กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--บ้านสมเด็จโพลล์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,223 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ปัจจุบันพฤติกรรมของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ของคนในสังคมนั้นเป็นพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้โดยทั่วไป ซึ่งพฤติกรรมของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงในการเปิดรับข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มากยิ่งขึ้น โดยที่มีทั้งข่าวจริงและข่าวไม่จริงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ประชาชนมีความเชื่อมั่นและมีการตรวจสอบข่าวสารที่ได้รับมาหรือไม่ และการสั่งซื้อสินค้า บริการ ผ่านทางผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการหลอกลวงจากการซื้อสินค้า บริการผ่านทางทางอินเตอร์เน็ต (Internet) ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยเฉลี่ยต่อวัน อันดับหนึ่งคือ 3 - 4 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 26.4 อันดับที่สองคือ 5 – 6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 26.4 อันดับที่สามคือ 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 16.4 อันดับที่สี่คือ 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 14.0 อันดับที่ห้าคือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 9.6 และอันดับสุดท้ายคือน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 4.3
ในส่วนของการใช้งานสังคมออนไลน์ (Social Networks) อันดับหนึ่งคือ Facebook ร้อยละ 60.8 อันดับที่สองคือ Instagram ร้อยละ 15.2 อันดับที่สามคือ Youtube ร้อยละ 10.9 และอันดับที่สี่คือ Twitter ร้อยละ 8.0 และการใช้งานโปรแกรมสนทนา (Chat) อันดับหนึ่งคือ Line ร้อยละ 57.0 อันดับที่สองคือ Messenger ร้อยละ 31.3 อันดับที่สามคือ WhatsApp ร้อยละ 4.7
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการรับข้อมูลข่าวสารประจำวันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อันดับหนึ่งคือ Facebook ร้อยละ 64.0 อันดับที่สองคือ Line ร้อยละ 28.4 อันดับที่สามคือ Twitter ร้อยละ 7.3
ในส่วนของความน่าเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่ได้รับผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อันดับหนึ่งคือ ไม่เชื่อ ร้อยละ 39.8 อันดับที่สองคือ เชื่อ ร้อยละ 39.8 อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.9 และการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่ได้รับผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อันดับหนึ่งคือ เคย ร้อยละ 48.0 อันดับที่สองคือ ไม่เคย ร้อยละ 37.2 อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.8
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยสั่งซื้อสินค้า บริการ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) ร้อยละ 65.9 อันดับที่สองคือ ไม่เคย ร้อยละ 26.9 อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2
และมีสั่งซื้อสินค้า บริการ ผ่านทางช่องทาง ร้านค้าบน Facebook มากที่สุด ร้อยละ 30.3 อันดับที่สองคือ Lazada ร้อยละ 23.8 อันดับที่สามคือ ร้านค้าบน Instagram ร้อยละ 20.1