กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
กว่า 500 องค์กรการกุศล และนักลงทุนเพื่อสังคม ร่วมงานประชุม เอวีพีเอ็น เดือนมิถุนายนนี้ ครั้งแรกของกรุงเทพฯ กับงานประชุมการลงทุนเพื่อสังคม ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในหลากหลายภาคส่วน
ครั้งแรกของกรุงเทพฯ ที่จะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม เอเชียน เวนเจอร์ ฟิแลนโธรพี เน็ตเวิร์ค (Asian Venture Philanthropy Network - AVPN) หรือ เอวีพีเอ็น งานรวมตัวเหล่านักลงทุนเพื่อสังคมระดับภูมิภาคเอเชียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของ โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อคนไทย ซึ่งเชิญนักลงทุนเพื่อสังคมกว่า 500 คน จากทั่วโลก มาร่วมงานเพื่อส่งเสริมการเติบโตของระบบนิเวศของภาคสังคมในเอเชีย การประชุมนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ความร่วมมือเพื่อสร้างผลกระทบ (Collaboration for Impact) ที่สะท้อนถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาคส่วน และอาณาเขตพรมแดนต่างๆ เพื่อรับมือรกับความท้าทายทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
การประชุม เอวีพีเอ็น ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ห้า มีตัวแทนเข้าร่วม กว่า 30 ประเทศ โดยคาดว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากมูลนิธินานาชาติต่างๆ เช่น มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพ สำนักงานด้านครอบครัวในท้องถิ่น และ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกุศลและการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ รวมทั้งบริษัทระหว่างประเทศ ได้แก่ โคคา-โคล่า กูเกิ้ล และเครดิต สวิส นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานจากรัฐบาล เช่น องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย
"มูลนิธิเพื่อคนไทยมีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เครือข่ายการกุศลคนรุ่นใหม่ สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น มูลนิธิอโชก้า และเครือข่ายจิตอาสา เพื่อจัดการประชุม เอวีพีเอ็น อันทรงเกียรติในประเทศไทย" นายวิเชียร พงศธร ประธานกลุ่มบริษัทพรีเมียร์และผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อคนไทย กล่าว "เราเห็นว่าการประชุมนี้เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนการเติบโตของภาคสังคมในประเทศไทย เรามุ่งที่จะแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกระดับท้องถิ่นในประเทศไทยกับเครือข่ายทั่วโลก รวมถึงเรียนรู้ และได้รับแรงบันดาลใจจากผู้คนที่ความคิดเหมือนกันทั่วโลก"
การประชุม 3 วัน พร้อมด้วยวิทยากรกว่า 100 คน ประกอบด้วย ผู้นำทางความคิด นักสร้างสรรค์ และผู้เชื่ยวชาญจากทั่วทั้งภูมิภาค ประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในการขับเคลื่อนภาคสังคมของประเทศไทย ได้แก่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และ ดร.บัณฑิต นิจถาวร ประธานและประธานกรรมการบริหาร สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ให้เกียรติมาร่วมอภิปรายถึง ตัวอย่างแพลตฟอร์มสร้างความร่วมมือสำหรับการลงทุนเพื่อสังคมในประเทศไทย การประชุมจะมุ่งเน้นในเรื่องความร่วมมือในภาคสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ ผ่าน 40 การประชุมย่อยๆ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น นวัตกรรมที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการศึกษา เสถียรภาพในด้านอาหารและโภชนาการ และเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ดี
นางนัยนา ซูบเบอร์วัล บัตตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอวีพีเอ็น คาดหวังอย่างมากกับการประชุมในปีนี้ "ด้วยเนื้อหาของงานที่น่าตื่นเต้น รวมถึงเหล่าผู้แทนอภิปรายที่ทรงพลัง จะทำให้การประชุมของเราสามารถมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครในการสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน ระหว่างนักลงทุนเพื่อสังคม ต่อไปหลังจากการประชุม 3 วันนี้สิ้นสุดลง" นางบัตตรากล่าว "สำหรับ 4 ปี ที่ผ่านมา เราได้จัดการประชุมขึ้นที่ประเทศสิงค์โปร์ และประเทศฮ่องกง จนกลายเป็นความร่วมมืออันทรงพลังซึ่งจะช่วยกระตุ้นพลังจากระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ในการสร้างระบบนิเวศแห่งการลงทุนเพื่อสังคม เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่จะเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในปีนี้"
หัวข้อทั้งหมด ของการประชุมเริ่มด้วยการเปิดเผยรายงานการวิจัยล่าสุดของ เอวีพีเอ็น ที่ชื่อว่า ภูมิทัศน์การลงทุนเพื่อสังคมในเอเชียซึ่งเป็นการศึกษาแบบองค์รวมด้านมูลนิธิและตลาดการลงทุนเพื่อสังคมจาก 14 ประเทศในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โดยจะมีการเปิดตัวรายงานนี้ในวันที่ 7 มิถุนายน โดยจะนำเสนอภาพรวมของตลาด รวมถึงชี้ให้ถึงโอกาส และความท้าทายต่างๆ เพื่อช่วยนักลงทุนเพื่อสังคมในการสร้างผลกระทบในการระดมเงินทุน
การประชุม เอวีพีเอ็น จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์สำหรับวิสาหกิจท้องถิ่น ในการแสดงศักยภาพของตนท่ามกลางองค์กรต่างๆ รวม 30 องค์กร ต่อตัวแทนนักลงทุนระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงพิเศษของการลงทุน ในชื่อว่า ดีล แชร์ ไลฟ (Deal Share Live) ที่จะนำเสนอการลงทุนที่โดดเด่นในท้องถิ่น ได้แก่ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ไชลด์ส ดรีม ฟาว์นเดย์ชัน (Child's Dream Foundation) เลิร์น เอ็ดดูเคชัน (Learn Education) โซเชียลกีฟเวอร์ (Socialgiver) ดิ เอเชีย ฟาว์นเดย์ชัน (The Asia Foundation) ดิ อินเทอร์เน็ต เอ็ดดูเคชัน (The Internet Education) และ รีเสิร์ช แล็ป (Research Lab) รวมถึงโรงเรียนเยาววิทย์ และอีก 23 องค์กรนานาชาติ โดยผู้ประกอบการทั้ง 30 ท่าน กำลังมองหาทุนรวมกันทั้งหมดจำนวน 28.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ กี่บาทไทย???? จากเหล่านักลงทุน เช่น มูลนิธิเพื่อคนไทย (Khon Thai Foundation) มูลนิธิแอพนิค (Apnic Foundation) กรมการค้าต่างประเทศ (DFAT) แคร์ อินเตอร์แนชันนัล (Care International) อิมแพค ฮับ (Impact Hub) เครือข่ายการกุศลคนรุ่นใหม่ (Thai Young Philanthropist network) มูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) และ มูลนิธิศุภนิมิต (World Vision International)
ในงานยังมีกิจกรรมที่จัดควบคู่ไปกับการประชุมเอวีพีเอ็น คืองาน กู๊ด โซไซตี้ เอ็กซ์โปเป็นความร่วมมือทางสังคมของกลุ่มองค์กรไทย ที่จัดขึ้นในวันที่ 9 – 11 มิถุนายน ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งจัดแสดงผลงานขององค์กรทางสังคมกว่า 80 องค์กร งานแสดงนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักลงทุนเพื่อสังคม และผู้ปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นให้คนไทยทุกคน มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในประเทศไทย ผ่านแพลตฟอร์มนวัตกรรมต่างๆ
เอวีพีเอ็น เป็นเครือข่ายของเหล่าผู้บริจาคที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงค์โปร์ เอวีพีเอ็น มุ่งมั่นที่จะสร้างชุมชนด้านการกุศล และการลงทุนเพื่อสังคมที่มีความเคลื่อนไหวและทรงพลังทั่วทวีปเอเชีย พันธกิจของเอวีพีเอ็น คือการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างในเชิงกลยุทธ์ ความร่วมมือ แนวทางที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ด้านการกุศล และการลงทุนเพื่อสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพยากรจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการจัดการปัญหาและความท้าทายทางสังคมที่ภูมิภาคเอเชียกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่www.AVPN.asia