กรุงเทพฯ--7 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ชุมชนหมู่ 3 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ใกล้กรุงเทพฯ ลิ้มรสผลไม้ ปลอดสารเคมี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุมานิการ์ จันทร์บรรเจิด ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี และดูแลงานทางด้านบริการวิชาการแก่สังคม เปิดเผยว่า ตามที่ทาง มทร.ธัญบุรี ได้ลงพื้นที่ในการบริการวิชาการแก่ชุมชุน หมู่ 7 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ได้เข้าไปดูแลบริการองค์ความรู้ ซึ่งตำบลบึงชำอ้อ เป็นพื้นที่ในตำบลหนองเสือที่ทาง มทร.ธัญบุรี ได้เข้ามาลงพื้นที่ โดยอาจารย์กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง อาจารย์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้ลงพื้นที่บริการองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีผู้ใหญ่ยุพา เพิกอินทร์ เป็นตัวประสานงาน สำหรับชุมชนหมู่ 3 ตำบึงชำอ้อ มีเจตนารมณ์ด้านเกษตรอินทรีย์ จึงได้นำวิถีเกษตรอินทรีย์ มาปลูกฝังให้คนในชุมชน ให้เกิดความยั่งยืน บนความพอพียงตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้และยิ่งยืนตลอดไป
นางยุพา เพิกอินทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลบึงชำอ้อ เล่าว่า เกษตรกรบึงชำอ้อส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำสวนผลไม้หลากหลายชนิด เช่น มังคุด ทุเรียน กล้วยหอม รวมไปถึงการทำสวนปาล์ม ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ ทางชุมชนได้รวบรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชน ตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา จุดเด่นของผลไม้บึงชำอ้อ เป็นผลไม้เกษตรอินทรีย์ในเรื่องของรสชาติ เช่น มังคุดมี รสชาติหวานเป็นธรรมชาติ ส่วนทุเรียนมีหลากหลายพันธุ์ รสชาติหวานมัน เม็ดรีบ เนื้อเยอะ ทางชุมชนได้เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน "ที่พยายามและส่งเสริมให้เกษตรกรทำอินทรีย์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ดีต่อสุขภาพ"
เกษตรกรอินทรีย์หมู่ 3 นายธีระธนัตต์ ตันพิริยะชัย เล่าว่า เริ่มแรกเป็นชาวสวนส้ม แต่ด้วยมีโรคระบาดทำให้ส้มไม่ได้ผลผลิต จึงได้เปลี่ยนพื้นที่เป็นสวนผลไม้ นำทุเรียน มะไฟ ลำไย มะพร้าว มังคุด กล้วยหอมมาปลูก แต่ผลไม้ที่ให้ผลผลิตและเหมาะกับพื้นที่และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวคือ ทุเรียน มังคุด กล้วยหอม โดยเมื่อครั้งอดีตได้นำสารเคมีเข้ามาช่วยในเร่งผลผลิต แต่ด้วยต้นทุนของสารเคมีค่อนข้างสูงมาก และต้องจ้างแรงงานมาช่วยในการพ้นสารเคมี เสียค่าจ้างแรงงาน จึงเริ่มปรับเปลี่ยนลดสารเคมีและนำอินทรีย์เข้ามาช่วย กว่า 10 ปี ที่ได้ทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัวจนถึงปัจจุบัน ตอนแรกๆ อาจจะประสบปัญหาทางด้านผลผลิต ไม่ได้เท่าการใช้สารเคมี แต่ไม่ต้องลงทุนเยอะ เงินก็เหลือ และส่งผลต่อผลผลิตมีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับของท้องตลาด ทำให้ผลไม้ในสวนต้องมีการจองจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งที่สวนมีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น ชะนี หมอนทอง ก้านยาว ร่วมไปจนถึงพวงมณี นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการทำสวนปาล์มด้วย โดยใช้วิธีเกษตรอินทรีย์เช่นเดียวกัน
สำหรับผู้สนใจสถานที่ท่องเที่ยงเชิงเกษตรอินทรีย์ ใกล้กรุงเทพฯ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ ชาวชุมชนหมู่ 3 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สามารถติดต่อไปได้ที่ผู้ใหญ่ยุพา เพิกอินทร์ โทร.085-1576457