กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
เอเรียนสเปซยังคงมีการดำเนินงานอย่างมั่นคงในเอเชียแปซิฟิคด้วยการปล่อยดาวเทียมให้แก่ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นและเกาหลี ใน 12 เดือนที่ผ่านมา และตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2560 เอเรียนสเปซได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม เทลคอม-3เอส ของเทลคอม อินโดนีเซีย และโคเรียแซท 7 ของ เคที คอร์ป โดยจะมีการปล่อยดาวเทียมอีกสองดวงของอินเดียและญี่ปุ่นในปีนี้ ทั้งหมดนั้นจะใช้จรวดเอเรียน 5 เอเรียนสเปซได้วางแผนที่จะปล่อยดาวเทียมทั้งสิ้น 12 ดวงในปีนี้ โดยเจ็ดดวงจะใช้จรวดเอเรียน 5 อีกสามดวงใช้จรวดเวกา และอีกสองดวงโดยจรวดโซยุซ ผู้นำด้านการให้บริการปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของโลกอย่างเอเรียนสเปซนั้นยังมองไปในอนาคตอย่างมั่นใจด้วยการมุ่งเน้นในตลาดกลุ่มดาวเทียม ประเทศไทยซึ่งเป็นลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญของแผนการในภูมิภาคนี้
เอเรียนสเปซยืนยันการเป็นผู้นำในตลาดเอเชีย แปซิฟิค
ตั้งแต่เอเรียนสเปซได้ปล่อยดาวเทียมดวงแรกให้แก่ลูกค้าจากเอเชียในปี พ.ศ. 2524 เอเรียนสเปซก็ได้ปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 78 ดวงแก่ลูกค้า 17 รายในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ซึ่งมีการตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคทั้งสองแห่งโดยมีการดำเนินงานในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 และโตเกียวตั้งแต่ พ.ศ.2529 ภูมิภาคนี้เป็นตลาดที่สำคัญของบริษัท โดยมีส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 60 ของการปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ทั่วโลก นี่คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของธุรกิจของเอเรียนสเปซทั่วโลก เอเรียนสเปซนั้นเป็นผู้ให้บริการปล่อยดาวเทียมที่เป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค ด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงแรกให้กับลูกค้าในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซในภูมิภาคนี้นั้นมาจากประเทศอินเดีย ให้บริการใน พ.ศ. 2524 ด้วยการปล่อยดาวเทียมครั้งแรกให้กับองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ออสแซทของประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นลูกค้ารายที่สองในภูมิภาคด้วยการปล่อยดาวเทียม เค3 ใน พ.ศ. 2530 ต่อมาบริษัทนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของซิงเทล ออปตัส เอเรียนสเปซยังได้ปล่อยดาวเทียมอีก 5 ดวงให้แก่ออปตัส และดาวเทียมของซิงเทลอีก 2 ดวงตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ถึง 2554 ชินแซทเทลไลท์จากประเทศไทยนั้นกลายเป็นลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2534 ด้วยสัญญาว่าจ้างให้ปล่อยดาวเทียมไทยคม1 และในเวลาต่อมายังได้ปล่อยดาวเทียมไทยคมอีก 4 ดวง ซึ่งรวมถึงไทยคม5 ใน พ.ศ. 2549 ส่วนลูกค้าที่สำคัญรายอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้แก่ พีที เทลคอม และบีอาร์ไอแซท จากอินโดนีเซีย มีแซทจากมาเลเซีย เอบีเอสฮ่องกง และวินาแซทจากเวียดนาม เครือข่าย บรอดแบนด์แห่งชาติ หรือ เอ็นบีเอ็น ของออสเตรเลีย และในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เจซีแซทของญี่ปุ่น โคเรียแซทและสถาบันวิจัยอวกาศแห่งเกาหลี จากประเทศเกาหลี
ปี พ.ศ.2560 นี้เป็นปีที่ดีมากอย่างต่อเนื่องของเอเรียนสเปซในการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หลังจากประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมสองครั้งด้วยจรวดเอเรียน5 ให้แก่เทลคอมอินโดนีเซีย (ดาวเทียมเทลคอม 3เอส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์) และเคแซท (ดาวเทียมโคเรียแซท-7 ในวันที่ 4 พฤษภาคม) ยังมีภารกิจอีก 3 ครั้งที่วางแผนไว้ว่าจะมีการปล่อยดาวเทียมในปีนี้ โดยสองครั้งนั้นจะเป็นขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ดาวเทียมจีแซท-17และจีแซท-11) และอีกครั้งเป็นของบีแซท (ดาวเทียมบีแซท-4เอ)
โซยุส – โอกาสในอนาคต
หลังจากการประกาศในวันที่ 20 เมษายน ว่ามีการลงนามในสัญญาปล่อยดาวเทียมฮอริซอน 3อี (ซึ่งดำเนินการโดยสกาย เพอร์เฟค เจแซท และอินเทลแซท ซึ่งเป็นการร่วมทุนกัน) โดยในปัจจุบันเอเรียนสเปซได้รับสัญญาว่าจ้างให้ปล่อยดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรอีก 51 ครั้ง (19 ครั้งโดยเอเรียน 25 ครั้งโดยโซยุส และ 7 ครั้งโดยเวกา) แก่ลูกค้า 28 รายทั่วโลก โดยคิดเป็นมูลค่ารวม 4.9 พันล้านยูโร (หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท)
เมื่อมองไปข้างหน้า เอเรียนสเปซนั้นจะไม่เพียงแต่ให้บริการการปล่อยดาวเทียมที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือสูงสำหรับดาวเทียมสื่อสารขนาดใหญ่ในวงโคจรประจำที่โดยใช้จรวด เอเรียน 5 แต่ยังมีความพร้อมสำหรับตลาดดาวเทียมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อลูกค้านั้นมองหาการปล่อยดาวเทียมสำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลกไปยังวงโคจรระดับต่ำและระดับกลางของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยจรวดอวกาศในโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันและจรวจอวกาศแนะนำของ เอเรียน 6 และเวกา ซี ที่จะให้บริการภายในทศวรรษหน้านั้นทำให้เอเรียนสเปซสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสมที่สุด
การบริหารจัดการใหม่ของเอเรียนสเปซที่ส่งผลดีต่อลูกค้า
เอเรียนสเปซได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองประการตั้งแต่สิ้นปี พ.ศ.2559
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 แอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ ได้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอเรียนสเปซ ด้วยการถือหุ้นร้อยละ 74 หลังจากรับโอนหุ้นจากองค์การอวกาศของฝรั่งเศสหรือซีเอ็นอีเอส สัดส่วนของหุ้นของเอเรียนสเปซที่ถือโดยบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมการปล่อยดาวเทียมของยุโรปนั้นไม่เปลี่ยนแปลง โดยที่บริษัทลูกของแอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ อย่างเอเรียนสเปซนั้นยังคงมีสถานะเป็นบริษัทที่แตกต่างด้วยท่าทีที่เป็นกลางในความสัมพันธ์กับบริษัทผู้ผลิตดาวเทียมต่างๆและยังคงเป็นผู้เดียวที่จะติดต่อกับลูกค้า
ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการลงคะแนนของผู้ถือหุ้นของเอเรียนสเปซอย่างเป็นเอกฉันทน์ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางกฎหมายของผู้ให้บริการปล่อยดาวเทียมรายนี้รวมไปถึงหลักการบริหารจัดการ โดยสเตฟาเน่ อิสราเอล นั้นได้รับการยืนยันให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอเรียนสเปซและยังคงเข้าร่วมคณะกรรมการบริหารของแอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ ในตำแหน่ง รองประธานบริหาร ซึ่งจะดูแลด้านโครงการจรวดปล่อยยานพลเรือน
การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้แอเรียนสเปซและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพิ่มความคล่องแคล่วในด้านการแข่งขัน เพื่อจะก้าวให้ทันตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนั้นก็เพื่อประโยชน์ที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า นอกเหนือจากนั้นยังจะช่วยให้เอเรียนสเปซมีรากฐานที่มั่นคงขึ้นสำหรับอนาคตด้วยจรวดเอเรียน 6 และเวก้า ซี