ธุรกิจค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น

ข่าวทั่วไป Tuesday May 2, 2000 14:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--Milan Crosse
บริษัท FPDSavills หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับสากลได้รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบค้าปลีกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกรุงเทพฯ ว่าสถานการณ์ท้องตลาดส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดยปริมาณความต้องการในการขายสินค้าที่มียี่ห้อดังเป็นที่นิยมและการลดจำนวนลงของร้านค้าที่มีอยู่เดิมอย่างรวดเร็วในตลาดทั่วไป โดยขณะที่สินค้าที่มีคุณภาพที่ดี ราคาแพงเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ส่วนร้านค้าเล็กๆและผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าที่ล้าสมัยกำลังถูกบีบให้ปิดกิจการลง
มร.ไซม่อน เกรย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท FPD กล่าวว่า "ผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่ในขณะนี้กำลังปรับเข้าสู่กับมาตราฐานร้านค้าปลีกที่เป็นสากลโดยหันมามองการปรับปรุงราคาให้ดีขึ้นพร้อมกับเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าโดยปรับให้มีสินค้าเพิ่มหลากหลายขึ้น" มร. เกรย์ กล่าวต่อว่า "กำลังการซื้อของคนไทยมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่สนใจสินค้าประเภทมียี่ห้อดังในท้องตลาดขณะนี้"
มร.ไซม่อน เกรย์ ยังกล่าวต่ออีกว่า "ที่เป็นอย่างนี้เกิดจากสาเหตุ 3 ประการได้แก่ อย่างแรกผลจากการเริ่มเลือกตั้งรัฐบาล, อย่างที่สองผู้บริโภคมีแนวทางในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นของตัวเองมากขึ้นและประการที่สาม วัฒนธรรมของตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทพื้นฐานต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยในปัจจุบันมากขึ้น ผู้ค้าปลีกบางรายมียอดรายได้ที่ลดต่ำลง 2 เท่าในช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2543 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมานับว่าเป็นยอดที่ค่อนข้างมีการปรับตัวดีขึ้น"
"การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจตลาดอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกโดยรวม ซึ่งบริษัท FPDSavills ได้รับแรงผลักดันจากผู้ค้าปลีกต่างประเทศในการเป็นผู้จัดหาสถานที่ที่ดีและเหมาะสมในการจัดตั้งร้านค้า โดยร้านค้า อาทิเช่น Boots and Starbucks ที่กำลังจะมองหาพื้นที่ในย่านใจกลางแหล่งธุรกิจเพื่อที่จะเปิดสาขาใหม่ในตลาดเพิ่มขณะที่ปัจจุบันตลาดมีข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้งที่ดีๆมักจะหาได้ยาก ขณะที่ในบางพื้นที่เช่น ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ยังรอผู้ที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่เพิ่มมากขึ้น"
มร. ไซม่อน เกรย์ ได้กล่าวว่า "ห้างสรรพสินค้าประเภทให้ส่วนลดอาทิเช่น Tesco-Lotus, Carrefour มุ่งที่จะเป็นหนึ่งในการพัฒนาสถานที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าและขณะเดียวกันก็ยังคำนึงถึงการขยายพื้นที่ห้างสรรพสินค้าเดิมที่มีอยู่แล้วพิ่มมากขึ้น"
สำหรับพื้นที่ค้าปลีกในย่านใจกลางธุรกิจ(CBD)ทั้งในพื้นที่แหล่งช้อปปิ้งเขตปริมณฑล ราคาค่าเช่าลดต่ำลงตั้งแต่ปี 2541 ถึงปี 2542 ยอดผู้เช่าที่เหลืออยู่ลดลง(จาก 20 ถึง 50%)และยอดเฉลี่ยในปัจจุบันมีเพิ่มไม่เกิน 5-10% ส่วนการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเก่าๆผู้เช่าเดิมได้มีการย้ายออกหรือปิดกิจการลงขณะที่อัตราการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าใหม่ๆที่ดีที่สุดมีการปรับตัวดีขึ้นถึง 85-90%
ร้านค้าปลีกที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจที่มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน และมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้ดีขึ้น (ทั้งด้านการรวบรวมแหล่งบันเทิงใจ อาทิเช่น โรงหนัง) จะเห็นได้ว่าอัตราการเช่าพื้นที่จะมีเพิ่มมากกว่า 95% อย่างไรก็ตาม สำหรับร้านค้าปลีกที่ให้ส่วนลดในระดับท้องถิ่นและห้างสรรพสินค้า ยังคงประสบกับปัญหาผู้เช่าที่มีจำนวนลดลงและอัตราค่าเช่าที่ลดลง ขณะที่ผู้บริโภคถูกดึงดูดด้วยสถานที่ที่มีความทันสมัยมากกว่าและการขยายตัวเพิ่มขึ้นของธุรกิจค้าปลีกต่างชาติ (ทั้งในด้านร้านอาหารฟาสฟู้ด ร้านเช่าวีดีโอและร้านค้าสะดวกซื้อในลักษณะของร้านค้าขายส่งที่ให้ส่วนลดมากกว่าปกติ) อนาคตของธุรกิจผู้ค้าปลีกไทยและพื้นที่ค้าปลีกอัตราการเช่าจะลดต่ำลง สถานการณ์ทางการตลาดของกรุงเทพฯ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าศูนย์การค้าหลายแห่งได้ปิดตัวลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงปรับร้านค้าให้เข้ากับสถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบันโดยจะใช้วิธีการเช่าพื้นที่เล็กๆขายสินค้าแฟชั่นของเลียนแบบที่เป็นนิยมอยู่และมีราคาไม่แพง, เครื่องสำอางค์, สินค้าอุปโภคบริโภคโดยมุ่งขายกับกลุ่มวัยรุ่น กลยุทธ์การขายเหล่านี้เป็นรูปแบบธุรกิจระยะสั้นที่เหมาะสมสำหรับผู้ค้าปลีกในไทยที่ไม่มีโอกาสจะปรับตัวให้ขึ้นสูงสุดในท้องตลาดได้ตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและส่งผลให้ขาดมาตรฐานทางธุรกิจและขาดแคลนเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ รวมถึงผู้ค้าปลีกคนไทยที่มีสถานะภาพทางการเงินสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ในขณะนี้มีจำนวนลดน้อยลง
รูปแบบหนึ่งของการขายปลีกส่วนใหญ่ร้านค้าใหม่ๆจะมีการขยายตัวเปิดเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น กลุ่ม เซ็นทรัล พัฒนา ได้เริ่มก่อสร้างโครงการใหม่ (ที่ธนบุรีและจังหวัดชลบุรี) หลังจากที่หยุดชะงักไปเมื่อเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้
มร. เกรย์ กล่าวว่า "การฟื้นคืนตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าในกรุงเทพฯ โดยจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลและไม่ยึดติดกับรูปแบบการค้าขายแบบเดิมของไทย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นตามลำดับและจะเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างรวดเร็วโดยจะแพร่กระจายไปทั่วประเทศไทย
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณ จิตติมา อุ่นเกษม โทร. 631-1933, 631-1842--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ