กระทรวงมหาดไทยสรุปสถานการณ์อุทกภัย ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2544

ข่าวทั่วไป Friday October 5, 2001 10:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง สรุปสถานการณ์อุทกภัย ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ถึงปัจจุบัน ดังนี้
1.พื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 42 จังหวัด 307 อำเภอ 37 กิ่งอำเภอ 1,558 ตำบล 7,208 หมู่บ้าน แยกเป็น 1.1 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยรุนแรง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดอุดรธานี 1.2 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยปานกลาง จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ ระนอง และจังหวัดสุพรรณบุรี 1.3 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยเล็กน้อย จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก ลำพูน ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก มุกดาหาร หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ หนองคาย เลย ลพบุรี ตราด สระแก้ว ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง และจังหวัดกาญจนบุรี
2.ความเสียหาย 2.1 จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 191 คน แยกเป็น ชาย 90 คน หญิง 101 คน สูญหาย 6 คน 2.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,173,846 คน 622,853 ครัวเรือน อพยพ 6,382 คน 1,499 ครัวเรือน 2.3 สิ่งสาธารณประโยชน์เสียหาย มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,656,334,933 บาท ประกอบด้วย ถนน 3,751 สาย สะพาน/คอสะพาน 371 แห่ง ท่อระบายน้ำ 260 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 1,423 แห่ง บ่อน้ำ 316 แห่ง วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 213 แห่ง 2.4 บ้านเรือนราษฎรเสียหาย ทั้งหลัง 318 หลัง บางส่วน 5,981 หลัง 2.5 ความเสียหายด้านการเกษตร พื้นที่การเกษตร 3,277,989 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง/ตะพาบ 46,638 บ่อ 2.6 ความเสียหายด้านปศุสัตว์ 627,022 ตัว
3.จังหวัดที่กำลังประสบอุทกภัย จำนวน 10 จังหวัด ่ 3.1 จังหวัดที่มีรายงานสถานการณ์เพิ่มเติม จำนวน 2 จังหวัด 3.1.1 จังหวัดมหาสารคาม สถานการณ์ปัจจุบัน อุทกภัยซึ่งเกิดจากน้ำชีล้นตลิ่ง ระลอกที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2544 ถึงปัจจุบัน พื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่เดิม ที่เคยถูกน้ำท่วมเมื่อครั้งน้ำชีเอ่อล้นตลิ่งระรอกที่ 1 ซึ่งเป็นที่ลุ่มและที่นา ที่เสียหายสิ้นเชิงแล้ว จากการตรวจสอบระดับน้ำในแม่น้ำชี พบว่ามีระดับลดลงเฉลี่ยวันละ ประมาณ 10-20 ซ.ม. แต่ยังคงล้นตลิ่งอยู่และมีระดับสูงกว่าระดับน้ำในลำห้วยสาขา ซึ่งยังคงทำให้มีน้ำท่วมในที่ลุ่มและพื้นที่การเกษตร ใน 3 อำเภอ ดังนี้ 1.) อ.กันทรวิชัย ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี และพื้นที่การเกษตร ใน 5 ตำบล คือ ตำบลเขวาใหญ่ ศรีสุข มะค่า ขามเฒ่าพัฒนา และตำบลขามเรียง พื้นที่นาถูกน้ำท่วม 13,109 ไร่ ไม่มีที่อยู่อาศัยของราษฎรถูกน้ำท่วมแต่อย่างใด 2.) อ.โกสุมพิสัย น้ำล้นตลิ่งท่วมใน 6 ตำบล พื้นที่นาถูกน้ำท่วม 8,391 ไร่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,850 ครัวเรือน ไม่มีที่อยู่อาศัยของราษฎรถูกน้ำท่วมแต่อย่างใด 3.) อ.เมืองมหาสารคาม อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่เสียหาย การให้ความช่วยเหลือ 1.) จังหวัดได้แจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี โดยให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำชีได้ระมัดระวังอันตรายจากเหตุการณ์น้ำชีเอ่อล้นตลิ่ง 2.) จังหวัดได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากบริเวณพื้นที่น้ำท่วมขัง ลงสู่แม่น้ำชี จำนวน 17 เครื่อง จัดเตรียมเรือท้องแบนออกให้ความช่วยเหลือ จำนวน 22 ลำ และแจกจ่ายถุงยังชีพไปแล้วประมาณ 2,500 ชุด แนวโน้มสถานการณ์ เนื่องจากไม่มีฝนเพิ่มเติมลงมาในพื้นที่ตอนบนของภาคและในพื้นที่จังหวัด ทำให้ระดับน้ำลดลงมาอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาอีกในระยะนี้ สถานการณ์น้ำท่วมคงจะคลี่คลาย 3.1.2 จังหวัดร้อยเอ็ด สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ.เสลภูมิ, อ.โพธิ์ชัย, อ.จังหาร, อ.อาจสามารถ, อ.ธวัชบุรี, อ.พนมไพร, อ.สุวรรณภูมิ, อ.โพนทราย, กิ่ง อ.เชียงขวัญ, กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง และกิ่ง อ.หนองฮี ขณะนี้ระดับน้ำในลำน้ำชี วัดที่อำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัด ลดลงเฉลี่ย 4-10 ซ.ม. ทางหลวงสายร้อยเอ็ด —โพนทอง ช่วง กม. 22-23 เขตต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ ซึ่งถูกน้ำไหลพาดผ่าน ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2544 ทำให้ผิวจราจรชำรุดต้องปิดการจราจร จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ แนวโน้มสถานการณ์ ระดับน้ำในลำน้ำชีลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำซึ่งท่วมขังลดลง และจะสามารถลดลงสู่ภาวะปกติหากไม่มีฝนตกหนักเพิ่มเติมในพื้นที่อีก 3.2 จังหวัดที่ไม่มีรายงานสถานการณ์อุทกภัยเพิ่มเติม จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุดรธานี พิจิตร พิษณุโลก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครพนม และจังหวัดยโสธร
4. จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายสู่ภาวะปกติแล้ว 32 จังหวัด 4.1 ภาคเหนือ จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ แพร่ ลำพูน และจังหวัดพะเยา 4.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ขอนแก่น ศรีสะเกษ นครราชสีมา สกลนคร และจังหวัดหนองคาย 4.3 ภาคกลาง จำนวน 4 จังหวัด(เดิม 3 จังหวัด เพิ่มเติม จว.ประจวบฯ) ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ 4.4 ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด สระแก้ว และจังหวัดระยอง 4.5 ภาคใต้ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ต--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ