คุณภาพชีวิตแรงงานไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday May 2, 2017 17:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--นิด้าโพล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" เนื่องด้วย วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เรื่อง "คุณภาพชีวิตแรงงานไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2560 จากประชาชนที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคและระดับการศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของการทำงานในด้านต่าง ๆ และสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านต่าง ๆ ระบุคะแนน 0 – 10 คะแนน โดยให้ 0 คะแนน หมายถึง ไม่มีความพึงพอใจเลย 10 คะแนนหมายถึง พึงพอใจมากที่สุด ในภาพรวม พบว่า ผู้ใช้แรงงาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ 7.41 (พอใจค่อนข้างมาก) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านเพื่อนร่วมงาน หรือ เพื่อนร่วมอาชีพ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.88 (พอใจค่อนข้างมาก) รองลงมา คือ ด้านลักษณะงานที่ทำ ตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.73 (พอใจค่อนข้างมาก) ด้านสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ (สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.53 (พอใจค่อนข้างมาก) ด้านผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน (หรือผู้มารับบริการ กรณีทำอาชีพอิสระรับจ้าง) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.40 (พอใจค่อนข้างมาก) ด้านความสมดุลระหว่าง การทำงาน การพักผ่อน และชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.38 (พอใจค่อนข้างมาก) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.06 (พอใจค่อนข้างมาก) และด้านความมั่งคง โอกาส และความก้าวหน้าในอาชีพ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 6.89 (พอใจค่อนข้างมาก) สำหรับความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในภาพรวมของการทำงาน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 34.08 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 42.24 ระบุว่า เหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 23.68 ระบุว่า แย่ลง ด้านความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทยในปัจจุบัน ภายหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC) ปี 2558 พบว่า ผู้ใช้แรงงาน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.04 ระบุว่า ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก รองลงมา ร้อยละ 28.40 ระบุว่า แรงงานไทย ถูกทดแทนด้วยแรงงานต่างด้าวในแถบอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 15.76 ระบุว่า แรงงานไทยไม่ได้รับการพัฒนา ขาดการเอาใจใส่ หรือให้ความสำคัญ ร้อยละ 8.80 ระบุว่า แรงงานไทย ได้รับการพัฒนาด้านภาษา ฝีมือ ทักษะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในแถบภูมิภาคอาเซียน ร้อยละ 6.08 ระบุว่า แรงงานไทย มีโอกาสได้ไปทำงานในแถบประเทศอาเซียนมากขึ้น ร้อยละ 0.64 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ งานที่หายากมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว และค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่สอดรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า แรงงานไทยมีความมั่นคงและสวัสดิการที่ดีขึ้น และได้รับการกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย พบว่า ผู้ใช้แรงงาน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ระบุว่า ควรพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ รองลงมา ร้อยละ 42.08 ระบุว่า ควรหมั่นตรวจสอบ ควบคุม ดูแล บริษัท ผู้ประกอบการ นายจ้าง ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน หรือเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ ร้อยละ 39.52 ระบุว่า ควรปรับปรุงหรือแก้ไขข้อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 34.24 ระบุว่า ควรส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านความรู้ ฝีมือ ให้กับแรงงานไทย ร้อยละ 32.64 ระบุว่า ควรเร่งแก้ไขปัญหาการว่างงาน ส่งเสริมการมีงานทำ การจัดหางาน การออกบูธประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน ร้อยละ 26.24 ระบุว่า ควรเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 1.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ลดค่าครองชีพ, เร่งจัดหาแหล่งที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ไม่มีอาชีพ ควรมีการช่วยเหลือจากภาครัฐให้กับผู้ที่ปลดเกษียณหรือมีรายได้น้อย, และควรกระจายแรงงานไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และร้อยละ 3.52 ไม่มี/ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.40 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 25.52 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.76 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 63.12 เป็นเพศชาย ร้อยละ 36.56 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.32 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 4.32 มีอายุ 18 – 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 28.08 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 30.88 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 29.36 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 6.64 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 95.04 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.12 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.80 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 30.64 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 62.88 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.28 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 24.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.64 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.12 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 39.36 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 7.04 ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง ห้างร้าน (รายเดือน) ร้อยละ 37.84 ประกอบอาชีพเป็นผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไปแบบรายวันหรือเหมาจ่าย ร้อยละ 12.96 ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นรับจ้าง/งานบริการ เช่น ขับรถแท็กซี่ ขับวินมอเตอร์ไซค์ งานบริการให้กับลูกค้า เป็นต้น และร้อยละ 2.80 เป็นพนักงาน/ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 25.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 37.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 14.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.76 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.88 ไม่ระบุรายได้ 1. ท่านมีความพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด โปรดระบุคะแนน 0 – 10 คะแนน โดย 0 คะแนน หมายถึง ไม่มีความพึงพอใจเลย 10 คะแนน หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด คุณภาพชีวิตการทำงานในด้านต่าง ๆ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การแปลผล ความพึงพอใจ 1.1 เพื่อนร่วมงาน หรือ เพื่อนร่วมอาชีพ 7.88 1.97 พอใจค่อนข้างมาก 1.2 ลักษณะงานที่ทำ ตรงกับความต้องการ 7.73 2.05 พอใจค่อนข้างมาก 1.3 สภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ (สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ) 7.53 2.06 พอใจค่อนข้างมาก 1.4 ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน (หรือผู้มารับบริการ กรณีทำอาชีพอิสระรับจ้าง) 7.40 2.20 พอใจค่อนข้างมาก 1.5 ความสมดุลระหว่าง การทำงาน การพักผ่อน และชีวิตส่วนตัว 7.38 2.14 พอใจค่อนข้างมาก 1.6 ค่าตอบแทนและสวัสดิการ (เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ) 7.06 2.18 พอใจค่อนข้างมาก 1.7 ความมั่งคง โอกาส และความก้าวหน้าในอาชีพ 6.89 2.27 พอใจค่อนข้างมาก ภาพรวม 7.41 1.57 พอใจค่อนข้างมาก 2.เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ท่านคิดว่าคุณภาพชีวิตในภาพรวมของการทำงาน เป็นอย่างไร ความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในภาพรวมของการทำงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ร้อยละ ดีขึ้น 34.08 เหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง 42.24 แย่ลง 23.68 รวม 100.00 3.ภายหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC)ปี 2558 ท่านคิดว่า ปัจจุบันคุณภาพชีวิตแรงงานไทยเป็นอย่างไร (ตอบ 1 ข้อ) ความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทยในปัจจุบัน ร้อยละ ภายหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC)ปี 2558 ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก 39.04 แรงงานไทยถูกทดแทนด้วยแรงงานต่างด้าวในแถบอาเซียนเพิ่มมากขึ้น 28.40 แรงงานไทยไม่ได้รับการพัฒนา ขาดการเอาใจใส่ หรือให้ความสำคัญ 15.76 แรงงานไทย ได้รับการพัฒนาด้านภาษา ฝีมือ ทักษะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในแถบภูมิภาคอาเซียน 8.80 แรงงานไทย มีโอกาสได้ไปทำงานในแถบประเทศอาเซียนมากขึ้น 6.08 อื่น ๆ ได้แก่ งานที่หายากมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว และค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่สอดรับกับค่าครองชีพ 0.64 ที่สูงขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า แรงงานไทยมีความมั่นคงและสวัสดิการที่ดีขึ้น และได้รับการกระตุ้น ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.28 รวม 100.00 4.สิ่งที่ท่านต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย ร้อยละ ควรพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ 50.00 ควรหมั่นตรวจสอบ ควบคุม ดูแล บริษัท ผู้ประกอบการ นายจ้าง ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน หรือเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ 42.08 ควรปรับปรุงหรือแก้ไขข้อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน 39.52 ควรส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านความรู้ ฝีมือ ให้กับแรงงานไทย 34.24 ควรเร่งแก้ไขปัญหาการว่างงาน ส่งเสริมการมีงานทำ การจัดหางาน การออกบูธประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน 32.64 ควรเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว 26.24 อื่น ๆ ได้แก่ ควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ลดค่าครองชีพ, เร่งจัดหาแหล่งที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ไม่มีอาชีพ , 1.20 ควรมีการช่วยเหลือจากภาครัฐให้กับผู้ที่ปลดเกษียณหรือมีรายได้น้อย, และควรกระจายแรงงานไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่มี/ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.52 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง 1. ตารางที่1แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ กรุงเทพฯ 105 8.40 ปริมณฑลและภาคกลาง 319 25.52 ภาคเหนือ 227 18.16 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 422 33.76 ภาคใต้ 177 14.16 รวม 1,250 100.00 2. ตารางที่2แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 789 63.12 หญิง 457 36.56 เพศทางเลือก 4 0.32 รวม 1,250 100.00 3. ตารางที่3แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน ร้อยละ 18 – 25 ปี 54 4.32 26 – 35 ปี 351 28.08 36 – 45 ปี 386 30.88 46 – 59 ปี 367 29.36 60 ปีขึ้นไป 83 6.64 ไม่ระบุ 9 0.72 รวม 1,250 100.00 4. ตารางที่4แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา ศาสนา จำนวน ร้อยละ พุทธ 1,188 95.04 อิสลาม 39 3.12 คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ 10 0.80 ไม่ระบุ 13 1.04 รวม 1,250 100.00 5. ตารางที่5แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ โสด 383 30.64 สมรส 786 62.88 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 66 5.28 ไม่ระบุ 15 1.20 รวม 1,250 100.00 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ) 6. ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 312 24.96 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 403 32.24 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 133 10.64 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 339 27.12 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 43 3.44 ไม่ระบุ 20 1.60 รวม 1,250 100.00 7. ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ พนักงานบริษัทเอกชน 492 39.36 ลูกจ้าง ห้างร้าน (รายเดือน) 88 7.04 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไปแบบรายวันหรือเหมาจ่าย 473 37.84 อาชีพอิสระที่เป็นรับจ้าง/งานบริการ เช่น ขับรถแท็กซี่ 162 12.96 ขับวินมอเตอร์ไซค์ งานบริการให้กับลูกค้าเป็นต้น พนักงาน/ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ 35 2.80 รวม 1,250 100.00 8. ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ ไม่เกิน10,000 319 25.52 10,001 – 20,000 474 37.92 20,001 – 30,000 178 14.24 30,001 – 40,000 97 7.76 มากกว่า 40,001 ขึ้นไป 96 7.68 ไม่ระบุ 86 6.88 รวม 1,250 100.00

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ