กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) มิถุนายน 2560จำนวน 1,067 ราย ครอบคลุม 45กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 26.4, 37.0 และ 36.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 45.6, 14.1, 14.5, 13.8และ 12.0 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 76.2 และ 23.8 ตามลำดับ โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 84.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.5 ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อกำลังซื้อภายในประเทศ จากการระมัดระวังการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน ประกอบกับอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจชะลอตัวลง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ทำให้เกรงว่าจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 99.6 ในเดือนพฤษภาคม สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีมุมมองต่อการดำเนินกิจการใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับที่ดีขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นจากการใช้จ่ายของภาครัฐ และการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) รวมทั้งภาคการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนมิถุนายน 2560 จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม
โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 70.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 71.3 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 93.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 92.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 81.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 81.0 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งองค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ และอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.5 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 97.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 101.3 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น,อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.0 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน 2560 จากการสำรวจ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม
ภาคกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 87.7ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.5 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง ขิงดอง กาแฟสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป มีคำสั่งซื้อจากตลาดเอเชียเพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม มีการส่งออกไปประเทศสิงค์โปร์ และฮ่องกงเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย) อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมชนิดม้วนและแผ่น มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยานต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้) อุตสาหกรรรมเฟอร์นิเจอร์ (การส่งออกเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ มียอดสั่งซื้อจากตลาดยุโรปและสหรัฐเพิ่มขึ้น เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในสำนักงานมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมก๊าซ (ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ก๊าซอุตสาหกรรมและก๊าซออกซิเจน มียอดขายในประเทศลดลง ขณะเดียวกันการใช้ก๊าซในภาคการขนส่งลดลงเนื่องจากน้ำมันมีราคาถูกลง ผู้บริโภคจึงหันไปใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น) อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ102.7 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 69.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 70.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (ผลิตภัณฑ์กระดาษมนิลาบอร์ด และกระดาษคราฟท์ มียอดคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศสหรัฐฯ จีน และยุโรป กระดาษจากเยื่อไม้ไผ่ ทิชชูและกระดาษสา มีและยอดขายในประเทศ และส่งออกไปประเทศจีนและญี่ปุ่นลดลง) อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง สุขภัณฑ์ มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง จากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง ด้านการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น จาน ชาม และถ้วยเซรามิก มียอดคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดอาเซียน) อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (ผลิตภัณฑ์อิฐมอญ และอิฐโปร่ง มียอดขายในปะเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร (สารสกัดจากสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย สินค้า OTOP มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปยังตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น ยาสมุนไพรแปรรูปต่างๆ มียอดการส่งออกไปสหรัฐฯ และยุโรป เพิ่มขึ้นเนื่องจากสมุนไพรไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ)ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.8 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 83.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.5 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ซึ่งอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล (น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดอาเซียน ประกอบกับอยู่ในช่วงปิดหีบอ้อย) อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดอาเซียน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้าเด็ก เสื้อไหมพรม มียอดขายในประเทศลดลง) อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เส้นใยเรยอนประดิษฐ์ มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปอินโดนีเซียลดลง ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ผ้าขนสัตว์เทียม มียอดการส่งออกไปประเทศจีน ยุโรป ลดลง เนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอการสั่งซื้อ ประกอบกับมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน) สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (อุปกรณ์การเกษตร รถไถนาเดินตาม รถแทรกเตอร์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรและส่วนประกอบ มีการส่งออกไปประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.2 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 96.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 100.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศมียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้ความต้องการใช้ลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และมอเตอร์ขนาดเล็ก ลดลงจากอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและยุโรป ขณะเดียวกันสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับเพชร ทองคำ อัญมณีและเครื่องเงิน มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปสหภาพยุโรปและตะวันออกกลางลดลง) อุตสาหกรรมเคมี (ผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนทำให้ความต้องการใช้ลดลง) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (สินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และอะไหล่ยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปประเทศอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ล้อแม็กซ์ ส่งออกไปประเทศเยอรมันและออสเตรเลียเพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 104.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ส่วน ภาคใต้ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 79.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 80.3 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรวมควันมียอดคำสั่งซื้อจากประเทศจีนลดลง เนื่องจากลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อและมีสต็อคสินค้าในปริมาณสูง น้ำยางข้น 60% มียอดสั่งซื้อจากประเทศไต้หวันลดลง ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ชาวสวนไม่สามารถกรีดยางได้ ทำให้ปริมาณการผลิตลดลง) อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบที่นำมาผลิต ขณะเดียวกันน้ำมันปาล์มมียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีการชะลอการสั่งซื้อจากตลาดเอเชียใต้ จีน และอาเซียน) อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน เนื่องจากมีสต็อคในปริมาณสูง ขณะที่ยอดขายในประเทศชะลอตัว) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (เวชภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเวชภัณฑ์และหลอดฉีดยาจากตลาดสหรัฐฯและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 103.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 100.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯจำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ระดับ 80.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 81.4 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก,อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์,อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.9 ในเดือนพฤษภาคมองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 97.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.6 ในเดือนพฤษภาคมองค์ประกอบดัชนีฯที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง,อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ,อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ในเดือนมิถุนายน 2560 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมิถุนายน คือ เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงช่องทางการตลาดในต่างประเทศ พร้อมเสนอให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน รวมถึงแก้ไขปัญหาผังเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) สนับสนุนให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐใช้สินค้าของผู้ประกอบการ SMEs มากขึ้น และยังเสนอให้ภาครัฐออกกฎหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและสามารถปฏิบัติได้