กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2560 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัล ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2560 วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2560 ณ พลับพลา ที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้แก่ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 13 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 4 สาขา ดังต่อไปนี้
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2560 จำนวน 16 สาขาอาชีพ คือ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายภาณุสิทธ์ มั่นคง จ.เพชรบูรณ์ 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ จ.กระบี่ 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายวีนัด สำราญวงศ์ จ.บุรีรัมย์ 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ จ่าสิบโทสุทิน ทองเอ็ม จ.สุโขทัย 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางสาวบัวไข เติมศิลป์ จ.ชัยภูมิ 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นางสาววาสนา กุญชรรัตน์ จ.ราชบุรี 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายกรเกียรติ พรมจวง จ.กำแพงเพชร 8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายสุทธิ มะหะเถา จ.ชลบุรี 9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นางสาวนภาภรณ์ จิวะ สุรัตน์ จ.ปทุมธานี 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นางพิกุล กิตติพล จ.ระยอง 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางสุดใจ ชมภูมี จ.พิษณุโลก 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายสมหมาย ธรรมกิจ จ.ตรัง 13) สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นายมงคล ธรดลธนสาร จ.มหาสารคาม 14) ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายเสมอ หาริวร จ.อุบลราชธานี 15) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายชาศร สาริโพธิ์ จ.อุทัยธานี และ 16) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นางสมหมาย หนูแดง จ.ลพบุรี
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560 จำนวน 13 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนานาสนุ่น จ.เพชรบูรณ์ 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนป่าคลอก จ.ภูเก็ต 3) กลุ่มเกษตรกรทำไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำไร่วังชะพลู จ.กำแพงเพชร 4) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ จ.บุรีรัมย์ 5) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มประมงเรือเล็กเก้ายอด จ.ระยอง 6) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาบ้านด่านใหม่ จ.อุบลราชธานี 7) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา จ.จันทบุรี 8) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 เต่างอยพัฒนาศึกษา จ.สกลนคร 9) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านสะเดาซ้าย จ.นครสวรรค์ 10) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานบ้านดอนรัก จ.ปัตตานี 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านจารย์ จ.สุรินทร์ 12) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลแวงใหญ่ จ.ขอนแก่น และ 13) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลน้ำเกี๋ยน จ.น่าน
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560 จำนวน 7 สหกรณ์ คือ 1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว จำกัด จ.ตรัง 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด จ.นครราชสีมา 3) สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมเนินมะปราง จำกัด จ.พิษณุโลก 4) สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางในเขตปฏิรูปที่ดินชากังราว จำกัด จ.กำแพงเพชร 5) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด จ.นครราชสีมา 6) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลพัทลุง จำกัด จ.พัทลุง และ 7) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านป่าชิง จำกัด จ.สงขลา
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2560 จำนวน 4 สาขา คือ 1) สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ได้แก่ นายรณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล 2) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายยวง เขียวนิล 3) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายจำนงค์ บุญเลิศ และ 4) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายอุทัย บุญดำ
อนึ่ง ในวันพระราชพิธีพืชมงคลนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เป็น "วันเกษตรกร"ประจำปีด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานในการประกอบพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรือง แก่อาชีพของตน การเกษตรนับเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ในวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา