สพฉ.จัดประชุม กพฉ.สัญจร เยี่ยมชมการทำงานในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ในเมือง อุดช่องโหว่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

ข่าวทั่วไป Wednesday July 5, 2017 15:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สพฉ.จัดประชุม กพฉ.สัญจร เยี่ยมชมการทำงานในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ในเมืองเพื่อประเมินและอุดช่องโหว่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมเตรียมขับเคลื่อนโมเดลพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจัดตั้งศูนย์สื่อสารสั่งการและรับแจ้งเหตุ 80 ศูนย์ทั่วประเทศที่มีแพทย์อำนวยการประจำทุกจุดให้ได้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดการประชุมคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.)สัญจรครั้งที่ 9 ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยภายในงานได้มีการจัดประชุมเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมกัน ระหว่าง กพฉ.และสพฉ. พร้อมกันนี้ยังได้มีการศึกษาดูงานการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ หน่วยกู้ชีพท่ากระดาน มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ และ หน่วยบินสกายดอกเตอร์ ของจังหวัดกาญจนบุรี และวันสุดท้ายของการประชุม เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสพฉ. ยังได้นำคณะผู้เข้าประชุมจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และบริษัททริสคอร์เปอร์เรชั่น เข้าร่วมเยี่ยมชมการทำงานของโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ด้วย เรืออากาศเอกนพ.อัจฉริยะกล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะมีกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล เป็นประจำทุกปี และในทุกๆ ปีผู้แทนจากองค์กรเหล่านี้ จะลงมาติดตามความคืบหน้า หรือติดตามงานในเชิงประจักษ์ของการใช้งบประมาณของการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งปกติเราจะมีการประเมินและจัดส่งเอกสารให้เป็นประจำอยู่แล้ว โดยจากการลงพื้นที่ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพมหานครจะทำให้หน่วยงานเหล่านี้ไปพิจารณางบประมาณ ในเรื่องของกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินให้พอเพียงได้ ทั้งนี้เราได้พาเจ้าหน้าที่เข้าไปเยี่ยมชมการทำงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลอาทิเทศบาลตำบลเอราวัณ เป็นท้องถิ่นที่อยู่ในอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ดำเนินการเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเป็นระบบและจะเป็นตัวอย่างให้ท้องถิ่นอื่นๆลุกขึ้นมาทำงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินให้กับประชาชนในท้องถิ่นของตนเองได้ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าวว่า นอกจากนี้เรายังได้พาผู้แทนจากสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และบริษัททริสคอร์เปอร์เรชั่นเข้าไปเยี่ยมชมการทำงานในพื้นที่สังขละบุรีที่ดำเนินการวางระบบในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก โดยบางพื้นที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 12 ชั่วโมง ในการรับส่งผู้ป่วยโดยเราได้จัดระบบสกายดอกเตอร์มาดำเนินการในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างสะดวกขึ้น แต่ยังทั้งนี้ยังมีในส่วนที่ระบบยังไม่สมบูรณ์จึงเป็นจังหวะที่ดีในการที่เรามาสนับสนุนตรงนี้ และเมื่อผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ได้เข้าเยี่ยมชมการทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัดเสร็จสิ้นแล้ว ตนได้พาผู้เข้าร่วมประชุมดูการทำงานของโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่เพื่อทำการเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของพื้นที่ในต่างจังหวัด โดยโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นเครือข่ายของการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งเป็นลูกข่ายในศูนย์เอราวัณกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางภาคพื้นดิน และทางอากาศ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่รับผิดชอบทางด้านงบประมาณเห็นต้นแบบในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของภาครัฐให้เป็นระบบอินเตอร์เนชั่นเนล สแตนดาร์ด ต่อไป " ทั้งนี้ในอนาคต ผมอยากเสนอโมเดลในการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน โดยจะทำเป็นศูนย์สั่งการและรับแจ้งเหตุ 80 ศูนย์ทั่วประเทศที่มีแพทย์อำนวยการประจำทุกจุดให้ได้ หรือทำเป็น regional medical center ที่จะเป็นศูนย์อำนวยการที่มีแพทย์ประจำอยู่ทุกจุดและในอนาคตเราจะมีการขับเคลื่อนให้เกิด 13 ศูนย์หรือมากกว่านั้นให้ได้ ซึ่งหากเราทำได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมาก"เรืออากาศเอกนพ.อัจฉริยะระบุ ขณะที่พญ.สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์ หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่กล่าวว่า หัวใจการทำงานของโรงพยาบาลกรุงเทพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมเรามีการประสานงานที่เป็นระบบและการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ร่วมกันตามเป้าหมายของการเคลื่อนย้ายแบบทีมเซฟตี้ซึ่งจะให้เรานำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้อย่างปลอดภัยและดูแลเขาได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังมีการสรุปบทเรียนการนำส่งผู้ป่วยแต่ละรายว่าเรามีความผิดพลาดอย่างไรบ้างเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไป ไม่เท่านั้นรพ.กรุงเทพของเรายังมีแพทย์คอยให้คำปรึกษาตามจุดต่างๆ ในการรับส่งผู้ส่งโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะมีประโยชน์ในส่วนนี้อย่างมาก ขณะที่การดำเนินการระบบอีเอ็มเอสของเราเมื่อมีการโทรแจ้งเหตุมาที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล เราก็จะจัดส่งรถปฏิบัติการออกไป 2 ระดับซึ่งจะประเมินตามอาการของผู้ป่วย โดยรถระดับแอ๊ดวานซ์ก็จะมีแพทย์ประจำการไปกับรถด้วยส่วนระบบเบสิกจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลอยู่บนรถคอยดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้เรายังมีการให้บริการในระบบแอพพลิเคชั่นให้กับผู้ป่วยด้วย โดยระบบของแอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อกับระบบ GPS ที่จะระบุพิกัดในการเข้ารับผู้ป่วยมาทำการรักษาได้อย่างแม่นยำด้วย หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่กล่าวเพิ่มเติมว่าในส่วนของยานพาหนะในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินเรามีทั้งระบบน้ำ ระบบอากาศ ระบบภาคพื้นดินซึ่งประกอบไปด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน รถจักรยานยนต์ในการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยเราะพิจาณาในการปล่อยรถออกปฏิบัติการตามอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้ป่วยและสภาพพื้นที่ในการเข้ารับส่งผู้ป่วย นอกจากนี้ในระบบการให้บริการของเราทุกตำแหน่งยกเว้นแพทย์ต้องทำงานในบางเรื่องที่สำคัญแทนกันได้อาทิจะต้องเรียนรู้เรื่องของเข็นเปลให้เป็นหากเกิดกรณีที่พนักงานเปลไม่สามารถทำงานได้ โดยเราได้มีการฝึกให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ได้ฝึกทำงานแทนกันในบางเรื่องที่สำคัญ ขณะที่ในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินเราจะมีการออกแบบเพื่อเกิดความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ปฏิบัติงาน เราได้มีการออกแบบเพิ่มเติมในส่วนของอุปกรณ์ให้เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยฉุกเฉินของเราทุกคนมีความปลอดภัย เช่นการออกแบบให้มีเข็มขัดนิรภัยให้ทุกที่นั่ง การออกแบบให้ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และมีการฝึกอบรมคนขับไม่ให้ขับรถผ่าไฟแดง โดยเป็นกฎของโรงพยาบาลที่จะต้องหยุดทุกไฟแดงเราจะไม่แหกกฏ โดยหลักในการปฏิบัติต้องทำให้ทุกชีวิตปลอดภัยรับผิดชอบต่อสาธารณะ ไม่สร้างผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มบนท้องถนน ด้านนพ.พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู FCE functional capacify Evaluation โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า โรงพยาบาลของเราให้ความสำคัญกับบุคลากรที่ทำงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งเราจะมีการจัดทดสอบและดูแลพนักงานในทุกๆ ด้านอาทิ การจัดทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้พร้อมในการทำงานอยู่เสมอ โดยเราจะมีทีมแพทย์กายภาพมาประเมินสมรรถภาพร่างกายของพนักงานเราเป็นประจำ อาทิการจัดทดสอบความยืดหยุ่นของมือในการพร้อมที่จะหยิบจับเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดฝึกอบรมการยกเปลอย่างถูกวิธีไม่ให้กระดูกหลักของผู้ปฏิบัติงานเกิดการบาดเจ็บ และเรายังมีทีมแพทย์ทางด้านจิตวิทยามาให้คำปรึกษาและประเมินการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะคนขับรถเราจะมีกาประเมินอย่างเข้มข้นอาทิการจัดทำแบบทดสอบความสามารถในการตัดสินใจในการเหยียบเบรกการบังคับรถให้ปลอดภัย ขณะที่เดียวกันเมื่อบุคลากรของเราเกิดการเจ็บป่วยหนักโรงพยาลบาลหลายแห่งอาจมีการให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่โรงพยาบาลของเราจะประเมินตามความพร้อมของร่างกายและรับกลับเข้ามาปฏิบัติงาน อาทิมีบุคลากรทางการแพทย์ของเราป่วยเป็นอัมพฤกษ์แขนบางซีกไม่สามารถขยับได้แต่สมองยังทำงานได้ เราก็จะให้มาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานที่เหมาะสมเช่นการตรวจผู้ป่วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ