พิษร้ายควันบุหรี่...ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

ข่าวทั่วไป Thursday May 25, 2017 13:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--mascotcommunication ในสังคมปัจจุบันหลายคนอาจจะมองข้ามภัยร้ายใกล้ตัว ที่ใครๆหลายคนต่างมองข้ามว่า "บุหรี่" มีพิษภัยร้ายแรงขนาดไหน ภัยเงียบใกล้ตัวที่แฝงความน่ากลัวมายังตัวคุณและคนรอบข้างอย่างไม่รู้ตัว เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วย นิโคติน (สารเสพติด), สารเคมี 7,000 ชนิด, สารพิษ มากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็ง มากกว่า 70 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่บั่นทอนชีวิตให้สั้นลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง(second hand smoker) ถึงแม้จะไม่ได้สูบเองก็ตาม แต่พิษร้ายจากควันของบุหรี่สามารถสร้างความอันตรายไม่ต่างกับสูบด้วยตัวเอง โดยเฉพาะ หญิงมีครรภ์ ทารกและเด็กจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่หรือสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ เพราะจะทำให้เลือดนั้นได้ผ่านรกได้น้อย ส่งผลต่อทารกในครรภ์นั้นได้รับสารอาหารน้อยลงกว่าปกติ เสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือทำให้ทารกแรกคลอดตัวเล็กมีน้ำหนักน้อยลงตามไป และปริมาณออกซิเจนที่จะเข้าสู่สมองลดลงตามไปด้วย หากนิโคตินสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในรกได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อสมองของทารกในครรภ์ทำให้มีผลต่อสติปัญญาและพฤติกรรมเด็กอีกด้วย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์อายุรกรรมโรคมะเร็ง โรงพยาบาลวัฒโนส โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า มะเร็งปอด ถือเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย จากสถิติทั่วโลกล่าสุดพบว่าทุกปีมีคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดปีละ 1.8 ล้านคน ในประเทศไทยมะเร็งปอดถือเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง แม้ว่ามะเร็งปอดไม่ได้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด แต่มะเร็งปอดนั้นเป็นมะเร็งที่มีอัตรากการเสียชีวิต อันดับ 1 เนื่องจากมะเร็งปอดเป็นโรคร้ายแรง และมักพบมะเร็งเมื่อเป็นระยะกระจาย แม้โรคมะเร็งอื่นๆที่มีคนเป็นกันเยอะกว่า เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมากแต่มะเร็งเหล่านี้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่มะเร็งปอดเป็นแล้วเสียชีวิตได้เยอะกว่าดังนั้นมะเร็งปอดจึงถือเป็นโรคที่น่ากลัวโรค บุหรี่กับมะเร็งปอด โดยปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอดหลักๆ คือ การสูบบุหรี่ รวมไปถึง การสูบบุหรี่มือสอง คือ ไม่ได้สูบเองแต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆในการเกิดมะเร็งปอดเช่น ก๊าชเรดอน (radon gas) เยื่อใยหิน (asbestos) และประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ในช่วงก่อนมีบุหรี่นั้น โรคมะเร็งปอดถือ เป็นโรคประหลาดพบได้ไม่บ่อย แต่พอหลังจากมีการสูบบุหรี่อย่างกว้างขวาง ทำให้มีโรคมะเร็งปอดเกิดขึ้นในโลกนี้อย่างมากมาย การศึกษาต่อมาจึงพบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด ในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะ Tar ที่ทำให้ปอดเราเหมือนมียางมะตอยเกาะในปอด มีการประมาณกันว่า หากไม่มีบุหรี่ มะเร็งปอดจะลดลงถึง 80-90% ทั่วโลกเลยทีเดียว แต่ในกลุ่มชาวเอเชีย เช่น ชาวไทยนั้น มีลักษณะพิเศษของมะเร็งปอด คือ 40-60% ของมะเร็งที่เกิดในคนไทยไม่ได้มาจากการสูบบุหรี่ !!! แต่เกิดจากความผิดปกติของ gene บางอย่างในเซลล์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เป็นมะเร็ง. สูบบุหรี่เกิดมะเร็งปอด แล้วมะเร็งอื่นด้วยหรือเปล่า บุหรี่ไม่ได้ทำให้เพิ่มความเสี่ยงแค่มะเร็งปอดแต่ยังทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นต้น เนื่องจากในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมาก จึงทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด การวินิจฉัยมะเร็งปอด อาการของมะเร็ง เช่น ไอ เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ปวดตามตัวหรือกระดูก จะเห็นว่าอาการเหล่านี้ไม่จำเพาะกับมะเร็ง และพบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว กว่ามะเร็งจะเกิดอาการมักเป็นระยะท้ายๆ ดังนั้น หมอจึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือผู้สูบบุหรี่มากกว่า 30 pack year (คำนวณจากจำนวนซองที่สูบต่อวัน x จำนวนปีที่สูบเช่น 2 ซองต่อวัน 15 ปี = 2x15 = 30 pack year เป็นต้น) หรือผู้ที่เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปีมาตรวจ Low dose CT chest (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด) ปีละครั้งเพื่อการค้นหามะเร็งระยะแรก (lung cancer screening)ทำให้พบมะเร็งปอดระยะแรกซึ่งมีโอกาสรักษาหายได้มากขึ้น ถ้าหากแพทย์ผู้รักษาสงสัยจะส่งตรวจโดยการเจาะเนื้อที่ปอดมาดูเพื่อยืนยันชิ้นเนื้อ หลังยืนยันว่าเป็นมะเร็งปอด ก็จะมีการทำ CT หรือ PET/CT ร่วมกับ MRI สมองเพื่อวินิจฉัยระยะของโรค เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป การรักษามะเร็งปอด ถ้าเป็นระยะแรกก็ใช้การผ่าตัด ร่วมกับ การฉายแสงและเคมีบำบัดขึ้นกับผู้ป่วย ขนาดของมะเร็ง และตำแหน่งของมะเร็งหากเป็นระยะกระจายหรือที่เรียกกันว่า "ระยะที่4" นั้น จะใช้การรักษาด้วยยาซึ่งยาจะมีทั้ง เคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า (targeted therapy) หรือ ยากลุ่ม immunotherapy ซึ่งถือเป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษามะเร็งปอดและเริ่มมีการใช้มาในช่วง 4-5 ปีนี้ นับย้อนไปเมื่อ 20 ปีจนถึง 10 ปีที่ผ่านมาการรักษามะเร็งปอดยังไม่ค่อยมีอะไรใหม่ทำให้คนที่ป่วยเป็นโรคนี้เสียชีวิตเร็วและเยอะมากจนสมาคมต่างๆทั่วโลกได้ให้ทุนและสนับสนุนการวิจัยเพื่อการรักษามะเร็งปอดจึงทำให้การรักษามะเร็งมีความคืบหน้าเร็วเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง ถึงแม้การรักษาจะดีขึ้นอัตราการมีชีวิตยาวมากขึ้น แต่ยังถือเป็นการตายจากมะเร็งอันดับ 1 อยู่นั่นเอง ดังนั้นหมอจึงอยากรณรงค์มาช่วยกันลด ละ เลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงแต่หากเป็นแล้ว ก็อยากพบมะเร็งปอดระยะแรกเพราะมีโอกาสรักษาหายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ