MOU 3ฝ่าย เปิดตัวเครือข่าย LoRaWAN ครั้งแรกในไทยเพื่อรองรับ smart city ขอนแก่น

ข่าวทั่วไป Tuesday April 25, 2017 16:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--กสท โทรคมนาคม Thailand IOT Consortium ร่วมลงนาม MOU กับเทศบาลนครขอนแก่นและบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง เร่งผลักดัน smart city ตามแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ด้วยเครือข่ายสื่อสารระยะไกลอัจฉริยะ LoRaWAN และโครงการนำร่องเทคโนโลยี IoT เช่น Smart Parking, Smart Pollution Metering, Disaster warning โดยการสนับสนุนจากภาคีความร่วมมือ ได้แก่ บมจ. กสท โทรคมนาคม หรือCAT/โปรแกรม ITAP สวทช/Gravitech/Acentech/Techlog/JumpUp ให้มี Command Center ตั้งที่ทำการเทศบาลนครขอนแก่น พร้อมตั้งคณะทำงานคัดเลือกภาคเอกชนที่มี solutionsสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมงานผ่าน MOU ฉบับนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมนครเป็งจาล นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ลงนามความร่วมมือโครงการ KHON KAEN SMART CITY : Internet of Thingร่วมกับ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด และ Thailand IoT Consortium โดยมี นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด และนายกำพล โชคสุนทสุทธิ์ ประธาน Thailand IoT Consortium ร่วมลงนาม โดยเทศบาลนครขอนแก่น และเครือข่าย วางแผนจะดำเนินการ 3 โครงการนำร่อง ได้แก่ (1) โครงการ Smart Parking อำนวยความสะดวกในการจอดรถ (2) โครงการ Smart Pollution ตรวจสอบมลภาวะทางอากาศ โดยจะมีเซ็นเซอร์ติดที่รถซิตี้บัส จำนวน 10 คัน เพื่อจะเก็บรวบรวมข้อมูลในขณะรถวิ่ง ว่าพื้นที่ใดของเมืองมีค่าฝุ่นละอองสูง และ (3) โครงการแก้ไขป้องกันน้ำท่วม โดยจะใช้มีเซ็นเซอร์ติดตั้งภายในท่อระบายน้ำ เพื่อบอกสถานะพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น เซ็นเซอร์จะส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการป้องกันน้ำท่วม ด้าน นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนด้าน Smart city จะส่งผลดีในหลายมิติ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา ฯลฯ และเมื่อเห็นเป็นรูปธรรม นักธุรกิจที่จะลงทุนในภาคอีสาน จะนำมาประกอบการตัดสินใจว่าเมืองไหนที่รองรับความสะดวกในแง่ของ IOT (ยุคของอินเทอร์เน็ต) เพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนในจังหวัดขอนแก่น ให้กลุ่มนักธุรกิจ เมื่อมีระบบดังกล่าวรองรับ ผู้ที่จะมาลงทุนก็จะเลือกเมืองที่มีพื้นฐานเรื่องนี้ และส่งผลดีในแง่ของเศรษฐกิจ ส่วนในด้านของงบประมาณมีอยู่ 4 ช่องทาง คือ งบของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งขณะนี้ลงทุนที่จังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ อาจจะมีบางโครงการที่สามารถจัดสรรให้กับจังหวัดขอนแก่นเพื่อจัดทำบางโครงการได้ ส่วนที่ 2 งบจาก กสทช. โดยการผลักดันจากเครือข่ายในการขออนุมัติงบประมาณ ส่วนที่3 งบประมาณจากยุทธศาสตร์จังหวัดของปีงบประมาณ 2561ซึ่งปัจจุบันอนุมัติแล้ว 225 ล้านบาท และส่วนสุดท้าย งบประมาณของเทศบาลนครขอนแก่น นายกเทศมนตรีฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเป็นไปตามที่กล่าวมาข้างต้น จังหวัดขอนแก่นจะดำเนินการขับเคลื่อนเรื่อง Smart city อย่างสมบูรณ์แบบโดยนำเงินงบประมาณมาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะนี้ บางโครงการเทศบาลฯ สามารถดำเนินการโดยไม่ได้รองบประมาณจาก 4 ช่องทาง เช่น Smart Mobility ระบบขนส่งมวลชนรางเบา เป็นการระดมทุนจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จากความร่วมมือของประชาชน ตลาดทุน สถาบันการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุป เทศบาลฯ จะนำ 3 โครงการดังกล่าว นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กสทช. ในการขออนุมัติโครงการนำร่อง ในพื้นที่ของเทศบาลนครขอนแก่น โดยคาดว่าจะเห็นผลการดำเนินโครงการดังกล่าวภายในระยะ 3 เดือน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ