กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงก์ ประกาศเปิดตัวและทำตลาด "อัลตร้าสปาร์ค ทรี" (UltraSPARC ) ตัวประมวลผล 64 บิตรุ่นที่ 2 ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมด้านเน็ตเวิร์ค คอมพิวติ้งล่าสุดของซัน ที่ได้รับการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งานด้าน Net Effect ได้อย่างสูงสุด ทั้งนี้ อัลตร้าสปาร์ค เป็นตัวประมวลผลที่มีการออกแบบด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวน 29 ล้านตัว และเพียบพร้อมด้วยด้วยฟีเจอร์หลายหลากประเภท ได้แก่ ระบบควบคุมหน่วยความจำ (embedded memory controller) แอดเดรสบัสความเร็ว 9.6 กิ๊กะไบต์ต่อวินาที เพื่อรองรับการขยายระบบในอนาคตได้ ระบบสนับสนุน ECC: Error Checking and Correcting 8 เมกกะไบต์ ซึ่งเป็น external cache ที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น และระบบอัพไทม์บัส (Uptime Bus) ที่ช่วยแก้ไขและจำแนกข้อผิดพลาดซึ่งทำให้ระบบมีความเสถียรภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ได้มีการติดตั้งตัวประมวลผลอัลตร้าสปาร์ค เป็นครั้งแรกในเครื่องเวิร์คสเตชั่นระดับไฮเอ็นด์รุ่น Sun Blade 1000 และเครื่องเวิร์คกรุ๊ปเซิร์ฟเวอร์ Sun Fire 280R รุ่นใหม่
มร. จอห์น ชูเมกเกอร์ รองกรรมการบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงก์ กล่าวว่า "อัลตร้าสปาร์ค ทรี คือตัวประมวลผลที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของซัน และเมื่อซูเปอร์สปาร์ค (SuperSPARC) คือจุดเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายตัวประมวลผลรุ่นต่อมา อัลตร้าสปาร์ควันและทู ช่วยให้การใช้งานของอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ตัวประมวลผลรุ่นล่าสุด อัลตร้าสปาร์ค ทรี ได้ผลักดันให้ซันเข้าสู่ยุคของสถาปัตยกรรมดอทคอมยุคที่สองซึ่งสามารถรองรับขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับตัวประมวลผลรุ่นเดิมๆ"
"อัลตร้าสปาร์ค ทรี" มุ่งสร้างแต้มต่อในเชิงการแข่งขัน ตัวประมวลผลอัลตร้าสปาร์ค ทรี เปิดตัวออกสู่ตลาดในฐานะที่เป็นตัวประมวลผลขนาด 64 บิตที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยรวมคุณสมบัติสุดยอดของตัวประมวลผลเกือบทุกรุ่นในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน ได้แก่ ความเร็วของนาฬิกาของระบบ (Clock Speed) สมรรถนะในการปรับขยายระบบ การทำงานด้วยตัวประมวลผลหลายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแบนด์วิธเพิ่มขึ้นเพื่อการประมวลผลที่เร็วขึ้น อัลตร้าสปาร์ค ทรี เป็นตัวประมวลผลเพียงตัวเดียวในตลาดที่มีหน่วยความจำที่สามารถขยายหน่วยความจำได้ สามารถแยกความถี่เพื่อสนับสนุนระบบซีพียูที่ใช้ความเร็วหลายระดับรวมกันในเครื่องเดียวได้ รวมทั้งมีโปรโตคอลระบบวงจรเดียวที่เป็นเอกภาพระบบแรก
เทคโนโลยีคอปเปอร์ (Copper Technology)
ในขณะนี้ ตัวประมวลผลอัลตร้าสปาร์ค ทรี ได้เปิดตัวออกสู่ตลาดใน 3 รุ่น คือ ระดับความเร็ว 900, 750 และ 600 เมกะเฮิร์ตซ์ และได้รับการออกแบบให้เป็นตัวประมวลผลระดับกิ๊กะเฮิร์ตซ์ โดยใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลชั้นนำ ได้แก่ เทคโนโลยีคอปเปอร์ (Copper Technology) ซึ่งมีอัตราความเร็วของนาฬิกาของระบบ 1.5 กิ๊กะเฮิร์ตซ์ และจะมีระดับที่สูงขึ้นสำหรับอัลตร้าสปาร์ค ทรี ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ
ปรับขยายระบบได้สูงขึ้น
ตัวประมวลผลตระกูลสปาร์ค (SPARC) มีความสามารถในการปรับขยายระบบได้สูงขึ้นตาม คุณลักษณะใหม่ๆที่เพิ่มเข้าไป ส่งผลให้มีตัวประมวลผลในระบบเพิ่มจำนวนขึ้นอีกหลายเท่า โดยอัลตร้าสปาร์ค ทรี ซึ่งได้พัฒนาขึ้นตามแนวทางดังกล่าว สามารถเพิ่มตัวประมวลผลได้หลายร้อยตัวโดยใช้หน่วยความจำเดียวกัน จึงทำให้หน่วยความจำของระบบทั้งหมดมีขนาดและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Binary Compatability
ด้วยสถาปัตยกรรมสปาร์คแบบ 64 บิต ในยุคที่สอง ทำให้อัลตร้าสปาร์ค ทรี สามารถรันแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรมสปาร์ครุ่นเดิมๆ ได้ จึงช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายไปสู่ระบบใหม่ นอกจากนี้ ด้วยนโยบายในการมุ่งพัฒนาตัวประมวลผลอัลตร้าสปาร์ค IIe อย่างต่อเนื่องของซัน (อัลตร้าสปาร์ค IIe ซึ่งมีการเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543) จะช่วยขยายอายุ
การใช้งานของระบบต่างๆที่พัฒนาบนสถาปัตยกรรมสปาร์คดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อไปในอนาคต
แบนด์วิธในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น
อัลตร้าสปาร์ค ทรี มีฟีเจอร์สนับสนุนแบนด์วิธในการประมวลผลทั้งหมด โดยมีความเร็วของ
ช่องสัญญาณบอกตำแหน่งการเชื่อมต่อระหว่างตัวประมวลผล (Processor-to-Interconnect address channel speed) สูงสุดถึง 9.6 กิ๊กะไบต์ ซึ่งเร็วกว่าตัวอัลตร้าสปาร์ครุ่นเก่าถึง 2 เท่า
อัลตร้าสปาร์ค ทรี มีหน่วยความจำ 4.8 กิ๊กะไบต์ต่อวินาที โดยมีคุณลักษณะใหม่ๆ อาทิ ระบบควบคุมหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบเพื่อลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแบนด์วิธที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเต็มที่
มีเสถียรภาพสูง
อัลตร้าสปาร์ค ทรี มีเสถียรภาพของระบบสูง เนื่องจากมีฟีเจอร์ที่สำคัญๆ ได้แก่ ระบบ Uptime Bus ครบวงจรแบบใหม่ ซึ่งสามารถแยกระบบแก้ไขข้อผิดพลาดออกจากหน่วยความจำหลัก ทั้งนี้ ระบบแก้ไขและตรวจสอบข้อผิดพลาด (Error Checking and Correction) บน Level 2 Cache จะช่วยเพิ่มสมรรถนะในการตรวจหาและแก้ไขข้อผิดพลาดได้รวดเร็วขึ้น ตลอดจนมีเสถียรภาพของระบบเพิ่มขึ้น
ประสานการทำงานอย่างกลมกลืนสถาปัตยกรรมสปาร์ค ตลอดจนสถาปัตยกรรมระบบปฏิบัติการโซลาริสและระบบต่างๆได้รับการ ออกแบบตั้งแต่เริ่มแรกให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และด้วยการร่วมพัฒนาอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมพัฒนาระบบปฏิบัติการโซลาริส สถาปัตยกรรมสปาร์ค และระบบต่างๆ ส่งผลให้ซันสามารถพัฒนาตัวประมวลผลที่มีสมรรถนะสูงและได้รับความสำเร็จสูงสุดในตลาดคอมพิวเตอร์ โดยมี
ระบบต่างๆที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของตัวประมวลผลที่มีสมรรถนะ เสถียรภาพ และขีดความสามารถในการปรับขยายระบบที่ดีขึ้น และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
เกี่ยวกับซัน ไมโครซิสเต็มส์
บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงก์ (สัญลักษณ์ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq คือ SUNW) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2525 และด้วยวิสัยทัศน์อันโดดเด่นที่ว่า "The Network Is The Computer" ทำให้ซันเป็นผู้นำด้านการพัฒนาและจัดหาระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของระบบอินเตอร์เน็ตในองค์กรธุรกิจต่างๆ ทั้งยังนำเสนอโซลูชั่นสำหรับองค์กรที่ต้องการเข้าสู่โลกของการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย ซันมีรายได้ปีละ 15,700 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสำนักงานอยู่ในประเทศต่างๆมากกว่า 170 ประเทศ และมีข้อมูลอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บที่ http.//www.sun.com.sg
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
รัมภา บุศยอังกูร สิริพร ศุภรัชตการ หรือ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร. 636-1555 โทร. 252-9871-7
อีเมล์ rampa@Thailand.Sun.Com อีเมล์ s_siriporn@bm.com / s_satida@bm.com-- จบ--
-อน-