งานประเพณีสารทเดือนสิบ

ข่าวทั่วไป Thursday September 14, 2000 14:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--ททท.
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่รับมาจากอินเดีย เป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจากประเพณี "เปตพลี" ของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งลูกหลาน
จะจัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายและกระทำเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี
ประเพณีสารทเดือนสิบจะเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วมาจากนรก บางคนก็ประกอบพิธีใน
วันนี้ บางคนก็ยกไปประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ การประกอบพิธีในวันนี้ กระทำเพียงจัดภัตตาหาร ไปทำบุญที่วัดเป็นการต้อนรับ
บรรพบุรุษและญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น
การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เป็นวันที่ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า "วันจ่าย"
เป็นวันเตรียมสิ่งของสำหรับจัดหมรับ โดยหาซื้อได้จากท้องตลาด ซึ่งในนี้จะมีการซื้อขายอุปกรณ์ในการจัดหมรับ กันมากมายเป็นพิเศษ
หัวใจสำคัญของหมรับ คือ ขนม 5 อย่าง อันเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีสารทเดือนสิบ ขนม 5 อย่าง มีดังนี้คือ ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน
แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับบุรพชนใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพตามคติทางพุทธศาสนา ขนมกง (ขนมไข่ปลา)
เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใช้สอย ขนมบ้า เป็นสัญลักษณะแทน สะบ้า (สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่น
สะบ้าในวันสงกรานต์) แต่ผู้สูงอายุบางท่านกล่าวว่าขนมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของหมรับ มี 6 อย่าง คือ ขนมลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทน ฟูก หมอน
อีกอย่างหนึ่งด้วย
การประกอบพิธีมีขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ ตามขั้นตอนดังนี้
1. การยกหมรับ และการถวายภัตตาหาร พิธีสารทจะเริ่มขึ้นโดยการนำหมรับที่จัดเตรียมไว้ ในวันแรม 13 ค่ำ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด
เรียกว่า "วันยกหมรับ" ซึ่งจะนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย ส่วนการเลือกวัดที่จะไปทำบุญและยกหมรับไปนั้น ก็จะเป็นวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่เคยไปเผา
บรรพบุรุษหรืออาจเป็นวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม
2. การตั้งเปรต และชิงเปรต เมื่อยกหมรับและถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์แล้ว ก็จะมีการ "ตั้งเปรต" การตั้งเปรตแต่ดั้งเดิมกระทำโดย
การนำเอาขนส่วนหนึ่งไปวางไว้ในที่ต่างๆ ตรงทางเข้าวัดริมกำแพงวัด หรือตามโคนต้นไม้ เพื่อแผ่นส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่ได้มาร่วม
ทำบุญด้วย ส่วนการตั้งเปรตในระยะหลังได้มีการสร้างร้านสูง เรียกว่า "หลาเปรต" หรือ "ศาลาเปรต" แล้วนำขนมไปวางไว้บนร้านนั้นเมื่อนำขนม
วางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะนำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จับเพื่อสวดบังสุกุลมาผูกไว้กับหลาเปรตเพื่อแผ่ส่วนบุญกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นเป็นช่วง
เวลาที่เรียกว่า "ชิงเปรต" คือ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ก็เก็บสายสิญจน์ ทั้งคนเฒ่า แก่ หนุ่ม สาว และเด็กๆ ก็จะกรูเข้าไปแย่งขนมที่ตั้งเปรต เนื่องมาจาก
ความเชื่อที่ว่าของที่เหลือจากเซ่นไหว้พรรพชน ถ้าใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
3. การฉลองหมรับ และการบังสุกุล การฉลองหมรับและการบังสุกุล กระทำในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเรียกว่า "วันฉลองหมรับ" มีการทำบุญ
เลี้ยงพระและการบังสุกุลเพื่ออุทิศแก่กุศลและบรรพบุรุษเป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องกลับไปยังเมืองนรก การทำบุญในวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง
เพราะหากมิได้ทำบุญในวันนี้ บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะอดยากทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ดูจะกลายเป็นคนอกตัญญู
งานประณีเทศกาลเดือนสิบ
กิจรรมภายในงาน เวลา / สถานที่จัดงาน กำหนดการจัดงาน
- อัญเชิญขบวนแห่หมรับ ทองคำรางวัล เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป 27 กันยายน 2543
พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จากศาลาประตูหกไปตามถนน
สยามบรมราชกุมารี พร้อมขบวนแห่หมรับอัน ราชดำเนินสู่สวนสมเด็จพระศรี
นครินทร์ 84 อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช
- การแสดงละครประกอบแสงเสียงชุด เวลา 19.00-21.00 น. 27 กันยายน-
"นิรมิตร นาฎการ สืบสวนเมืองนคร" สนามหน้าเมือง อ.เมือง 1 ตุลาคม 2543
จ.นครศรีธรรมราช
- กิจกรรม "นั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์" เวลา 09.00 และ 16.00 น. 22 กันยายน-
ชื่นชมแหล่งอารยธรรม ย้อนรอยอดีตเมืองนคร จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 1 ตุลาคม 2543
สู่ศาลาประดู่หก อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช
- ชมนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวพร้อม สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 23 22 กันยายน-
ชมการฉายสไลด์มัลติวิชั่น สนามหน้าเมือง อ.เมือง 1 ตุลาคม 2543
จ.นครศรีธรรมราช
- ชมการแสดงทางวัฒนธรรม การออก ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 22 กันยายน-
ร้านนิทรรศการโครงการสำคัญมหรสพต่างๆ 1 ตุลาคม 2543
ต่าง ๆ มากมาย
- ร่วมทำบุญ วันสารทเดือนสิบ ชมพิธีกรรม ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร 27-28 กันยายน 2543
การร่วมทำบุญตามประเพณีโบราณของ และทุกวัดในเมืองนคร
ชาวนครยกหมรับ และตั้งเปรต
ทำบุญอุทิศแด่ผู้มีพระคุณ
- ตลาดเดือนสิบ ซื้อหาและสาธิตการทำ ณ ศาลาประตูหก 27-27 กันยายน 2543
ขนมการจัดหมรับ--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ