NIDA Poll เรื่อง “ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย”

ข่าวทั่วไป Tuesday May 9, 2017 12:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2560 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรุนแรงเท่ากับ 7.37 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.35) หรือมีความรุนแรงอยู่ในระดับมาก ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.56 ระบุว่า สถานการณ์แย่ลง รองลงมา ร้อยละ 35.12 ระบุว่า เหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 26.32 ระบุว่า สถานการณ์ ดีขึ้น และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.24 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีความจริงจังในการปราบปรามปัญหาการค้ามนุษย์ รองลงมา ร้อยละ 50.48 ระบุว่า การเพิ่มบทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐหากตรวจพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 27.76 ระบุว่า การสร้างเครือข่ายจากประชาชน ในชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาครัฐในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 23.76 ระบุว่า การพัฒนาฐานข้อมูลในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ร้อยละ 23.52 ระบุว่า ภาครัฐควรสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับผลเสียที่เกิดจากปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 22.00 ระบุว่า การเพิ่มการจัดบริการทางสังคมให้ดีขึ้นและสร้างระบบในการดูแลผู้เสียหายจากปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 4.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายให้จริงจัง โดยเฉพาะบทลงโทษกับผู้ซื้อหรือผู้จัดหาค้ามนุษย์ ควรมีการร่วมมือ จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชน ควรนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบให้ถูกต้องตามกฎหมาย ควรปลูกฝังคุณธรรม โดยเริ่มจากสถาบันครอบครัว และเร่งแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับหน่วยงานที่ควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.24 ระบุว่าเป็น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองลงมา ร้อยละ 52.56 ระบุว่าเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 41.12 ระบุว่าเป็น ประชาชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ร้อยละ 40.40 ระบุว่าเป็น กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 39.28 ระบุว่าเป็น กระทรวงแรงงาน ร้อยละ 35.92 ระบุว่าเป็น กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 35.68 ระบุว่าเป็น กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 32.16 ระบุว่าเป็น กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 29.76 ระบุว่าเป็น สำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 29.36 ระบุว่าเป็น กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 28.16 ระบุว่าเป็น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 0.56 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกลาโหม และ คสช. และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 25.60 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.32 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.52 เป็นเพศชาย และร้อยละ 42.48 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.12 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 7.44 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 9.84 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 49.76 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 29.12 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.44 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.56 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 18.16 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.96 สมรสแล้ว ร้อยละ 7.84 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 32.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.08 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.08 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.56 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.72 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.44 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.16 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.24 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 15.12 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 20.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.40 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.12 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ