กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--New Wave Marketing Network
The Internet of Things (IoT) มีพัฒนาการอันยาวไกลนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้ ATMs ที่ต้องใช้การต่อเชื่อมผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Online ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) กว่า 3 ทศวรรษต่อมา IoT ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องขึ้นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อระบบเศรษฐกิจทั้งโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่โลกของระบบความจริงดิจิตอลที่ถูกเชื่อมต่อถึงกันอย่างยิ่งยวด (hyper-connected reality) อุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายกำลังติดล้อ – ติดล้อจริง ๆ ด้วยโดยเฉพาะในสิงคโปร์ที่มีรถแท็กซี่ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวมันเองโดยไร้คนขับ (self-driving taxis)
ในการปรับตัวขององค์กรที่มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่ยุคดิจิตอล คุณค่าที่แท้จริงของ IoT คือความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และนวัตกรรมที่ไม่มีใครเหมือน IDC ได้ประมาณการให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกลายเป็นแนวหน้าของ IoT ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) มีจำนวนองค์กรธุรกิจมากขึ้นที่มองหาช่องทางการลงทุนในโอกาศทางธุรกิจนี้ ตามรายงานการศึกษาของอรูบ้าเรื่อง "The Internet of Things: Today and Tomorrow" พบว่า 50% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกที่นำ IoT มาใช้ จะมีประสิทธิภาพการดำเนินงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากขึ้น ขณะเดียวกันมีองค์กรถึง 74 % ยืนยันว่ามีผลกำไรมากขึ้นด้วย อย่างเช่น JCB India โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างพบว่าอุปกรณ์และเครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ยาวนานขึ้นหลังจากที่ต่อเชื่อมอุปกรณ์และเครื่องจักรกว่า 10,000 ตัวของตนเข้าสู่ระบบเครือข่าย
ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นจำนวนองค์กรในภาคอุตสาหกรรมโรงพยาบาลและสถานพยาบาล อุตสาหกรรมการค้าปลีก ภาคการศึกษา และภาคการผลิตในเอเชียแปซิฟิคต่างทำการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ IoT มาปรับใช้สำหรับแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ มากมาย เช่นในการตรวจสอบติดตามอาการของคนไข้ การรวบรวมข้อมูลของลูกค้า หรือระบบรักษาความปลอดภัยผ่านกล้องวงจรปิดแบบไอพี จำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนการเติบโตในการใช้ IoT : โดย 60 % ขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ได้มีการนำ IoT มาใช้แล้ว ขณะที่อีก 26 % วางแผนที่จะนำ IoT มาใช้งานภายใน 24 เดือน
อย่างไรก็ตาม ระดับการพร้อมขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังแตกต่างกันเมื่อพูดถึงความเข้าใจและวิสัยทัศน์เชิงลึกในเรื่อง IoT มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำที่แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการนำ IoT มาใช้ นั้นหมายความว่าองค์กรธุรกิจหลายองค์กรในภูมิภาคนี้ยังใช้ IoT ไม่เต็มศักยภาพของมัน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตในการนำดิจิตอลมาปรับใช้อย่างรวดเร็ว และองค์กรล้วนต้องการจะขยายกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนให้ครอบคลุมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการใช้ดิจิตอล ต่อไปนี้เป็นข้อควรพิจารณา 3 ข้อที่ต้องตระหนักเมื่อทำการวางแผนในการนำ IoT มาใช้ในองค์กรของคุณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุดและเพิ่มขีดความสามารถ ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
1.มีระบบเก็บข้อมูลที่สามารถรองรับจำนวนและความเร็วของข้อมูลที่เกิดจาก IoT ได้ทันและเพียงพอ
ตามความเห็นของคุณเควิน แอซตัน (Kevin Ashton) จาก British technology pioneer เขาเห็นว่า IoT คือความสามารถที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิผล ถึงแม้ว่าเกือบจะทุกองค์กรในภูมิภาคนี้อ้างว่าตนมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ส่วนมากกลับพบกับความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูล มากกว่าครึ่งมัวแต่ยุ่งอยู่กับการจัดการข้อมูลที่ได้รับมาจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ขณะที่ 44 % พบว่ามันยากมากที่จะทำการย่อยทำความเข้าใจข้อมูลมากมายที่มาจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย
มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม เป็นสิ่งที่ล้าสมัยและไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วย IoT การขยายระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ทันต่อการขยายตัวของการใช้งาน IoT เป็นเสมือนฝันร้ายของผู้จัดการระบบไอที ดังนั้นทุกองค์กรจำเป็นต้องทำการประเมินว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้มีความสามารถที่จะรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลรวมทั้งมีความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สถาปัตยกรรม Intelligent edge มารองรับการขยายตัวของ IoT
มากกว่าครึ่งขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนยันว่าต้นทุนในการเริ่มนำมาใช้และบำรุงรักษาเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางพวกเขาไม่ให้สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจจาก IoT หลาย ๆ บริษัทที่ใช้โมเดลทางธุรกิจเป็นระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์สำหรับ IoT ได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายต่อปีที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลดีกับยอดขาย
เป็นที่มาของการประมวลผลที่ปลายทาง (Edge computing) มาแทนที่ การใช้ความสามารถในการประมวลผลไปสู่ที่ต่าง ๆ บนระบบเครือข่าย จะช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและการดำเนินงานและสามารถใช้ได้กับระบบที่มี latency ต่ำ ระบบที่ต้องการเข้าถึงแบบระยะใกล้ (proximity) และระบบที่มี bandwidthสูง เหมาะสมกับแอพพลิเคชั่นที่อ่อนไหวต่อเวลา (time-sensitive) และมีข้อมูลหนาแน่นมหาศาล (data-intensive) Intelligent Edge ให้บริการที่ฉลาดก้าวหน้าโดยยินยอมให้ระบบสามารถทำการตัดสินในการดำเนินงานได้ที่จุดที่มีการเก็บข้อมูลเลย ทำให้องค์กรสามารถขยายระบบได้ตามความจำเป็นและเร่งรัดการนำ IoT มาใช้ได้ในต้นทุนที่เหมาะสมไม่แพงเหมือนระบบรวมศูนย์เดิม
3.วางกลยุทธ์ระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวม ทั่วทั้งระบบของ IoT
มี 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกโจมตีทางช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนระบบที่เกี่ยวข้องกับ IoT อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งโลก ความมั่นคงปลอดภัยของระบบเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับการใช้ IoT ลองพิจารณาระบบนิเวศทางไอทีที่มีอุปกรณ์และเซ็นเซอร์กว่า 10,000 ตัว นั้นหมายความว่ามีจุดที่คุณจะต้องกังวลใจเพิ่มขึ้นถึง 10,000 จุด การนำพลังการประมวลผลไปไว้ที่ชายครอบ (edge) ของระบบเครือข่ายอาจจะสามารถทำการป้องกันบางประการให้แก่ระบบนิเวศ IoT ได้บ้างแต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร้ายที่จ้องรอคอยที่จะกระโดดเข้าโจมตีระบบเมื่อมีช่องโหว่ของระบบความมั่นคงปลอดภัยให้เห็น
องค์กรควรจะมีมุมมองในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวม ครอบคลุมตลอดทั้งระบบเครือข่ายไอที ในการควบคุมการเข้าสู่ระบบและมีนโยบายการจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่ป้องกันได้ทั้งเครือข่ายและอุปกรณ์จำนวนมหาศาลทั้งหมด และ มีระบบการดูแลความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถมองเห็นการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายของคุณได้ทั้งหมดจะทำให้คุณสามารถมองเห็นจุดที่อ่อนไหวและคาดการณ์ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยได้ล่วงหน้า
ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการเป็นผู้นำด้านการนำ IoT มาใช้ เมื่อองค์กรสามารถแสวงหาคุณค่าได้อย่างเต็มที่จาก IoT เราจินตนาการได้เลยถึงความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุดในการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของเราในอนาคต ขณะเดียวกันที่อรูบ้า เราทำงานอย่างต่อเนื่องกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ และองค์กรทั้งหลายเพื่อช่วยให้การนำ IoT มาปรับประยุกต์ใช้และเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมในระดับความเร็วที่ทันความก้าวหน้าของ mobile และ IoT