กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และฟุตบอลไทยลีก 2017" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6 – 9 พฤษภาคม 2560 จากประชาชน ทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และฟุตบอลไทยลีก 2017 และทีมที่ชื่นชอบ การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.3
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงการติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ 2017 (Premier League 2017) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.40 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ 2017 ขณะที่ ร้อยละ 22.60 ระบุว่า ติดตาม ซึ่งในจำนวนประชาชนที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.62 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว ขณะที่ ร้อยละ 29.38 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ
เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจในปี 2558 พบว่า มีสัดส่วนผู้ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก ร้อยละ 27.39 เป็น ร้อยละ 29.38
สำหรับ ทีมที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ในฤดูกาล 2017 ที่กำลังจะปิดฉากลง พบว่า ประชาชน ที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.16 ระบุว่าชื่นชอบทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (Manchester United) มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 27.25 ระบุว่าชื่นชอบทีม ลิเวอร์พูล (Liverpool) ร้อยละ 11.33 ระบุว่าชื่นชอบทีม เชลซี (Chelsea) ร้อยละ 8.67 ระบุว่าชื่นชอบทีม อาร์เซนอล (Arsenal) ร้อยละ 3.54 ระบุว่าชื่นชอบทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (Manchester City) ร้อยละ 3.01 ระบุว่าชื่นชอบทีม เลสเตอร์ ซิตี (Leicester City) ร้อยละ 1.24 ระบุว่าชื่นชอบทีม อื่น ๆ ได้แก่ ทอตนัมฮอตสเปอร์ (Tottenham Hotspur), เอฟเวอร์ตัน (Everton), สวอนซี ซิตี (Swansea City), เบิร์นลีย์ (Burnley), เวสต์ บรอมวิช อัลเบียน (West Bromwich Albion) และร้อยละ 10.80 ระบุว่า ไม่มีทีมที่ชื่นชอบ
จากการเปรียบเทียบผล 3 ปี พบว่า ทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ที่คนไทยชื่นชอบลำดับ 1 และ 2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล ในขณะที่ทีมเชลซี ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 และทีม อาร์เซนอล ได้รับคะแนนความนิยมลดลง เล็กน้อยลงมาอยู่อันดับที่ 4
เมื่อถามถึงการติดตามฟุตบอลไทยลีก 2017 (Toyota Thai League 2017) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.76 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม ขณะที่ ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ติดตาม ซึ่งในจำนวนประชาชนที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.86 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว ขณะที่ ร้อยละ 17.14 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากผลการสำรวจเมื่อ ปี 2559 พบว่า มีสัดส่วนผู้ที่ติดตามสม่ำเสมอลดลงเล็กน้อย
สำหรับทีมที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 2017 พบว่า ประชาชนที่ติดตามส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.29 ระบุว่า ชื่นชอบทีมเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด รองลงมา ร้อยละ 25.07 ระบุว่า ชื่นชอบทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ร้อยละ 3.68 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชลบุรี เอฟซี ร้อยละ 2.69 ระบุว่า ชื่นชอบทีมบางกอกกล๊าส เอฟซี ร้อยละ 2.27 ระบุว่า ชื่นชอบทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ร้อยละ 2.27 ระบุว่า ชื่นชอบทีมเชียงราย ยูไนเต็ด ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ชื่นชอบทีมการท่าเรือ เอฟซี ร้อยละ 1.70 ระบุว่า ชื่นชอบทีมอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด ร้อยละ 1.42 ระบุว่า ชื่นชอบทีมสุพรรณบุรี เอฟซี ร้อยละ 1.13 ระบุว่า ชื่นชอบทีมแบงค็อก ยูไนเต็ด ร้อยละ 3.25 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี, ศรีสะเกษ เอฟซี, บีอีซี เทโรศาสน, ราชนาวี เอฟซี, พัทยา ยูไนเต็ด, สุโขทัย เอฟซี, และซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ ขณะที่ ร้อยละ 21.39 ไม่มีทีมใดที่ ชื่นชอบเป็นพิเศษ
เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจย้อนหลัง 3 ปี จะเห็นได้ว่า คะแนนความนิยม เอสซีจี เมืองทองได้รับคะแนนความนิยมสูงขึ้นตามลำดับ ในขณะที่คะแนนความนิยมของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทีมชลบุรี เอฟซี และบางกอกกล๊าส เอฟซี ลดลงเล็กน้อย
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.76 มีภูมิลำเนาอยู่ กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.56 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.00 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคเหนือ ร้อยละ 33.56 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.12 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคใต้ ร้อยละ 56.08 เป็นเพศ ชาย ร้อยละ 43.88 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 0.04 เป็นเพศทางเลือก
ตัวอย่างร้อยละ 9.16 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 15.60 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.40 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 30.84 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.52 มีอายุมากว่า 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.48 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 91.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.36 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 5.28 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 25.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.48 สถานภาพสมรส ร้อยละ 4.88 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และ ร้อยละ 6.00 ไม่ระบุสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 26.92 ระบุว่า จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.36 ระบุว่าจบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.28 ระบุว่าจบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.72 ระบุว่าจบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.84 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.88 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.84 ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.84 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.16 ประกอบอาชีพ เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.88 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.00 ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ15.08 ประกอบอาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.72 ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.12 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 7.36 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.96 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.12 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 20.84 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 มีร้อยละ 11.24 รายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 ร้อยละ 5.88 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 8.52 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 ขึ้นไป และร้อยละ 19.44 ไม่ระบุรายได้