กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2560 มีพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย 30 จังหวัด รวม 115 อำเภอ 534 ตำบล 3,400 หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต 5 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดลพบุรี โดยน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลมหาโพธิ์ อำเภอสระโบสถ์ รวม 3 หมู่บ้าน โดยมีจังหวัดประกาศเขตการ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จำนวน 20 จังหวัด รวม 94 อำเภอ 487 ตำบล 3,277 หมู่บ้าน 45 ชุมชน ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว พร้อมประสาน จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยรับมือฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่าง ๆ โดยตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2560 มีพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย 30 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เลย ลำปาง สุราษฎร์ธานี ลำพูน ระนอง ชลบุรี ขอนแก่น นครสวรรค์ พิจิตร ร้อยเอ็ด สระบุรี เพชรบูรณ์ ตาก อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ นครปฐม จันทบุรี สระแก้ว พังงา และลพบุรี รวม 115 อำเภอ 534 ตำบล 3,400 หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต 5 รายปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดลพบุรี โดยน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลมหาโพธิ์ อำเภอสระโบสถ์ รวม 3 หมู่บ้านซึ่งกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 20 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เลย ลำปาง สุราษฎร์ธานี ลำพูน ระนอง ชลบุรี ขอนแก่น นครสวรรค์ พิจิตร ร้อยเอ็ด และสระบุรี รวม 94 อำเภอ 487 ตำบล 3,277 หมู่บ้าน 45 ชุมชน ทั้งนี้ ปภ.ได้บูรณาการ ทุกภาคส่วนดูแลด้านการดำรงชีพของผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการจัดการอาหารและน้ำดื่มสะอาดให้เพียงพอ การดูแลสุขภาพอนามัยและรักษาพยาบาล รวมถึงการแจกจ่ายถุงยังชีพให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน อีกทั้งจัดรถบริการประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง การซ่อมแซมถนนและสิ่งสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง เกิดขึ้นได้ในระยะนี้ โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนฟ้าคะนองมากกว่าภาคอื่นๆ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด อีกทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และชุดเคลื่อนที่เร็วให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถ