กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--มีเดีย พลัส คอนเนคชั่น
รูปร่างอวบ-อ้วน ล้วนเป็นปัญหาทางกายภาพที่ผู้ใส่ใจความสวยความงามเป็นกังวลกันมาทุกยุคสมัย แต่ที่มากไปกว่านั้น "ภาวะอวบระยะสุดท้าย" "อ้วนระยะเริ่มต้น" หรือ กระทั่งสุดขีดไปจน "บิ๊กมาม่า" นอกจากนำมาซึ่งโรคร้าย อย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ-สมอง หรือ เบาหวานแล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตัน หยุดหายใจขณะหลับ และซึมเศร้าได้ด้วย
นพ.จีรวัส ศิลาสุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ ส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร "ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในปัจจุบัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนเป็นทั้ง ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก แต่อัตราเสียชีวิตก็ยังคงสูงต่อเนื่อง"
อย่างไรถึงเรียกว่า "อ้วนแล้วนะเนี่ย"
องค์การอนามัยโลก ให้นิยาม ภาวะน้ำหนักตัวเกิน และโรคอ้วน (Overweight and Obesity) ไว้ว่า "ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ เรียกย่อว่า BMI/บีเอ็มไอ) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า "น้ำหนักตัวเกิน" แต่ถ้ามีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า "เป็นโรคอ้วน"
โรคอ้วนออกเป็น 3 ระดับ เพื่อบอกความรุนแรงของภาวะ หรือ ของโรค ว่า ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก โดยระดับความรุนแรงมาก คือ ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป (มาตรฐานองค์การอนามัยโลก) หรือ ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป (สำหรับเอเชีย)
อ้วนๆๆ คำนวณยังไง
กลับมาที่ "ดัชนีมวลกาย" คือ ค่าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่า ใครน้ำหนักเกิน หรือใครเป็นโรคอ้วน โดยหน่วยของน้ำหนักคิดเป็นกิโลกรัม และหน่วยของความสูงคิดเป็นเมตร โดยค่า ดัชนีมวลกายของแต่ละคน จะมีค่าเท่ากับ น้ำหนักของคน ๆ นั้น หารด้วยความสูงยกกำลังสอง เช่นน้ำหนัก 50 กก. ความสูง 1.60 ม. (1.60 x 1.60 ม. = 2.56 (50/2.56) ค่าดัชนีมวลกายคือ 19.53
อ้วน...แล้วไง ไม่ตายหรอก
พูดแบบนี้...ประมาทมาก ภาวะ "น้ำหนักตัวเกิน" และ "โรคอ้วน" นั้นเป็นการเชื้อเชิญ หรือเดินเข้าไปสู่ การเป็นโรค 1) โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต) 2) โรคเบาหวาน 3)โรคความดันโลหิตสูง4)โรคไขมันในเลือดสูง 5)โรคนิ่วในถุงน้ำดี เพราะการมีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้น้ำดีจากตับมีไขมันสูงตามไปด้วย ซึ่งไขมันจะตกตะกอนเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่าย 6-มีปัญหาในการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
อีกแง่มุมหนึ่ง ภาวะอวบอ้วนส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสังคมอย่างช้า ๆ ทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว และมักเป็นโรคซึมเศร้าในท้ายที่สุด
คำตอบยั่งยืน ลดอวบ ป้องกันอ้วน
1. กินให้ดู คิดเป็นระบบ รู้จักควบคุมอาหาร
ต้องลดปริมาณพลังงานที่บริโภค คนที่กินอาหารมากต้องกินให้น้อยลง ซึ่งต้องทำอย่างเคร่งครัด น้ำหนักที่เกินอยู่จึงจะลดลง และไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักโดยวิธีอดอาหาร เพราะจะมีผลเสีย มากกว่าผลดี
เมื่อกินอาหารน้อยลง จะต้องระมัดระวังว่าอาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการดีพอไหมให้สมดุลกับ ข้อที่ว่ามันยังมีความเอร็ดอร่อยไม่น่าเบื่อด้วย
ทุกมื้ออาหารควรมีผักและผลไม้เสมอ เพราะอาหารสองประเภทนี้นอกจากให้วิตามินและเกลือแร่ ยังให้ใยอาหารซึ่งทำให้ท้องไม่ผูก และมีความรู้สึกอิ่มไม่หิวบ่อย สำหรับผลไม้ไม่ควรกินพวกที่มีรส หวานจัดเช่น องุ่น ละมุด ทุเรียน ถ้ากินให้กินเป็นครั้งคราวเท่านั้น
ไขมัน ให้ดูที่มาจากพืชในการปรุงอาหาร และพิจารณาร่วมกับกรดไขมันจำเป็นในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนคาร์โบไฮเดรท แป้ง น้ำตาล พิจารณาจากคุณค่าและที่มาเป็นหลัก อย่างขนมหวาน น้ำอัดลม และการปรุงอาหารด้วยน้ำตาล ให้ลด ละ มากที่สุด
2. อยู่ให้เป็น ลุยงาน เล่นกีฬา ออกกำลังกายเสมอ
การลดน้ำหนักจะได้ผลดีต่อเมื่อเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถ้าคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย มาก่อนต้องค่อย ๆ เริ่มและหัดให้เกิดวินัย นับตั้งแต่เดินก็เป็นวิธีออกกำลังกายอย่างหนึ่ง การออกกำลังกายในแต่ละ ช่วงควรใช้เวลา 15-45 นาที โดยทำต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งรู้สึกว่าเหนื่อยค่อยพัก ในวันหนึ่ง ๆ ถ้ามีเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาวันละ 1 ชั่วโมงจะดีมาก และต่อเนื่องนานนับปีจึงจะบอกได้ว่าผู้ป่วยประสบความสำเร็จ ในการลดน้ำหนัก หรือไม่
3. ทางเลือกใหม่ในการรักษา
รพ.พญาไท 2 แนะนำ การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยและได้ผลด้วย Gastric Balloon การใส่บอลลูน ที่บรรจุสารน้ำเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก โดยบอลลูนจะเข้าไปลดความจุของกระเพาะอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และอิ่มนานกว่าเดิม ร่างกายจึงนำไขมันส่วนเกินออกมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงในที่สุด
"การทำ Gastric Balloon เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 27 ประกอบกับลดน้ำหนัก ด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล และมีน้ำหนักเกินจนเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากเหตุผลเรื่องความมั่นใจ ในรูปร่าง และบุคลิกภาพที่ดีแล้ว การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธียังช่วยชะลอความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่มีผลมาจากความอ้วน
"ขั้นตอนดังกล่าวนี้ ไร้แผลผ่าตัด เพราะบอลลูนจะถูกใส่เข้าไปในกระเพาะอาหารทางช่องปาก ด้วยเทคนิค การส่องกล้อง ตัวบอลลูนทำจากซิลิโคนซึ่งเป็นวัสดุทางการแพทย์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร ภายในบอลลูน จะบรรจุสารน้ำเอาไว้ประมาณ 400-500 ซีซี เมื่อลดน้ำหนักได้ถึงจุดที่พึงพอใจแล้ว สามารถเอาน้ำที่อยู่ในบอลลูนออกได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะใส่บอลลูนไว้ประมาณ 6-12 เดือน" นพ.จีรวัส ศิลาสุวรรณ สรุป