กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถเข้าถึงการรักษาดังกล่าว
58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma - NHL) ทั้งหมดในประเทศไทย เป็นผู้ป่วยในกลุ่ม Diffuse large B cell lymphoma ซึ่งมีระดับความรุนแรงมากที่สุด
หากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาใหม่นี้ สามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 – การศึกษาใหม่พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น (Non-Hodgkin lymphoma -NHL) ทั้งหมดในประเทศไทยมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นหากได้รักษาอย่างถูกวิธี
รายงานดังกล่าวมาจากผลการศึกษาจากฐานข้อมูลทะเบียนผู้ป่วย NHL ถึงลักษณะและข้อมูลทางคลินิค จำนวน 4,056 ราย ผ่านระบบอินเตอร์เนต จากศูนย์การแพทย์หลัก 13 แห่ง ใน 4 ภาคของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2560
จากงานวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบบ นอน-ฮอดจ์กิ้น Non-Hodgkin (NHL) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทวิเคราะห์ เกี่ยวกับลักษณะทางพยาธิสภาพ ลักษณะโรค และ อัตราการรอดชีวิต จากกรณีศึกษาของประเทศไทย[1] พบว่า อายุเฉลี่ยของคนไทยที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ 56 ปี และพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยในกลุ่ม diffuse large B-cell lymphoma ซึ่งเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่รุนแรงที่สุด
นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยอีกว่าจำนวนกว่า 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด ได้รับการรักษาโดยเคมีบำบัด (คีโม) และจากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell ทั้งหมด 3,402 รายนั้นมีจำนวนเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการรักษานวัตกรรมใหม่ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้โอกาสการรอดชีวิตของสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียวถึง 30%
ปัจจุบันรัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะจัดหา นวัตกรรมดังกล่าวให้กับผู้ป่วยทุกราย หลังจากที่ได้พิจารณาให้เป็นยามาตรฐานในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ภาควิชาโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประธานกลุ่มการศึกษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย) กล่าวว่า "หลักฐานงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรมใหม่นี้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง ขึ้นกว่าในอดีตมาก"
นพ.. ธานินทร์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "สิ่งสำคัญคือเราควรมีความตระหนักว่ามะเร็งไม่ได้เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบเฉพาะบุคคลเท่านั้น และควรให้ความสำคัญในเป็นวาระแห่งชาติ เพราะประเด็นนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ด้านของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อครัวเรือน สังคม รวมไปถึงเศรษฐกิจด้วย ผมคิดว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ด้วยการพิจารณาบรรจุนวัตกรรมใหม่นี้เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติและจัดหายาเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายสามารถเข้าถึงได้ปีนี้"
ทั้งนี้ข้อมูลการเสียชีวิตปี พ.ศ. 2558[2] โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ยังเปิดเผยว่า โรคมะเร็งนับเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในประเทศ ซึ่งมีจำนวนที่สูงกว่าโรคหลอดเลือดสมองถึง 3 เท่า มากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนถึง 5 เท่า และสูงยิ่งกว่าโรคเบาหวานถึง 6 เท่า