กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--มิ้ณท์ ไอเดีย
เพื่อให้สังคมรับรู้ว่า เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและได้ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขมาดีแล้ว พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองจากคนเดิมเป็นคนใหม่ที่พร้อมไปใช้ชีวิตที่ดีในสังคมได้อย่างปรกติและกรมพินิจ ฯ เชื่อมั่นว่า หากสังคมให้การยอมรับและได้ให้โอกาสกับเด็กและเยาวชนที่เปลี่ยน แปลงตัวเองและตื่นแล้ว จะทำให้พวกเขามีที่ยืนอยู่ในสังคม และจะไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำ
นายสหการณ์ เพ็ชรณรงค์ รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า "กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพและการแข่งขันทักษะวิชาชีพเด็กและเยาวชน จะจัดเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ และจะจัดขึ้นระหว่างวันที่7-9 มิถุนายน 2560 ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเองและแสดงศักยภาพในด้านวิชาชีพพร้อมทั้งสร้างความภาคภูมิใจในการเป็นตัวแทนของหน่วย ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างแรงบันดาลใจและแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ในโครงการนี้ได้รับเกรียติจาก คุณชลลดา พรหมเดชไพบูลย์ ประธานมูลนิธิชลลดา คุณกวิฐาร์พรณ์ จาตุรนท์ภากร ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปด้านมาตรฐานสินค้าการบริการและจัดกิจกรรมพิเศษ หน่วยงานคัดสรรและเบลลินี่พรีเมี่ยมคาเฟ่ จากบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)คุณเขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) ดาราศิลปินชื่อดัง คุณฉันท์ คำทองแท้ บาริสต้าชื่อดังของเมืองไทย (อดีตวินมอเตอร์ไซค์ผู้ผันตัวเองเป็นนักชงกาแฟ) มาเป็นผู้ร่วมในการสนับสนุนแลให้โอกาสเด็กและเยาวชน"
การแข่งขันทักษะและส่งเสริมวิชาชีพเด็กและเยาวชน ในครั้งที่ 2 นี้ แบ่งการแข่งขันออกเป็น หมวดวิชาชีพช่าง หมวดวิชาช่างเสริมสวย หมวดวิชาคหกรรม หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ : หมวดวิชาชีพข่าง จะเป็นการแข่งขันก่อสร้างศาลาสไตล์โมเดิล พร้อมจัดสวนหย่อม 16 หลัง หมวดวิชาชีพช่างเสริมสวย จะแข่งขันแต่งหน้าทำผม หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ จะเป็นการแข่งขันออกแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ และการแข่งวาดภาพเหมือนดิจิทัล POLYGON และสำหรับการแข่งขันในหมวดวิชาคหกรรม จะเป็นการแข่งขัน การทำก๋วยเตี๊ยวผัดไทย การแข่งขันจัดโต๊ะอาหาร และการแข่งขันชงกาแฟ JUVENILE BARSITA CHAMPIONSHIP
นายสหการณ์ เพ็ชรณรงค์ กล่าวต่อ "ณ ขณะนี้ ต้องยอมรับว่า สังคมไทยมีเด็กและเยาวชนกระทำความ ผิดทางอาญาและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปีละหลายหมื่นคน ซึ่งยังไม่รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้เข้าสู่กระ บวนการยุติธรรม หากเราสามารถป้องกันเยาวชนเหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หากเราสามารถป้องกันเยาวชนเหล่านี้ไม่ให้กระทำความผิดหรือให้มีน้อยที่สุดถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น องค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือแม้แต่กรมพินิจ ฯ ก็ต้องทำหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับสังคมพร้อมทั้งควบคุมแก้ไขเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดดังกล่าว"
กรมพินิจ ฯ มีหน้าที่บำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเพื่อปรับเปลี่ยนจิตใจ พฤติกรรมที่ถูกหล่อหลอมมาอย่างผิดพลาด การให้การศึกษา การพัฒนาความคิด ทักษะชีวิตและการฝึกอาชีพ ซึ่งเป็นการวางแผนและสร้างชีวิตใหม่ให้พวกเขามีความพร้อมที่จะคืนสู่สังคมและสามารถยืนอยู่ได้ โดยไม่ทำความผิดซ้ำ ที่ผ่านมา กรมพินิจ ฯ พบกับความท้าทายในการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนหลังปล่อยตัว และได้พยายามคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์นี้
นวัตกรรมประการหนึ่งที่สร้างผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงจนส่งผลให้การกระทำความผิดซ้ำลดลงเป็นอย่างมาก นั่นคือการใช้ระบบบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเฉพาะรายแบบไร้รอยต่อ หรือ Individual Routing Counsellor (IRC) โดยให้นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ร้อยเรียงเชื่อมโยงแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟูตั้งแต่เด็กและเยาวชนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่กระบวนการของกรมพินิจ ฯ การประสานเชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องภายนอกและการติดตามช่วย เหลือภายหลังปล่อยตัวในระยะ 1 ปี ซึ่งกรมพินิจ ฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2558-2559 ตัวเลขเด็กและเยาวชนที่ปล่อยตัวในโครงการ IRC 1 ปี จำนวน 179 ราย พบว่ากระทำความผิดซ้ำ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.28 (แบ่งเป็นปี 2558 เด็กและเยาวชนปล่อยตัว 95 ราย กระทำผิดซ้ำ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ในปี 2559 เด็กและเยาวชนปล่อยตัว 84 ราย กระทำผิดซ้ำ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1) และจากการเก็บข้อมูลการป้องกันการทำผิดซ้ำ หากเด็กและเยาวชนมีอาชีพ หรือมีงานทำ อัตราการทำผิดของเด็กและเยาวชนจะลดลง
อย่างไรก็ตาม กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดศูนย์ฝึกอบรมเพิ่มเพื่อให้ความรู้ ทักษะด้านอาชีพแก่เด็กและเยาวชน การจัดสอนทักษะวิชาชีพแต่ละวิชานั้นจะทำงานสอดผสานกับหน่วยงานต่าง ๆ บริษัทเอกชน เช่นศึกษาความต้องการด้านแรงงาน เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ถูกปล่อยตัวได้มีงานทำ และได้คัดเด็กและเยาวชนที่มีทักษะในด้านต่างๆ มาเข้าฝึกอบรมในสาขาวิชาที่สนใจ จึงทำให้เด็กและเยาวชนทำงานนั้น ๆ ออกมาได้ดีและมีความก้าวหน้าไม่กลับมากระทำการผิดซ้ำ