กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--ออน ทรี คอมมิวนิเคชั่น
ผู้โดยสารแควนตัสเตรียมรับประโยชน์จากความระหว่างสายการบิน แควนตัส และศูนย์ชาร์ลส์ เพอร์คินส์ สถาบันชั้นนำด้านการปรับประสบการณ์การเดินทางของประเทศออสเตรเลีย
ในการนี้ศูนย์ชาร์ลส์ เพอร์คินส์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์จะดำเนินงานร่วมกับสายการบิน แควนตัส พัฒนาแนวทางใหม่สำหรับการเดินทางในระยะไกลก่อนเปิดบริการเที่ยวบินที่ให้บริการด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ปลายปีนี้ ซึ่งมีกำหนดให้บริการเส้นทางจากเพิร์ธไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถือเป็นเที่ยวบินโดยสารที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และเที่ยวบินจากเมลเบิร์นไปนครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทางศูนย์จะมีนักวิจัยจากหลากหลายสาขารวมทั้งด้านโภชนาการไปจนถึงกิจกรรมการออกกำลับกาย รูปแบบระบบการนอนและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยโครงการวิจัยรวมถึงกลยุทธ์แนวทางการลดภาวะอาการเจ็ทแล็ค (jetlag) หรืออาการอ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวขณะอยู่ภายในห้องโดยสาร การรังสรรค์เมนูอาหารและเวลาที่ให้บริการ การเตรียมตัวก่อนและหลังการเดินทาง คอนเซ็ปต์การผ่อนคลายภายในห้องพักรับรองผู้โดยสาร (เล้าจน์) และบรรยากาศแวดล้อมในห้องโดยสาร รวมถึงแสงสว่างและอุณหภูมิ
มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหาร แควนตัส กรุ๊ป เผยว่า "ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยปรับเปลี่ยนการเดินทางของผู้โดยสารโดยเฉพาะการเดินทางเส้นทางบินระยะไกลในเที่ยวบินที่เครื่องบินดรีมไลเนอร์จะให้บริการ ในส่วนของเครื่องบินดรีมไลเนอร์ได้มีการพัฒนาความพร้อมเตรียมรองรับผู้โดยสารไว้แล้วอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมหน้าต่างเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น เพิ่มความชื้นภายในห้องโดยสารและปรับลดระดับความสูงของห้องโดยสารให้ต่ำลง ซึ่งการค้นคว้าของนักวิจัยจากศูนย์ชาร์ลส์ เพอร์คินส์ จะช่วยให้สายการบิน แควนตัส ดีไซน์และพัฒนานวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเดินทางในเที่ยวบินที่ให้บริการด้วยเครื่องบินดรีมไลเนอร์ได้เป็นอย่างดียิ่ง"
"จากการนำเอามุมมองโดยองค์รวมของลูกค้าเข้ามาด้วยนี้ จะช่วยให้ความร่วมมือของเราในครั้งนี้ทดสอบทุกอย่างตั้งแต่การลดผลกระทบของอาการเจ็ทแล็คไปจนถึงสุขภาพ โภชนาการไปจนถึงการนอนหลับระหว่างการเดินทาง เรากำลังมองหาแนวทางในการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้ผู้โดยสาร และแน่นอนรวมถึงการบริการภายในห้องโดยสารและจนถึงเมื่อเดินทางถึงจุดหมายแล้ว เราต้องการให้ลูกค้ารู้สึกดีที่สุดเมื่อสิ้นสุดการเดินทางกับสายการบิน แควนตัส ของเรา อีกทั้งงานวิจัยของศูนย์ยังได้รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม การให้บริการ แสงไฟภายในห้องโดยสาร และอุณหภูมิ ตลอดจนถึงประสบการณ์ภายในห้องพักรับรองผู้โดยสาร (เล้าจน์) ที่สนามบิน" มร.จอยส์ กล่าว
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารได้อย่างครบครัน สายการบิน แควนตัส และศูนย์ชาร์ลส์ เพอร์คินส์ กำลังมองถึงการให้สมาชิกฟรีเคว่น ฟลายเออร์ ของสายการบินได้มีส่วนร่วม ลองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่มีผลต่อพฤติกรรมระหว่างการเดินทาง เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะมีการดีไซน์ในอนาคตจากข้อมูลที่ครบถ้วน
ศาสตราจารย์สตีฟ ซิมสัน ผู้อำนวยการศูนย์ชาร์ลส์ เพอร์คินส์ กล่าวว่า "ความร่วมมือครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมเอาความร่วมมือในหลากหลายสาขาวิชาทั้งด้านสุขภาพการเดินทางระหว่างเที่ยวบินและความอยู่ดีมีสุขมากกว่ากรณีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยจะมีผลการค้นคว้าและนวัตกรรมด้านสุขภาพ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมออกมาจากความร่วมมือด้านงานวิจัย ซึ่งจะมีประโยชน์ตรงตามความต้องการของสายการบิน แควนตัส ในการนำไปปรับกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงว่าผู้โดยสารรู้สึกอย่างไรบ้างหลังจากเดินทางในเส้นทางระยะไกล"
ดร.มิเชล สเปนส์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวเสริมว่า "ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสะท้อนวิสัยทัศน์ของ ทั้งสององค์กรได้เป็นอย่างดี เครื่องบินดรีมไลเนอร์เป็นโครงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสำหรับสายการบิน แควนตัส และศูนย์ชาร์ลส์
เพอร์คินส์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นศูนย์ที่มีทีมนักวิชาการหลากหลายสาขาวิชาเพื่อค้นคว้าหาแนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพที่คุกคามโลกอยู่ การดัดแปลงและนวัตกรรมอยู่ในดีเอ็นเอของเราตลอดมา ผลลัพธ์จากความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมประสบการณ์การเดินทางโดยเครื่องบินในเส้นทางระยะไกลได้เป็นอย่างดี"