคบลง จนตาบอดได้ สาเหตุของต้อหิน มีหลายชนิด ชนิดแรกเป็นต้อหิน โดยไม่ทราบสาเหตุพบมากที่สุด ชนิดที่สองเป็นต้อหินเนื่องจากมีโรคอื่นอยู่ก่อนแล้วเกิดแทรกซ้อน เกิดจากโรคตา ไม่ว่าจะเป็นตาอักเสบ เนื้องอกในลูกตา รวมไปถึงการใช้ยาบางชนิด ที่มีสารสเตอรอยด์ เป็นส่วนประกอบของยาหยอดตาเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแก่ 1.ผู้ที่มีอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอายุน้อย โดยผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมีโอกาสตรวจพบได้ร้อยละ1.2 ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน 3.ปัจจัยอื่นๆ เช่น ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา ผู้ที่ใช้ยาสเตอรอยด์ 4. ตรวจพบความดันตาสูง (ความดันต้องมากกว่า 20 มม. ปรอท) 5.มีภาวะสายตายาวหรือสั้นมาก 6.มีความผิดปกติทางเลือดและเส้นเลือด 7. มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ไมเกรน เบาหวาน ป่วยเป็นโรคหัวใจและความดันสูง เป็นต้น โรคต้อหินมุมเปิด หรือ ต้อหินเรื้อรังนี้ สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์จากการศึกษาน่าจะมีสายตาสั้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งของการเป็นต้อหิน ส่วนอีกประการหนึ่งการที่สายตาสั้นแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อกันว่าผู้ที่ใช้สายตาเพ่งมองใกล้มาก พวกหนอนหนังสือ ผู้ที่มีไอคิวสูงมักจะมีสายตาสั้น ทั้งหมดจึงอาจเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ซึ่งเป็นสิ่งที่ รู้กันมานานแล้ว การศึกษา ในกรณีนี้แนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ ในระยะที่เหมาะสมแม้จะไม่ได้ป้องกันโรคต้อหินแต่ก็ทำให้ไม่มีภาวะสายตาเมื่อยล้า ตาแห้งจากการใช้คอมพิวเตอร์มากไป อย่างไรก็ตามเราคงไม่ต้องตื่นกลัวการเป็นต้อหินจากการใช้คอมพิวเตอร์ตามข่าวนี้ แต่ก็ไม่ควรเพิกเฉยกับโรคนี้ แต่เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ หากได้รับการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำก็จะสามารถแก้ไขและป้องกันการเกิดได้ ใช้คอมพิวเตอร์มาก ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากพอ แต่การที่มีสายตาสั้นมากเป็นปัจจัยของการเกิดต้อหินได้ กลุ่มคนทำงานหนักอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีสายตาสั้นมากอยู่แล้ว เมื่อเริ่มเป็นจะรักษาโรคต้อหินอย่างไร การรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด สะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาทุกวันไปตลอดชีวิต ปัจจุบันยาหยอดตามีหลายชนิดต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพและอาการข้างเคียง การใช้ยารักษาต้อหินชนิดกินหรือฉีดนั้นจะใช้ในระยะสั้นเพื่อเตรียมการผ่าตัด เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง ยาที่ใช้รักษาต้อหินแบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก คือ 1. ยากลุ่ม Beta-adrenergic blockers ยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะยา Timolol เป็นยาที่ใช้กันบ่อยและใช้กันมานานแล้ว โดยหยอดวันละ 2ครั้ง เช้า-เย็น แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดหรือโรคหัวใจบางชนิด 2. ยากลุ่มAdrenergic agonist ยากลุ่มนี้บางตัวมีฤทธิ์ปกป้องสายตาได้ด้วย (Neuroprotection) แต่ควรระวังในผู้ป่วยเด็กเล็ก อาจทำให้อ่อนเพลียและง่วงซึม บางรายอาจมีอาการแพ้ได้ 3.ยากลุ่ม Carbonic anhydrase inhibitor ยากลุ่มนี้บางตัวสามารถเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณขั้วประสาทตาได้ แต่บางรายอาจมีอาการแสบตา ยากลุ่มนี้สามารถลดความดันตาได้ดี แต่อาจทำให้ชาปลายมือ-เท้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลดได้ 4.ยากลุ่ม Cholinergic ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้มานาน เพิ่มการไหลออกของน้ำในช่องด้านหน้าลูกตาทำให้ความดันลด 5.ยากลุ่ม Prostaglandin derivatives ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มใหม่ มีประสิทธิภาพในการลดความดันตาได้ดี หยอดวันละครั้งมีผลข้างเคียงทางร่างกายน้อยมาก แต่อาจมีอาการตาแดง ผิวหนังรอบดวงตาคล้ำขึ้น ขนตายาวและหนาขึ้น 6. ยากลุ่ม Fixed combination ยาที่รวมเอายา 2ชนิดไว้ในขวดเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการหยอดตา หรือการรักษาโดยการใช้แสงเลเซอร์ การใช้เลเซอร์มักใช้ร่วมกับการใช้ยา การทำเลเซอร์ในต้อหินนั้นทำได้ไม่ยาก ไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน ใช้เวลาทำประมาณ 10-15 นาที โดยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และอีกวิธีคือ การรักษาโดยการผ่าตัด มุ่งเน้นที่การทำช่องระบายน้ำภายในลูกตา(aqueous) จากช่องลูกตาส่วนหน้าออกมาสู่ภายนอก เพื่อลดความดันตา การผ่าตัดต้องทำในห้องผ่าตัด ใช้เพียงการฉีดยาชา หรือดมยาสลบสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ใช้วิธีผ่าตัดในกรณีที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาและเลเซอร์อย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ หรือ รักษาจนความดันตาอยู่ในระดับปกติแต่ยังไม่ปลอดภัยโดยมีการสูญเสียลานสายตาหรือเส้นใยประสาทตาอย่างต่อเนื่อง ดวงตา เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจก่อนสายเกินแก้ไข หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือไม่สังเกตตัวเอง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเข้ามาทำลายความสุขในชีวิต หากชะล่าใจปล่อยไว้อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
แท็ก ต้อหิน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ