กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "7 วันอันตราย กับการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นศูนย์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 เมษายน 2560 จากประชาชน ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุ ในช่วง 7 วันอันตราย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นศูนย์ การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบกฎหมายหรือมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ด้านการใช้ความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ เขตเมืองที่ 50 กม./ชม. และนอกเขตเมือง 90 กม./ชม. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.71 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 34.29 ระบุว่า ไม่ทราบ
ด้านการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.38 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 22.62 ระบุว่า ไม่ทราบ ด้านการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.68 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 49.32 ระบุว่า ไม่ทราบ
ส่วนการรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งในรถโดยสาร (ยกเว้นรถที่ไม่เข้าเกณฑ์) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.01 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 7.99 ระบุว่า ไม่ทราบ และการห้ามนั่งบนขอบหรือฝาท้ายกระบะ และนั่งท้ายกระบะไม่เกิน 6 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.85 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่ทราบ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายหรือมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่าจะช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ด้านการใช้ความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ เขตเมืองที่ 50 กม./ชม. และนอกเขตเมือง 90 กม./ชม. ประชาชน ร้อยละ 41.17 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 44.60 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ส่วนการกำหนดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 57.79 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 27.26 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 13.27 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับการกำหนดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.60 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 25.82 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 19.10 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งในรถโดยสาร (ยกเว้นรถที่ไม่เข้าเกณฑ์) พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.04 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 34.53 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 19.19 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
และการห้ามนั่งบนขอบหรือฝาท้ายกระบะ และนั่งท้ายกระบะไม่เกิน 6 คน ร้อยละ 40.37 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 31.57 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 25.50 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเป้าหมายการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2560 ด้านการ ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.95 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย รองลงมา ร้อยละ 32.93 ระบุว่า เป็นได้ปานกลาง มีเพียง ร้อยละ 4.96 ระบุว่า เป็นได้มาก ส่วนการลดอุบัติเหตุให้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.63 ระบุว่า เป็นได้ ปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 18.39 ระบุว่า เป็นได้มาก ขณะที่ร้อยละ 14.87 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.75 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง เมาไม่ขับอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 40.21 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับขี่อย่างเคร่งครัด ร้อยละ 35.81 ระบุว่า ควรมีมาตรการคุมเข้มการซื้อ – ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 35.09 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง การขับรถประมาทอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ควรเพิ่มบทลงโทษ ทางกฎหมายกฎจราจรให้หนักขึ้น ร้อยละ 24.46 ระบุว่า ควรประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และสร้างจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และเคารพกฎจราจร ร้อยละ 20.86 ระบุว่า ควรเพิ่มด่านตรวจ จุดกวดขันวินัยจราจร ร้อยละ 19.50 ระบุว่า ควรปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทาง ป้ายและสัญญาณไฟต่าง ๆ ให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจราจร ร้อยละ 16.47 ระบุว่า ควรคุมเข้มการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ตามจุดต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง เล่นน้ำสงกรานต์อย่างมีสติ และระมัดระวังรถที่สัญจรไปมา ร้อยละ 14.39 ระบุว่า ควรจัดระเบียบ การขายของริมทางเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการจราจร โดยเฉพาะจุดเสี่ยง ร้อยละ 1.92 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรเพิ่มจุดพักรถ เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่รถยนต์, ควรปรับปรุงระบบการขนส่ง รถสาธารณะให้ดีขึ้นกว่านี้, ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง, และควรทำกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเล่นน้ำสงกรานต์ และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.87 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 25.58 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.07 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.15 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.68 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.16 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.83 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 18.78 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 27.34 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 40.13 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 4.72 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.13 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.16 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.20 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.02 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 68.82 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.56 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 22.14 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.58 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.07 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 31.10 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.76 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 15.99 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.83 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.19 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.47 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 10.47 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.92 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.83 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.43 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.55 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 9.11 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 12.15 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.83 ไม่ระบุรายได้